เปิดมาตรการ ‘เยียวยาล็อกดาวน์’ ชดเชยรายได้ 9 อาชีพ 10 จังหวัด
เปิดมาตรการ "เยียวยาล็อกดาวน์" แรงงานและผู้ประกอบการ กลุ่ม "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 ได้เงินชดเชย 9 อาชีพ 10 จังหวัด ช่วยบรรเทาภาคแรงงานให้กิจการฟื้นตัวโดยเร็ว
ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคาะ "มาตรการเยียวยา" สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ "ล็อคดาวน์" ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด 9 อาชีพ เป็นมาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่ม "ผู้ประกันตน" ที่มีนายจ้าง อย่าง ม.33 กลุ่มผู้ประกันตนเอง ม.39 ม.40 และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะได้รับเงินเยียวยาแตกต่างกันออกไป ตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมข้อมูลการ มาตรการ "เยียวยาล็อกดาวน์" ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด เป็นเวลา 1 เดือนนั้น ดังนี้
ผู้ที่จะได้รับเงิน "เยียวยาล็อคดาวน์"
-
กรุงเทพมหานคร
-
นครปฐม
-
นนทบุรี
-
ปทุมธานี
-
สมุทรปราการ
-
สมุทรสาคร
-
นราธิวาส
-
ปัตตานี
-
ยะลา
-
สงขลา
9 กลุ่มอาชีพที่จะได้เงิน "เยียวยาล็อกดาวน์"
- กิจการก่อสร้าง
- กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
- กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ
- สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์
- สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
- สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
- สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เปิดขั้นตอน ‘ฟรีแลนซ์-อาชีพอิสระ’ สมัครประกันสังคม มาตรา 40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
- 'เยียวยาล็อคดาวน์' ประกันสังคม 'ม.33 39 40' และ 'อาชีพอิสระ' ได้ 'เงินเยียวยา' เท่าไรบ้าง ?
- สรุปเงื่อนไข ครม.เคาะ ‘ลดค่าไฟ-ค่าน้ำ’ เยียวยาโควิดทั่วประเทศ
- เปิดเงื่อนไขรับเงินเยียวยา 9 กลุ่มอาชีพ - ร้านค้ารายย่อย 'ถุงเงิน'
- เช็คเงื่อนไข มาตรการ "ลดค่าไฟฟ้า" 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค.64) "เยียวยาโควิด" ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วย ใช้ไฟฟ้าฟรี!
รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
- กลุ่มประกันสังคมมาตรา 33
ลูกจ้างมาตรา 33 จ่าย 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างรายวัน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และจ่ายสมทบให้สัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน ไม่เกิน 10,000 บาท
นายจ้างมาตรา 33 จ่าย 3,000 บาทต่อคน ลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน
- กลุ่มประกันสังคมมาตรา 39 และ 40
- สำหรับผู้ประกันตน ม.39 ได้รับความช่วยเหลือ 5,000 บาท
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Freelance) ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนและไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อจะได้รับ 5,000 บาท
ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง แต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 33 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามการเยียวยาลูกจ้างมาตรา 33 และนายจ้างมาตรา 33 ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามผู้ประกอบการในระบบถุงเงิน 5 หมวด ภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะ ที่ไม่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท
นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) กล่าวว่า สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาทั้งนายจ้าง และผู้ประกันตนในครั้งนี้ เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาล และตรวจสอบข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 รวมถึงนายจ้างในกิจการเจ้าของคนเดียวที่มีชื่อระบุตามทะเบียนพาณิชย์ ขอให้ท่านรีบดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนให้เรียบร้อย
นายจ้างที่มีสถานะนิติบุคคล สำนักประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคลที่แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างกับสำนักงานประกันสังคมไว้
"ในเรื่องนี้ ท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ จึงได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคมประชุมหารือกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งกำหนดรายละเอียดให้แล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า เพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวต่อไป "
เช็กสิทธิ์ได้ที่ : สำนักงานประกันสังคม คลิก