หอการค้าไทยชง 4 ข้อเสนอแก้ปัญหาแรงงานไทย
หอการค้าไทยจับมือกมธ.แรงงาน วุฒิสภา จัดทำ 4 ข้อเสนอแก้ปัญหาแรงงานไทย รับโควิด-19 แรงงานตกงานเพิ่ม ด้านนายกฯอุตสาหกรรมทูน่าไทย แนะไทยหนุนทำแอฟเอไทย-อียู,ไทย-ยูเค ดันมูลค้าการไทยเพิ่ม 2-2.5 แสนล้านบาท เร่งปลดล็อคเงื่อนไข ILO
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์แรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบหารือกับพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาแรงงานของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ภาคบริการ และการส่งออก ต่อเนื่องไปถึงภาคแรงงานที่ต้องตกงาน คาดว่าในต้นปี 2564 จะทราบถึงตัวเลขของแรงงานที่ตกงานในภาคต่างๆทั้งในระบบและนอกระบบ
ทั้งนี้จากการประชุมมีข้อเสนอ 4 ข้อให้กับรัฐบาลหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาแรงงานของไทยในปัจจุบันและอนาคต ประกอบด้วย 1. แนวทางของประเทศไทยต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งในอนาคตเพื่อการเจริญเติบโตของภาคการค้าและการลงทุนของประเทศไทย จำเป็นต้องทำข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศในระดับภาคีและพหุภาคี อาทิ FTA Thai-EU, CPTPP , RCEP ซึ่งหนึ่งในเงื่อนไขได้ให้ความสำคัญกับมาตรฐานสากลเกี่ยวกับความตกลงระหว่างประเทศด้านสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง ดังนั้น จึงจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วนและภาคเอกชนต้องร่วมศึกษาแนวทางการปฏิบัติและจุดยืนของประเทศไทยต่ออนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ในการเจรจาในอนาคต
2.การส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยควรมีการศึกษา
การแก้ไขปัญหาการขอยื่นรับรองหลักสูตรของสถานประกอบการ และพิจารณารับรองหลักสูตร e-Learning ในการรับรองหลักสูตรฯ พร้อมทั้ง จัดทำขั้นตอนเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการรับรองหลักสูตร และมาตรฐานของการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ
3.การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงาน (Big Data) ของประเทศไทย โดยการจัดทำข้อมูลด้านแรงงาน โดยการสำรวจความต้องการแรงงานในรูปแบบ Digital Platform ที่สามารถ Matching ระหว่างสถานประกอบการกับแรงงาน
4. การจ้างงานรายชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ รองประธานฯ และนายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กล่าวว่า โควิด-19 ทำให้เครื่องจักรที่ทำรายได้ให้กับประเทศหายไป โดยภาคการท่องเที่ยว ภาคบริการ ที่นำรายได้เข้าประเทศเฉลี่ย 2 ล้านล้านบาทต่อปีหายไป20-30 % เหลือเพียง 4-5 แสนล้านบาท หรือหายไป 1.55 ล้านบาท เครื่องจักที่ 2 คอื การส่งออกเฉลี่ยปีละ 8.8 ล้านบาทก็ลดลง แม้ว่าในเดือนก.ย.ตัวเลขการส่งออกของไทยจะขยายตัวติดลบน้อยลงก็ตาม แต่ก็ยังโชคดีที่ภาคเกษตรและอาหารของไทยได้รับอานิสงค์จากผลโควิด-19 ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องคาดว่าจไม่ตำว่า 10 %
อย่างไรก็ตามภาคเอกต้องการให้มีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งข้อตกลงทางการค้าหรือเอฟทีเอมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นเอฟทีเอไทย-อียู ,ไทย-ยูเค,ซีพีทีพีพี,อาร์เซ็ป ที่จะลดอุปสรรคทางการของไทยได้มาก จากการประเมินหากไทยทำเอฟทีเอไทย-ยูเค มูลค่าการส่งออกในปีแรกจะเพิ่มขึ้น 6 หมื่นล้านบาท เอฟทีเอไทย-อียู จะเพิ่มขึ้น1.5 แสนล้านบาท เมื่อรวม 2 เอฟทีเอนี้จะทำให้ไทยมีมูลค่าการส่งออกรวม 2-2.5 แสนล้านบาท แต่การทำเอฟทีเอนี้มีเงื่อนไขที่ไทยจะต้องทำตามมาตรฐานสากลเกี่ยวกับแรงงานตาม ILO โดยในส่วนนี้สามารถที่จะเจรจาต่อรองได้ดูจากบางประเทศเช่น เวียดนามที่ทำเอฟทีเอกับอียูก็ยังใช้สิทธิยื่นขอขยายเวลาการปฏิบัติตาม ILO ได้ ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้านสวัสดิการให้กับแรงงานที่ยอมรับทางสากลแล้วทั้งเรื่องอาหาร ที่พัก การให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน จึงน่าจะมีเหตุผลเพียงพอในการเจรจาทำเอฟทีเอได้