กมธ.แม่น้ำโขง เตรียมเคาะเริ่มกระบวนการปรึกษาหารือเขื่อนแห่งที่ 6 บนแม่น้ำโขง

กมธ.แม่น้ำโขง เตรียมเคาะเริ่มกระบวนการปรึกษาหารือเขื่อนแห่งที่ 6 บนแม่น้ำโขง

เผย ส่งเอกสารโครงการเขื่อน"สานะคาม" ให้ประเทศสมาชิกสำหรับรีวิวแล้ว ท่ามกลางเสียงค้าน

โดยในการเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) ได้ระบุว่า ทางสำนักเลขาฯ ของคณะกรรมาธิการฯ ได้จัดส่งเอกสารข้อมูลรายละเอียดของโครงการเขื่อนสานะคาม ซึ่งเป็นโครงการที่ 6 บนแม่น้ำโขงตอนล่าง ต่อจากเขื่อนหลวงพระบาง ให้กับประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม สำหรับการรีวิวและการปรึกษาหารือตามกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า (Prior Consultation Process) ซึ่งเป็นเลื่อนไขสำหรับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อการใช้น้ำในแม่น้ำสาขาหลักทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น เขื่อน หรือการผันน้ำในฤดูฝน ซึ่งมีกำหนดเวลาเสร็จสิ้น 6 เดือน ก่อนเจ้าของโครงการจะพัฒนาโครการต่อไป


ทั้งนี้ กระบวนการปรึกษาฯ ดังกล่าว ถูกเลื่อนมาหลังจากที่ประเทศลาวได้ส่งเอกสารให้ทางคณะกรรมาธิการฯ ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ภายหลังจากส่งเอกสารของโครงการเขื่อนหลวงพระบาง ซึ่งเป็นโครงการเขื่อนที่ 5 บนแม่น้ำโขงตอนล่างที่เข้าสู่กระบวนการเดียวกันเพียง 1 เดือน


ทางคณะกรรมมาธิการฯ ได้ให้เหตุผลว่า ต้องการโฟกัสทีละโครงการ จึงตัดสินใจเลื่อนกระบวนการฯของโครงการเขื่อนสานะคามให้มีการดำเนินการหลังจากกระบวนการปรึกษาหารือฯ ของเขื่อนหลวงพระบางเสร็จสิ้น


ทั้งนี้ กระบวนการปรึกษาหารือฯ ของเขื่อนหลวงพระบางมีกำหนดเสร็จสิ้นในวันที่ 7 เมษายน แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด การประชุมของคณะกรรมการร่วม หรือ Joint Committee (JC) เพื่อพิจารณารายละเอียดทั้งหมดหลังจบกระบวนการฯ ได้เลื่อนมาเป็นวันที่ 4 มิถุนายนนี้

158935053460


"สปป.ลาว ยื่นเสนอโครงการ โดยจะเป็นโครงการที่จะใช้น้ำภายในลุ่มน้ำเดียวกับแม่น้ำโขงสายประธานตลอดทั้งปี ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า การยื่นเอกสารของลาว เป็นการแจ้งให้ประเทศสมาชิกรับทราบข้อมูลและผลการศึกษาเรื่องการใช้น้ำ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากโครงการนี้" ดร.อัน พิช ฮัดดา CEO สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขง ระบุ

158935056430


MRC ระบุว่า เขื่อนสานะคาม เป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 684 เมกะวัตต์ เป็นเขื่อนแบบน้ำไหลผ่าน (run-of-river) Ffpจุดสร้างเขื่อนตั้งอยู่ระหว่างแขวงไซยะบุรีและนครหลวงเวียงจันทน์ ที่เมืองสานะคาม ห่างจากชายแดนไทย-ลาว ที่จังหวัดเลยเพียง 2 กิโลเมตร และห่างจากทะเล 1,737 กิโลเมตร มูลค่าการก่อสร้างโครงการ 2,073 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (6.6 หมื่นล้านบาท) โดยมีกำหนดเวลาก่อสร้างในปีนี้ และจะเสร็จในอีก 8 ปีข้างหน้า บริษัทที่พัฒนาโครงการคือ ต้าถัง (ลาว) สานะคาม ไฮโดรพาวเวอร์ (Datang (Lao) Sanakham Hydropower Co. Ltd)


คณะทำงานของ JC จะมีการประชุมเพื่อกำหนดวันเริ่มต้นกระบวนการฯ สำหรับเขื่อนสานะคามอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มผู้คัดค้านโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนล่างว่า ไม่ควรจะมีการพัฒนาอีกแล้ว เนื่องจากผลกระทบที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข