เช็คด่วน! ธ.ก.ส. โอนเพิ่มหรือหักเงิน 'ส่วนต่างราคาข้าว' ตรวจสอบประกันรายได้เกษตร

เช็คด่วน! ธ.ก.ส. โอนเพิ่มหรือหักเงิน 'ส่วนต่างราคาข้าว' ตรวจสอบประกันรายได้เกษตร

เช็คด่วน! ธ.ก.ส. โอนเพิ่มหรือหักเงิน "ส่วนต่างราคาข้าว" เหตุงวดแรก "โครงการประกันรายได้เกษตรกร" คำนวณคลาดเคลื่อน

ติดตามความคืบหน้า (19 พ.ย.) โครงการและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 หรือ การโอน "เงินส่วนต่างประกันราคาข้าว" ให้แก่เกษตรกรชาวนา จากกรณีเกษตรกรชาวนาบางราย มีปัญหาทางบัญชีธนาคาร เช่น บัญชีเงินฝากปิดบัญชีไปแล้ว หรือบัญชีถูกอายัด และโอนเงินไม่ครบหรือเกินกว่าจำนวนจริงนั้น

ล่าสุด น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ รองโฆษกรัฐบาล เปิดเผยวันนี้ ธ.ก.ส. หรือแจงกรณีการโอนเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 งวดแรก เมื่อ 16 พ.ย. ไม่ครบหรือเกินกว่าจำนวนจริง จากข้อผิดพลาดของการสลับชนิดข้าวทำให้การคำนวณคลาดเคลื่อน พร้อมเร่งโอนเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนในวันที่ 18 พ.ย.

เช็คด่วน! ธ.ก.ส. โอนเพิ่มหรือหักเงิน \'ส่วนต่างราคาข้าว\' ตรวจสอบประกันรายได้เกษตร

ธ.ก.ส. แจงกรณีการโอนเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 งวดแรก เมื่อ 16 พ.ย. ไม่ครบหรือเกินกว่าจำนวนจริง จากข้อผิดพลาดของการสลับชนิดข้าวทำให้การคำนวณคลาดเคลื่อน พร้อมเร่งโอนเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนในวันที่ 18 พ.ย. และชี้แจงทำความเข้าใจลูกค้าเพื่อดึงเงินส่วนที่เกินคืนต่อไป

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธ.ก.ส. ได้มีการโอนเงินชดเชยส่วนต่างรายได้ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 งวดที่ 1 โดยใช้ข้อมูลเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) ซึ่งมีวันเก็บเกี่ยว รอบที่ 1 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 เข้าบัญชีเงินฝากเกษตรกรโดยตรง เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 จํานวน 786,380 ราย จํานวนเงิน 8,387.06 ล้านบาทนั้น โดยตรวจพบข้อผิดพลาดในการคำนวณเงินชดเชยสลับชนิดข้าว กล่าวคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้าซึ่งได้รับชดเชยส่วนต่าง ตันละ 1,222.36 บาท กับข้าวหอมปทุมธานีที่ได้รับการชดเชยส่วนต่างตันละ 1,066.96 บาท จึงทำให้มีเกษตรกรจำนวน 409,917 ราย ซึ่งปลูกข้าวเจ้าและข้าวหอมปทุมธานีไม่ได้รับเงินตามจำนวนที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ได้เร่งแก้ไขโดยการโอนเงินเพิ่มเติมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเจ้าครบตามจำนวน ภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 และมอบหมายให้สาขาในพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจแก่เกษตรกรในกรณีที่ต้องดึงเงินส่วนที่เกินคืนจากบัญชีเงินฝากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปทุมธานี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ทั้งนี้เกษตรกรสามารถตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินได้ผ่านแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าออกบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่เกษตรกรลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ประกาศคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เรื่องหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 รอบที่ 1 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการฯ ดังนี้

ข้าวเปลือกแต่ละชนิด ความชื้นไม่เกิน 15% โดยชดเชยส่วนต่างราคาประกัน
ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 2,911.17 บาท
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,137.45 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า 1,222.36 บาท
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,066.96 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 2,084.34 บาท

ประกาศราคาอ้างอิงทุก ๆ 7 วัน จนถึงวัน สิ้นสุดโครงการฯ ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดรับเงินส่วนต่าง
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาท
ข้าวเหนียว จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 34,199 บาท
และข้าวหอมมะลิ จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาท

ทั้งนี้ โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 ธ.ก.ส. หรือ "ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร" รายงานล่าสุดว่า ได้โอนเงินส่วนต่างให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 786,380 ราย เป็นเงิน 8,387 ล้านบาท

160567666359