รวมมาตรการ ช่วยเหลือ ‘ลูกหนี้’ จากพิษ ‘โควิด’ ระลอก3
รวมมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากผลกระทบโควิด-19 ทั้งจากระลอก2 และระลอก3 ของธนาคารพาณิชย์
จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 ที่ลากยาวกว่า 1ปี และยังไม่มีวี่แววจะคลี่คลาย หรือจบลงง่ายๆ ในระยะอันใกล้นี้ โดยเฉพาะ โควิด-19 ระลอก3 ที่มีผลกระทบรุนแรงและหนักหนามากขึ้น ต่อประชาชน ลูกหนี้ และภาคธุรกิจให้ยิ่งอ่อนแอลง บางส่วนถูกลดเงินเดือน ถูกเลิกจ่ายชั่วคราว หรือปิดกิจการชั่วคราว จากาการยกระดับในการควบคุมโควิด-19ของภาครัฐ
ดังนั้นเวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ในการเข้าไป “เยียวยา”เพื่อลดผลกระทบ ทั้งต่อประชาชน ลูกหนี้และภาคธุรกิจ เพื่อช่วยทุเลาความเดือนร้อนให้เบาบางลงบ้าง โดยเฉพาะ “ลูกหนี้” แม้จะไม่มีรายได้ รายได้ลด แต่ “ดอกเบี้ย” และภาระนี้ก็ยังเดินปกติ ดังนั้นกลไกสำคัญมากขณะนี้ คือ “ภาคธนาคาร” ที่จะสามารถช่วยลูกหนี้ ในการลดภาระเหล่านี้ลงเพื่อให้ลูกหนี้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้
ซึ่งหากดูจาก “มาตรการ”ช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า มีมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โควิด-19 รอบแรก และรอบสอง หรือบางแบงก์เริ่มเห็นการทยอยออกมาตรการเพื่อช่วยลูกหนี้ออกมาบ้างแล้ว หรือมีการหยิบยกมาตรการเดิม ที่มีอยู่ในระลอก 2 มาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ให้มากที่สุด
วันนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” ได้รวบรวมมาตรการทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้จากผลกระทบโควิด-19 แต่ละแบงก์ เพื่อเป็นประโยชน์ให้ลูกหนี้ ที่รับผลกระบท สามารถเลือกและสมัครเข้าโครงการ หรือมาตรการช่วยเหลือจากภาคธนาคารได้
เริ่มที่ธนาคารแรก ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) โดย
“ไพโรจน์ ชื่นครุฑ” ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 ที่มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จนทางการประกาศยกระดับมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ควบคุมและจำกัดการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายๆ ด้าน
โดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ะระบาด ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มล่าช้าและชะลอลงจากเดิม
กรุงศรี ในฐานะธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) ธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือในเชิงรุกอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ โดยการติดตามและบริหารพอร์ตสินเชื่ออย่างระมัดระวัง
รวมทั้งให้การสนับสนุนการดำเนินนโยบายทางการเงินที่สอดคล้องกับมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ธนาคารได้เร่งดำเนินการให้การสนับสนุนด้านสภาพคล่อง รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 พร้อมทั้งมุ่งสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจผ่านมาตรการด้านสินเชื่อต่างๆ
ล่าสุด กรุงศรียังพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ ด้วยการขับเคลื่อน 2 มาตรการความช่วยเหลือ ทั้ง “สินเชื่อฟื้นฟู” และ “โครงการพักทรัพย์ พักหนี้”ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย และนโยบายของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการช่วยค้ำประกันสินเชื่อ และตามดุลยพินิจของธนาคาร
โดยผู้ประกอบการธุรกิจสามารถแสดงความจำนงสมัครได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของธนาคารได้มีการพูดคุยกับผู้ประกอบการที่คาดว่าได้รับผลกระทบและตรงกับหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน
สำหรับลูกค้ารายย่อย ธนาคารกำลังเตรียมมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมที่ตรงจุดและมีความต่อเนื่อง โดยธนาคารคำนึงถึงการลดภาระหนี้หรือมีทางเลือกในการปิดภาระหนี้ ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมให้ทราบในเร็วๆ นี้
แต่สำหรับมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย ซึ่งเป็นมาตรการที่ถูกใช้ต่อเนื่อง เพื่อรองรับผลกระทบโควิด-19ตั้งแต่ระลอก2 จนถึง ระลอก3ปีนี้ ก่อนจะมีการปรับมาตรการในระยะถัดไป
อาทิ ลูกค้าสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อส่วนบุคคล (1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2564)
โดยให้พักการชำระเงินต้น สูงสุด 3 เดือนพักการชำระหนี้เงินผ่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) สูงสุดไม่เกิน 3 เดือนปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 30% ของค่างวดเดิม (สำหรับสินเชื่อบุคคล)เปลี่ยนจากวงเงินหมุนเวียนเป็นผ่อนชำระค่างวด สูงสุดไม่เกิน 48 เดือน (สำหรับสินเชื่อบุคคล)
ลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ กรุงศรี ออโต้
มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยพิจารณาตามผลกระทบที่ลูกค้าได้รับในพื้นที่ที่มีความเข้มงวดและควบคุมสูงสุด โดยพักชำระค่างวดสูงสุดระยะเวลา 3 เดือน ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวดลง สูงสุด 30%
สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตและบัตรสินเชื่อของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ มีรายละเอียดดังนี้
มาตรการที่ 1 : มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าทุกราย – ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชี ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง
ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชี ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง
มาตรการที่ 2 :
มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ - ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ และขยายเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
ขณะที่ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตและผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน
ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชั่น UCHOOSE ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2564 นี้
มาตรการที่ 3:
มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าที่มียอดค้างชำระ - ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือน ด้วยการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน (ปรับโครงสร้างหนี้) พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ สำหรับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตและผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล
https://www.krungsri.com/th/about-krungsri/about-us/overview/announce/coronavirus-covid-19-support2
ด้านธนาคารกสิกรไทย(KBANK) กสิกรไทยออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า โดยมีทั้งมาตรการใหม่ และมาตรการที่ออกมาก่อนหน้า ดังนั้นสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19สามารถสมัครเข้าร่วมได้ จนถึง 30 มิถุนายน 2564 สำหรับมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย
มาตรการประเภทที่ 1 ลดอัตราดอกเบี้ยให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนและไม่ต้องติดต่อธนาคาร สำหรับลูกค้าบุคคลทุกราย
● บัตรเครดิตกสิกรไทย ลดดอกเบี้ย จาก 18% เหลือ 16 %
● บัตรเงินด่วน Xpress Cash ลดดอกเบี้ยจาก 28% เหลือ 25%
● สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan ลดดอกเบี้ยจาก 28% เหลือ25%
● สินเชื่อรถ KLeasing สินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ ลดดอกเบี้ยจาก 28% เหลือ 24%
มาตรการประเภทที่ 2 มอบทางเลือกช่วยเหลือเพิ่มเติม สำหรับลูกค้าสินเชื่อบุคคล
● ลูกค้าสินเชื่อบัตรเครดิตกสิกรไทย ธนาคารมอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม 2 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 รอบบัญชี
ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี (ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตร กรณีเลือกทางเลือกนี้)
● บัตรเงินด่วน Xpress Cash ธนาคารมอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม 2 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 รอบบัญชี
ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี (ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตร กรณีเลือกทางเลือกนี้)
● สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan ธนาคารมอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม 2 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 รอบบัญชี
ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 เดือน ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี
● สินเชื่อบ้านกสิกรไทย ธนาคารมอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยและลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.1% เป็นเวลา 3 เดือน
ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 3 เดือน
ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
มาตรการประเภทที่ 3
มอบทางเลือกช่วยเหลือเพิ่มเติม สำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อธุรกิจ
● สินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ Xpress Loan – Long Term Loan มอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
ทางเลือกที่ 2 ลดยอดผ่อนชำระ 30% เป็นเวลา 3 เดือน
ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
มาตรการประเภทที่ 4 มอบทางเลือกช่วยเหลือเพิ่มเติม สำหรับลูกค้าสินเชื่อรถ KLeasing
● สินเชื่อรถช่วยได้ประเภทจำนำทะเบียนรถ มอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม ตลอดอายุสัญญา อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี
● สินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทโอนเล่มทะเบียนรถ / สินเชื่อรถ (รถใหม่) / สินเชื่อรถ (รถใช้แล้ว) มอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม 2 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 3 เดือน ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 เดือน โดยขยายเวลาผ่อนชำระอีก 3 เดือน
สำหรับมาตรการใหม่ เพื่อช่วยลูกหนี้ธุรกิจจากผลกระทบโควิด-19 ระลอก3
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจ สู้ COVID-19 (April 2021)
1. มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู
- สินเชื่อสำหรับลูกค้าธุรกิจที่ไม่มีวงเงินหรือมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท
- ลูกค้าปัจจุบัน กู้ได้ 30% ของวงเงินสินเชื่อที่มีกับธนาคาร
ลูกค้าใหม่ กู้ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท รวมทุกสถาบันการเงิน
- อัตราดอกเบี้ย 2% ใน 2 ปีแรก โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี ฟรีดอกเบี้ย 6 เดือนแรก
- ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี พักชำระเงินต้น 6 เดือนแรก สูงสุด 24 เดือน (จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย)
- ฟรีค่าธรรมเนียมการจัดการให้กู้
2. มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้
- สำหรับลูกค้าธุรกิจที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องด้วยการโอนหลักประกันให้ธนาคารเพื่อชำระหนี้เงินกู้ โดยให้สิทธิซื้อคืนได้ในภายหลัง
- ธนาคารจะไม่ขายหลักประกันให้บุคคลอื่นภายใน 3-5 ปี
- สามารถเช่าหลักประกันเพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้
- ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท ทั้งขารับโอน และขาโอนกลับให้ลูกค้าหรือเจ้าของทรัพย์เดิม
สำหรับลูกค้าที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าของท่าน หรือ K-BIZ Contact Center 02-8888822 และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.kasikornbank.com
ขณะที่ไทยพาณิชย์ (SCB)ออกมาตรการช่วยเหลือระยะ 3 ช่วยลูกค้าจากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่ ดังนี้ มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ(ซอฟท์โลน)
สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารอยู่แล้วไม่เกิน 500 ล้านบาท สามารถขอซอฟต์โลนได้สูงสุด 30% ของวงเงินสินเชื่อเดิม สูงสุด 150 ล้านบาท
สำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีรายใหม่ที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารทุกแห่ง สามารถขอสินเชื่อได้สูงสุด 20 ล้านบาท โดยนับรวมทุกวงเงินจากทุกสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ลูกค้าทั้งสองกลุ่มจะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรกของสัญญา พร้อมได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรกจากการสนับสนุนของกระทรวงการคลัง อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกิน 5% ต่อปี ในช่วง 5 ปีแรกของสัญญา กำหนดระยะเวลาผ่อนชำระยาวถึง 10 ปี และได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการขอสินเชื่อ Front End Fee เพื่อช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการในสถานการณ์ที่ยากลำบากครั้งนี้
สำหรับมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย ที่ลูกหนี้ยังสามารถเข้าร่วมโครงการได้ และสมัครได้ถึง สิ้นมิ.ย.นี้ อาทิ
บัตรเครดิตไทยพาณิชย์ ทุกประเภท
ลูกค้าสามารถผ่อนเงินต้นค้างชำระ ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี นาน 48 เดือน (ยกเว้นบัตร JCB และรายการใช้จ่ายที่ขอใช้บริการดีจังแบ่งชำระรายเดือน)
สินเชื่อหมุนเวียน Speedy Cash
ลูกค้าสามารถผ่อนเงินต้นค้างชำระ ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 22% นาน 48 เดือน (ยกเว้นรายการใช้จ่ายที่ขอใช้บริการดีจังแบ่งชำระรายเดือน)
สินเชื่อบุคคล Speedy Loan
ลูกค้าสามารถปรับลดอัตราผ่อน 30% ของอัตราผ่อนเดิม ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี
สินเชื่อรถยนต์
ลูกค้าสามารถพักชำระค่างวด 3 เดือน หรือ ปรับลดอัตราผ่อน และขยายระยะเวลาผ่อน
สินเชื่อบ้าน
ลูกค้าสามารถพักชำระค่างวด 3 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม หรือ ปรับลดอัตราผ่อน และขยายระยะเวลาผ่อน
ทั้งนี้ลูกค้าที่มีความสนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 โดยแจ้งความประสงค์ผ่าน แอปพลิเคชั่น SCB EASY (เฉพาะลูกค้าบุคคล) หรือ ผ่านระบบอัตโนมัติ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Business Call Center โทร.02 722 2222 หรือที่ https://scbsme.scb.co.th/
ด้านธนาคารกรุงเทพ มีมาตรการช่วยลูกหนี้ที่รับผลกระทบจากโควิด-19ต่อเนื่องดังนี้
บัตรเครดิต
มาตรการช่วยเหลือที่ได้รับสิทธิ์อัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียน ปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึง 31 ธ.ค. 64 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 16% ต่อปี (จากเดิม 18% ต่อปี) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกราย
ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ ผ่อนผันไม่ต้องชำระหนี้ตามยอดเรียกเก็บ (Skip Payment) นาน 3 - 6 เดือน
โดยพิจารณาตามเขตพื้นที่ควบคุมฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทางราชการประกาศหรือที่มีการเปลี่ยนแปลงและลดดอกเบี้ยค้างชำระ 1 - 3 เดือน ลง 50%
โดยพิจารณาตามเขตพื้นที่ควบคุมฯ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทางราชการประกาศหรือที่มีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศเขตพื้นที่ควบคุมฯ ของทางราชการ เฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ถูกสั่งปิดกิจการจากหน่วยงานราชการเปลี่ยนประเภทการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาผ่อนชำระ 48 งวด และลดดอกเบี้ยลงเหลือ 12%
รวมถึง โอนภาระหนี้บัตรเครดิตค้างชำระเป็นการผ่อนชำระระยะยาว โดยลดดอกเบี้ยลงเหลือ 12% และสามารถใช้วงเงินบัตรเครดิตส่วนที่เหลืออยู่ได้ พิจารณาตามประวัติการชำระที่ดีและความสามารถในการชำระหนี้ โดยคิดดอกเบี้ยปกติ
ขณะที่ สามารถขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยลดดอกเบี้ยระหว่างผ่อนชำระเป็นกรณีพิเศษ ตั้งแต่ MRR+2% - MRR+4% ตามกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ
โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 จนถึง 31 ธ.ค. 64 (สนใจเข้าร่วมมาตรการนี้ หรือ.
ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2638 4000)
โดยสามารถลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ได้ทางเว็บไซต์ หรือติดต่อสาขา ตั้งแต่ 1 ม.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 https://www.bangkokbank.com/COVID19-Update
ด้านมาตรการช่วยเหลือลูกค้า จากธนาคารกรุงไทย โดยลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สามารถสมัครเข้าโครงการได้ถึง 30มิ.ย.นี้
มาตรการสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียน
-เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) 48 งวด หรือ ขยายระยะเวลาได้ตามความสามารถในการชำระหนี้
สินเชื่อบุคคล แบบกำหนดระยะเวลา
-ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม นานสูงสุด 6 เดือน
สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อที่มี ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน)
-พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน หรือ ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้
โดยลูกค้าสามารถเข้าร่วมโครงการได้ จนถึง มิ.ย. 2564 นี้
https://krungthai.com/th/personal/loan/personal-loan/441
ด้านธนาคารทหารไทย และธนชาต สำหรับลูกหนี้รายย่อย สินเชื่อบัตรเครดิต ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผ่อนชำระขั้นต่ำ เหลือ 5% ปีนี้ ปีหน้า 8% และปี 2566 ที่ 10% ส่วนบัตรกดเงินสด 3%
มาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อ
สินเชื่อบ้าน
ㆍ พักชำระเงินต้น โดยยังคงชำระเฉพาะดอกเบี้ย นาน 6 เดือน หรือ
ㆍลดยอดผ่อนชำระเหลือ 70% นาน 6 เดือน หรือ
พักชำระค่างวด ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย นาน 3 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาของธนาคารสำหรับลูกค้าแต่ละราย
สินเชื่อบุคคล
ลดยอดผ่อนชำระเหลือ 70% นาน 6 เดือน และลดอัตราดอกเบี้ยเหลือไม่เกิน 22% ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ภายใน 30 มิถุนายน 2564
ลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ ธนชาตDRIVE
ㆍ มาตรการตั้งหลัก ผ่อนหนักเป็นเบา ลดค่างวดโดยขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ หรือมาตรการตั้งหลักพักชำระค่างวด 3 เดือน
-สินเชื่อเล่มแลกเงิน
อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 22% และลดค่างวดผ่อนชำระต่อเดือนสูงสุด 30% ไม่เกิน 6 เดือน
ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถ แจ้งความประสงค์ผ่าน Contact Center 1770 เท่านั้น
สำหรับมาตรการช่วยลูกค้า ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ที่ยังคงมีอยู่
อาทิ การลดค่างวดโดยขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่กลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงลูกค้าที่เคยรับการพักชำระค่างวดจากธนาคารอันเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 มาก่อนแล้ว
ทั้งนี้ ธนาคารจะพิจารณาเงื่อนไขเรื่องภาระดอกเบี้ย ระยะเวลาการผ่อนชำระ หรือการพักชำระค่างวด 3 เดือน ตามข้อกำหนดของแต่ละผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับข้อจำกัดและผลกระทบของลูกค้าเป็นรายกรณีตามข้อตกลงฉบับใหม่ระหว่างลูกค้าและธนาคาร
สำหรับลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อยื่นความประสงค์ได้ที่สาขาของธนาคารทั่วประเทศ หรือ KKP Contact Center หมายเลข 02 165 5555 เวลา 7.00-20.00 ทุกวัน ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 มิถุนายน 2564
ด้าน ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย(CIMBT) ก็ยังคงมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าต่อเนื่อง ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อาทิต
มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้ารายย่อยที่มีสินเชื่อบุคคล
สำหรับวงเงินสินเชื่อบุคคลเอ็กซ์ตร้าแคช โดยสามารถ เปลี่ยนวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน เป็นสินเชื่อแบบผ่อนชำระรายเดือน
(บัญชีเอ็กซ์ตร้าแคช จะถูกปิด และลูกค้าจะไม่สามารถเบิกถอนวงเงินสินเชื่อบุคคลเอ็กซ์ตร้าแคชได้อีก หากได้รับอนุมัติช่วยเหลือด้วยมาตรการนี้)
สินเชื่อบุคคลเพอร์ซันนัลแคช
ลดค่างวดชำระต่อเดือนเป็นเวลา 12 หรือ 24 เดือน (อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 22% ต่อปี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคาร)
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
และสินเชื่อรายย่อยที่มีหลักประกัน
สินเชื่อโฮมโลนฟอร์ยู มอร์เกจพาวเวอร์ พร็อพเพอร์ตี้โลนวงเงินเบิกเกินบัญชี (OD) ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ
ลดค่างวด 6 เดือน หรือ 12 เดือน
ทั้งนี้ลูกค้า สามารถลงทะเบียนสมัครเข้าโครงการได้ผ่านช่องทาง LINE โดยการ Scan QR Code แอดไลน์
@CIMBTHAI CO@CIMBTHAI จนถึง มิถุนายน 2564 และสามารถสอบถามได้เพิ่มเติม ผ่านคอลเซ็นเตอร์ 02 626 7777