'มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้' ทางเลือก 'ปลดหนี้' เปิดวิธีลงทะเบียน รีบลงก่อน 14 เม.ย.

'มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้' ทางเลือก 'ปลดหนี้' เปิดวิธีลงทะเบียน รีบลงก่อน 14 เม.ย.

เปิดขั้นตอนการลงทะเบียน "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้" หรือ "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันหาทาง" ช่องทางช่วย "ปลดหนี้" ผ่านเว็บไซต์ "ธนาคารแห่งประเทศไทย" "สำนักงานศาลยุติธรรม" "กรมบังคับคดี"

"มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน" เพื่อเป็นช่องทางช่วยประชาชนแก้ไขปัญหาหนี้สินแบบครบวงจร ประชาชนที่มีหนี้บัตรและสินเชื่อส่วนบุคคลไม่ว่าสถานะใด สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมในครั้งนี้ไกล่เกลี่ยปัญหาที่มีกับเจ้าหนี้ โดยอยู่ภายใต้ความร่วมมือของ "สำนักงานศาลยุติธรรม" "กรมบังคับคดี" "กระทรวงยุติธรรม" ผู้ให้บริการ "บัตรเครดิต" และ "สินเชื่อส่วนบุคคล" และ "ธนาคารแห่งประเทศไทย" (ธปท.)

สำหรับประชาชนที่ "มีหนี้" โดยเฉพาะ "หนี้เสีย" ที่ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤติ "โควิด-19" ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ได้กับหน่วยงานต่างๆ ที่เปิดรับสมัคร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมช่องทางลดทะเบียน "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้" ผ่าน 3 เว็บไซต์ ทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี รวมไปถึงเงื่อนไขการช่วยเหลือของโครงการ ที่ควรทำความเข้าใจก่อนเข้าร่วมโครงการ ดังนี้

  •  ร่วม "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้" ช่วยอะไรได้บ้าง ? 

ช่วยเลี่ยงไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้นในช่วงที่ประชาชนยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ "โควิด-19" โดยมีกระบวนการไกล่เกลี่ยให้เจ้าหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ เพื่อให้ค่างวดที่ต้องจ่ายสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง

เรียกได้ว่า "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน" เพื่อเป็นช่องทางช่วยประชาชนแก้ไขปัญหาหนี้สินแบบครบวงจร ประชาชนที่มีหนี้บัตรและสินเชื่อส่วนบุคคลไม่ว่าสถานะใด สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมในครั้งนี้ไกล่เกลี่ยปัญหาที่มีกับเจ้าหนี้ 

ทั้งนี้ จะใช้การไกล่เกลี่ยรูปแบบใหม่ ธปท. ได้เข้าไปช่วยดูข้อตกลงที่จะใช้เป็นแนวทางกลางในการไกล่เกลี่ยคดีผู้บริโภค 

161522793860

โดยสามารถไกล่เกลี่ยหนี้บัตรทุกสถานะ 

1. หนี้บัตรดี ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ติดต่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

2. หนี้บัตรเสียก่อนฟ้องและอยู่ระหว่างฟ้อง ติดต่อ ศาลยุติธรรม

3. หนี้บัตรเสียที่มีการพิพากษาแล้ว ติดต่อ กรมบังคับคดี

161522868273

  •  ใครร่วม "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้" ได้บ้าง ? 

ผู้ที่มีหนี้ที่เข้าข่ายตามข้อมูลด้านบน หรือผู้มีหนี้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อลดภาระหนี้

  •  วิธีลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ "มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้" 

ผู้ที่มีหนี้ที่ตรงกับข้อมูลข้างต้น หรือผู้ที่สนใจขอไกลเกลี่ยหนี้ สามารถกรอกข้อมูลผ่าน 3 เว็บไซต์ ภายในวันที่ 14 ก.พ. - 14 เม.ย. 64 

1. สำนักงานศาลยุติธรรม สำหรับหนี้บัตรเสียก่อนฟ้องและอยู่ระหว่างฟ้อง ลงทะเบียน คลิกที่นี่

สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยครั้งนี้สมัครเข้า "คลินิกแก้หนี้" ได้เลย และจากที่ ธปท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือกับสำนักงานศาลยุติธรรม ศาลรับข้อเสนอของคลินิกแก้หนี้เป็นหนึ่งข้อเสนอที่ใช้ในขั้นตอนไกล่เกลี่ยออนไลน์ของศาล ลูกหนี้ที่ใช้ช่องทางนี้จะถือว่าสมัครเข้าคลินิกแก้หนี้และเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยของศาลไปพร้อมๆ กัน 

โดยผู้ที่เข้าร่วมคลินิกแก้หนี้ได้ปรับเกณฑ์คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการจากเดิมที่จะต้องเป็นหนี้เสียหรือ NPL ก่อน 1 ก.ค. 63 เป็น NPL ก่อน 1 ก.พ. 64

2. กรมบังคับคดี สำหรับหนี้บัตรเสียที่มีการพิพากษาแล้ว ลงทะเบียน คลิกที่นี่

มหกรรมไกล่เกลี่ยในครั้งนี้ สามารถไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ในส่วนที่มีคำพิพากษาและถูกบังคับคดีแล้ว ซึ่งไม่สามารถเข้าคลินิกแก้หนี้ได้ และปกติเมื่อเรื่องดำเนินมาถึงขั้นตอนนี้เจ้าหนี้จะมักจะไม่ยอมเจรจา แต่เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ให้บริการทางการเงินจำนวน 23 แห่งเล็งเห็นถึงความสำคัญและจำเป็นที่เจ้าหนี้ต้องผ่อนปรนและช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายเดินต่อไปได้ จะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ในชั้นบังคับคดีสามารถที่จะเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกันได้อีกครั้งหนึ่ง

3. ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับหนี้บัตรดี ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ลงทะเบียน คลิกที่นี่

การเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้ที่มีระยะเวลาดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งของมาตรการขั้นต่ำในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. ซึ่งจะไม่กระทบประวัติในฐานข้อมูลเครดิตบูโร ลูกหนี้ที่ต้องการเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้ที่มีระยะเวลาซึ่งอัตราดอกเบี้ยต่ำลงสามารถใช้ช่องทางไกล่เกลี่ยในงานนี้ได้เช่นกัน และ ธปท. จะส่งคำขอของลูกหนี้ไปยังผู้ให้บริการทางการเงิน 

นอกจากนี้ สำหรับประชาชนที่ไม่ชำนาญการกรอกข้อมูลออนไลน์ สามารถโทรติดต่อศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น. จะมีเจ้าหน้าที่ของ ธปท.ช่วยบริการกรอกข้อมูล หรือสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ที่ https://bit.ly/37fP7Dw หรือส่งอีเมล์มาที่ email: [email protected]  ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ติดต่อกลับไป

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย