เปิดข้อชี้แจง 'บิ๊กแดง-บิ๊กบี้' ปมบ้านพักทหาร จับสัญญาณ 'ประยุทธ์' ได้ไปต่อสูงลิบ

เปิดข้อชี้แจง 'บิ๊กแดง-บิ๊กบี้' ปมบ้านพักทหาร จับสัญญาณ 'ประยุทธ์' ได้ไปต่อสูงลิบ

“ศาลรัฐธรรมนูญ” ยังคาใจประเด็น ค่าน้ำ-ค่าไฟ ซึ่งในส่วนนี้จะถูกนำมาพิจารณาว่า “พล.อ.ประยุทธ์” ควักเงินตัวเองจ่าย หรือเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้ โดย “พล.อ.ณรงค์พันธ์” ชี้แจงว่าระเบียบปี 2548 ให้กองทัพพิจารณาจ่ายค่าน้ำค่าไฟตามความเหมาะสม

ศาลรัฐธรรมนูญนัดหมาย 2 ..นี้ อ่านคำวินิจฉัยคดี "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม "บ้านพักทหาร" ที่พรรคเพื่อไทยยื่นผ่าน "ชวน หลีกภัยประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งให้ศาลรัฐธรรมูญวินิจฉัย

พรรคเพื่อไทยใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการอภิปรายไม่ไว้วางใจมีแล้ว โดยตั้งธงว่าเมื่อพล..ประยุทธ์เกษียณราชการและพ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเดือน .. ปี 2557 ต่อมามีรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ ซึ่งมีบทบัญญัติในมาตรา 184 (3) ที่ห้าม ..-.. รับเงินหรือประโยชน์อื่นใดจาก หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ และบังคับใช้กับ นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรี ด้วย

ดังนั้นเมื่อพล..ประยุทธ์อาศัยในบ้านพักทหารโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่าอาจจะเข้าข่ายที่ถือว่าเป็นการรับประโยชน์ใดจากหน่วยงานราชการ จึงขัดรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หรือไม่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง  :

ทว่าฝากฝั่ง “พล.อ.ประยุทธ์-กองทัพบก มีช่องทางให้ต่อสู้อยู่เหมือนกัน เนื่องจากการเข้าอาศัย “บ้านพักทหาร” ของข้าราชการทหารบก มีระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักบ้านพักทหาร นำมาใช้ชี้แจงกับ “ศาลรัฐธรรมนูญ” เพื่ออ้างความชอบธรรมที่ “พล.อ.ประยุทธ์” สามารถอาศัยอยู่ในบ้านพักทหารได้

“พล.อ.ประยุทธ์” ทำหนังสือชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ได้อยู่ในบ้านพักทหารจริง ส่วนที่ไม่ได้ไปอาศัยบ้านพักรับรอง ที่บ้านพิษณุโลก เพราะอยู่ระหว่างการซ่อมแซมปรับปรุง ขณะเดียวกันทีมรักษาความปลอดภัยประจำตัว ให้คำแนะนำว่าบ้านพักทหารที่อาศัยอยู่สะดวกในเรื่องการดูแลความปลอดภัยมากกว่า

โดยพล..ประยุทธ์เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเอาไว้ว่าผมเป็นนายกฯ มีปัญหาเรื่องการรปภ. ต้องมีสถานที่ที่เหมาะสมในการรปภ. ในฐานะเป็นผู้นำประเทศ แต่ผมก็เตรียมการไปอยู่บ้านของผมอยู่แล้ว

ฉะนั้นข้อชี้แจงของพล..ประยุทธ์จึงมุ่งไปที่การรักษาความปลอดภัยมากกว่าที่จะให้น้ำหนักไปที่สิทธิในการเข้าอยู่บ้านพักทหารเพราะสิทธิในการให้เข้าพักอาศัยอยู่ที่กองทัพบกจึงเป็นหน้าที่ของกองทัพบกที่ต้องชี้แจงกับศาลรัฐธรรมนูญ

มีรายงานว่าบิ๊กแดงพล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ทำหนังสือชี้แจงว่า ตามระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักบ้านพักทหารปี 2555 พล..ประยุทธ์อยู่ในบ้านพักรับรอง ไม่ใช่บ้านพักสวัสดิการ และในฐานะที่ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศ ทำให้เข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบบ้านพักทหาร ให้สามารถอาศัยอยู่ต่อได้

ในประเด็นดังกล่าวมีการระบุประเภทของบ้านพักทหารเอาไว้ดังนี้ 1.บ้านพักทหาร : ใช้สำหรับเป็นที่พักของทหารตามตำแหน่ง เช่น จ่า, .., .. 2.บ้านรับรอง : ใช้สำหรับ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ เช่น นายผล, 5 เสือทบ., ผบ.ทบ., อดีตผบ.ทบ., อดีต 5 เสือ ทบ.

โดยพล..อภิรัชต์การันตีว่าพล..ประยุทธ์อาศัยอยู่ในบ้านพักรับรอง ซึ่งมีสิทธิตามที่ระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักบ้านพักทหารปี 2555 ได้กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้

อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ยังคาใจประเด็น ค่าน้ำ-ค่าไฟ ซึ่งในส่วนนี้จะถูกนำมาพิจารณาว่า “พล.อ.ประยุทธ์” ควักเงินตัวเองจ่าย หรือเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้ เพราะหากตีความว่าทางราชการจ่ายให้ “พล.อ.ประยุทธ์” อาจจะเข้าข่ายรับเงินหรือประโยชน์อื่นใดจาก หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ หรือไม่

ทำให้ในช่วงต้นเดือนต..ที่ผ่านมาบิ๊กบี้พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการกองทัพบก ต้องส่งหหนังชี้แจงประเด็นดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบ

โดยหนังสือของพล..ณรงค์พันธ์ระบุตอนหนึ่งว่า ตามระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักบ้านพักทหารปี 2548 ข้อ 11 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ให้กองทัพบกพิจารณาความเหมาะสมในการสนับสนุนงบประมาณค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปา ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต่อการพักอาศัย

เมื่อทั้งพล..อภิรัชต์-พล..ณรงค์พันธ์ต่างทำหนังสือชี้แจงยืนยันต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าพล..ประยุทธ์เข้าอยู่บ้านพักทหาร-บ้านพักรับรอง ตามระเบียบของกองทัพบก ด่านต่อไปอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเชื่อคำชี้แจงของทั้งสองบิ๊กหรือไม่

โดยมีรายงานว่าแนวโน้มการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญมีโอกาสสูงที่พล..ประยุทธ์จะไม่ถูกวินิจฉัยให้พ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี โดยจุดเปลี่ยนหลักคือคำชี้แจงของพล..ณรงค์พันธ์เกี่ยวกับ ค่าน้ำ-ค่าไฟ เพราะภายหลังพล..ณรงค์พันธ์ส่งหนังสือชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญออกมาระบุว่ามีหลักฐานเพียงพอสรุปคดีได้แล้ว

อย่างไรก็ตามหากเผื่อใจไว้นิด “พล.อ.ประยุทธ์” ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐธรรมนูญ “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่จะติดโทษแบนทางการเมืองทันทีเป็นเวลา 2 ปี

ซึ่งกรณีของพล..ประยุทธ์ต่างจากกรณีของสมัคร สุนทรเวชที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวิจนิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐธรรมนูญ ชื่อของสมัครยังมีสิทธินำกลับมาโหวตให้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีก แต่ครั้งนั้นภายในพรรคพลังประชาชน เกิดการเปลี่ยนแปลงส่งชื่อสมชาย วงศ์สวัสดิ์เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน

ดังนั้นฝ่ายค้านจึงมีลุ้นเล็กๆ หากพล..ประยุทธ์พ้นจากตำแหน่ง รายชื่อผู้ได้รับการเสนอให้ชิงเก้าอี้นายกรัมนตรี จะหมดคู่แข่งคนสำคัญไป และแอบลุ้นรายชื่อคนที่เหลือได้ โดยพรรคเพื่อไทยมีชื่อของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์, นายชัยเกษม นิติสิริ ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลจะมีชื่อของ นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี รมว.สาธารณสุข หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

แต่จับสัญญาณทางการเมืองแล้ว มีโอกาสน้อยมากที่พล..ประยุทธ์จะไม่ได้ไปต่อ???