ยกระดับ'30บาท'ปี64 ผู้ป่วยได้รับสิทธิเพิ่ม

ยกระดับ'30บาท'ปี64 ผู้ป่วยได้รับสิทธิเพิ่ม

3 หน่วยงานเดินหน้ายกระดับบัตรทองปี64 สธ.มุ่งมาตรการ 5 ข้อ  สปสช.เตรียมเพิ่ม “กัญชา”ในบัญชียาจ.ให้สิทธิฟรีผู้ป่วยประคับประคอง-โรคลมชัก กทม.เน้นบริการปฐมภูมิ 6ด้าน สนองนโยบาย “30บาทรักษาทุกที่ คนไทยต้องเป็นวีไอพีทุกรพ.”

      จากนโยบายของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.)ในการยกระดับหลักประกันสุจขภาพถ้วยหน้าในปีงบประมาณ 2564 ดดยให้เป็น “30 บาทรักษาทุกที่ คนไทยต้องเป็นวีไอพีทุกรพ.”นั้น

        เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2563 ที่โรงแรมเซ็นทราบายเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ในงานประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564  นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า  มาตรการยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพมี 5 ข้อ ได้แก่ 1.ผลักดัน 30 บาทรักษาทุกที่ เน้นการรับบริการปฐมภูมิเป็นลำดับแรก 2.เพิ่มการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยเน้นเขตสุขภาพเป็นศูนย์กลาง 3.ยกระดับระบบการเงินการคลังหน่วยบริการ เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน 4.ปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ร่วมทุกกองทุน และ5.พัฒนาระบบข้อมูล บูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    การขับเคลื่อนปฏิรูปการเงินการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพใน 4 ข้อ  คือ 1. กำหนดชุดสิทธิประโยชน์หลักสำหรับคนไทยทุกคนและชุดสิทธิประโยชน์เสริม  โดยประมาณการค่าใช้จ่ายตามชุดสิทธิประโยชขน์และแหล่งเงิน 2.คุ้มครองด้านสุขภาพให้แก่กลุ่มบุคคลที่มีปัยหาสถานะและสิทธิรวมทั้งที่ไม่ใช่ประชาชนไทย 3.พัฒนากลไกหลักในการบริหารจัดการทางการคลังสุขภาพระดับประเทศ และ4.พัฒนาต้นแบบการจัดบริการแบบเพิ่มความคุ้มค่าและได้รับดการชดเชยอย่างเหมาะสม
        “มาตรการยกระดับระบบหลักประกันนั้น จริงๆปัจจุบันก็ไม่มีคนไข้อนาถามานานแล้ว แต่การยกระดับก็จะเริ่มนำร่องในกทม.และเขตสุขภาพที่ 9 ก่อน ไม่ต้องกังวัลว่ารพ.ใหญ่จะลำบาก โดยจะเอาเขต9 เป็นต้นแบบ  ซึ่งรพ.ใหญ่ก็จะต้องไปช่วยสร้างระบบปฐมภูมิ  หน่วยบริการแต่ละอำเภอจะต้องแข่งกัน ถ้าระบบปฐมภูมิดีไม่มีใครอยากไปรพ.ใหญ่”นพ.เกียรติภูมิกล่าว


      นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า นโยบายของรองนายกฯและรมว.สธ.ในปี 2564  มี 2 คำสำคัญ คือ 1. การทำให้ประชาชนเปลี่ยนความรู้สึกอนาถา ซึ่งรูปธรรมในแนวทางปฏิบัติคือเรื่องของสิทธิต่งๆที่จะต้องได้รับ  จะมุ่งโฟกัสในสิทธิบางประเด็นมากขึ้น เช่น กลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยสูงอายุที่มีการดูแลระยะยาว การมีผู้ดูแลที่บ้าน ต้องพัฒนาต่อยอดให้เกิดพรีเมี่ยมแพคเกจผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมากขึ้น ค่ารักษาพยาบาลในโรคค่าใช้จ่ายสูงต่างๆ โรคมะเร็งไปที่ไหนก็ได้ แต่ไม่ใช่จะไปที่ไหนก้ได้ตามใจต้องมีการจัดระบบ เบื้องต้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติสังกัดกรมการแพทย์เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการอในส่วนของในผู้ป่วยที่ลงทะเบียนแล้ว เพื่อไปใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมทั่วปแระเทศ ทั้งภาคสธ.และเอกชนเตรียมนำกัญชาเข้าสู่ระบบบัญชียาจ.1 ใช้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง และโรคลมชัก และการเปลี่ยนสิทธิไม่ต้องรอ 15 วัน เปลี่ยนได้ทันที เหล่านี้จะเป็นรูปธรรมหนึ่งของการเปลี่ยนอนาถาให้เป็นวีไอพีอย่างไร

    และ2.ความแออัดของหน่วยบริการ เกิดจากการที่หน่วยบริการไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไข เช่น  จัดระบบบริการในศูนย์อนามัยกทม.  สธ.เขตต่างๆ เพื่อทำให้ประชาชนสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ต้องมีใบส่งต่อเมื่ตอต้องนอนรพ.ทำให้ปัญหาลดลง ระบบการนัดต่างๆ การขยายบริการ สิ่งหนึ่งคือระบบปฐมภูมิ โดยนยึดพรบ.ปฐมภูมิ ที่พยาบมเน้นหมอครอบครัวดูแลประชาชน ขยายบริการในกทม.และต่างจังหวัด ทำให้เกิดป็นรับบริการหน่วบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ ถ้าขยายหน่วยต่างๆมากขึ้นความแออัดก็ลดลง  รวมถึง การทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นเรื่องความรอบรู้สุขภาพ  เปิดความยั่งยืนระบบริการที่เป็นวีไอพีมากขึ้น  ส่วนระยะยาวต้องดูเรื่องบประมาณที่จะกระทบต่างๆ ต้องมาหารือต่อไป

       นางป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การจัดระบบบริการปฐมภูมิส่วนของกรุงเทพมหายนครจะเน้น 6 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1.ด้านระบบบริการ จัดให้บริการปฐมภูมิด้วยเครือข่ายบริการสุขภาพ ยึดหลักใกล้บ้านใกล้ใจ พัฒนาศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิและบริการประจำเพื่อรองรับการดูแลประชาชนในโรคที่พบได้บ่อย ไม่ซับซ้อนให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางเข้ารับบริการในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิโดยไม่จำเป็น สร้างเครือข่ายร่วมบริการโดยกำหนดให้ศูนย์บริการสาธารณสุขทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายในการตรวจสอบคุณภาพบริการของคลินิกเครือข่ายเครือข่ายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน 2.ด้านกำลังคนด้านสุขภาพเพิ่มบุคลากรและจัดหาทีมสหวิชาชีพด้านสุขภาพให้เพียงพอต่อการดูแลประชากรมีการจ้างแพทย์ที่เกษียณแล้ว วนเวียนกำลังคนจากศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีจำนวนผู้มารับบริการน้อยไปช่วยจุดที่มีความแออัด พัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ทักษะที่เหมาะสม

       3.ด้านระบบข้อมูลข่าวสาร การเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของผู้มารับบริการในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งต่อได้รักษาอย่างต่อเนื่อง มีระบบการให้คำปรึกษาระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิผ่านเครือข่ายตามโซนพื้นที่ 4.ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพิ่มศักยภาพด้านการตรวจวินิจฉัยโรคและการส่งต่อภายในเครือข่ายบริการ 5.ด้านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ปรับปรุงระบบการจ่ายค่าบริการที่เป็นธรรม เช่น รูปแบบการจ่ายตามรายการที่กำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศทั้งบริการภาครัฐและเอกชน เพิ่มระบบตรวจสอบการจ่ายเงินเพื่อควบคุมการเบิกจ่ายของการให้บริการตามขอบเขตโรคและ6.ด้านภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล