ส่อง 'วัคซีนโควิด' ที่อาเซียนใช้ในปัจจุบัน ยี่ห้ออะไรบ้าง?
อัพเดทสถานการณ์ "วัคซีนโควิด" ในภูมิภาค "อาเซียน" ที่ตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงไทย ต่างเร่งหาวัคซีนให้เพียงพอต่อประชากรในประเทศของตน ชวนส่องว่าประเทศเพื่อนบ้านแต่ละชาติในอาเซียน ใช้วัคซีนยี่ห้อไหนบ้าง?
จากกรณีสถานการณ์ "วัคซีนโควิด" ใน "อาเซียน" ที่หลายประเทศอาจยังมีไม่เพียงพอต่อประชากรในประเทศของตน ทำให้แต่ละชาติอาเซียนรวมถึงไทย ต่างก็เร่งดำเนินการหาวัคซีนให้มีจำนวนมากขึ้น หากมองไปที่เพื่อนบ้าน 9 ประเทศ ขณะนี้ล้วนได้รับการจัดสรรวัคซีนจากโครงการ Covax แล้ว ยกเว้นไทย ที่ไม่ได้เข้าร่วม Covac ตั้งแต่แรก
แต่ล่าสุด.. ก็มีการแถลงข่าว (21 ก.ค.) ว่าทาง สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กำลังเร่งเจรจาจัดหา "วัคซีนโควิด" รุ่น 2 เพื่อรองรับไวรัสกลายพันธุ์ ตั้งเป้าส่งมอบไตรมาส 1 ของปี 65 พร้อมเตรียมเข้าร่วม Covax เพื่อจัดหาวัคซีนปี 2565 เพิ่มเติมแล้ว ระบุว่า
"เรายังอยู่ในขั้นตอนของการเข้าร่วมกับโครงการโคแวกซ์ แต่ยังไม่ได้มีการลงนาม ทั้งนี้ได้เตรียมการเริ่มเจรจา และส่งข้อความประสานงานหน่วยงานที่ชื่อว่า กาวี (Gavi) ในการที่ขอเจรจาจัดหาวัคซีนร่วมกันกับโคแวกซ์ เมื่อมีข้อสรุปชัดเจน จะนำเสนอผ่านคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง" ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เอาเป็นว่า.. ในประเด็นนี้คนไทยต้องติดตามผลกันต่อยาวๆ แต่ก่อนจะถึงวันนั้น กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมาอัพเดทว่า ปัจจุบันนี้ประเทศเพื่อนบ้านใน "อาเซียน" มีการใช้วัคซีนโควิดยี่ห้อไหนบ้าง? โดยเป็นข้อมูลจาก กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.) ที่จัดทำไว้เมื่อ 21 ก.ค. 2564 ซึ่งระบุไว้ ดังนี้
- "วัคซีนโควิด" ที่ "อาเซียน" ใช้ในปัจจุบัน
1. ไทย ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค, ซิโนฟาร์ม
2. อินโดนีเซีย ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค, ซิโนฟาร์ม, โมเดอร์นา
3. ฟิลิปปินส์ ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค, ไฟเซอร์, โมเดอร์นา, สปุตนิกวี
4. มาเลเซีย ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค, ไฟเซอร์
5. กัมพูชา ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนแวค, ซิโนฟาร์ม
6. สิงคโปร์ ใช้วัคซีนยี่ห้อ ซิโนแวค, ไฟเซอร์, โมเดอร์นา
7. เวียดนาม ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนฟาร์ม, ไฟเซอร์, โมเดอร์นา
8. เมียนมา ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนฟาร์ม
9. ลาว ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนฟาร์ม, ไฟเซอร์, สปุตนิกวี
10. บรูไน ใช้วัคซีนยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนฟาร์ม
- สัดส่วนประชากรที่ฉีดวัคซีนแล้วใน "อาเซียน"
สำหรับสัดส่วนการฉีดวัคซีนนั้น หากเปรียบเทียบอัตราการฉีดวัคซีนทั่วโลกและอัตรการฉีดในอาเซียน พบว่า ประชากรทั่วโลกได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว 3,645 ล้านโดส ส่วนประชากรในอาเซียนได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 130 ล้านโดส คิดเป็น 3.57% โดยเมื่อเจาะลึกลงไปในแต่ละประเทศอาเซียน พบว่ามีอัตราการฉีดวัคซีนไปแล้ว (ณ วันที่ 20 ก.ค.64) ดังนี้
- ไทย ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 16.7%
- อินโดนีเซีย ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 15.4%
- ฟิลิปปินส์ ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 9.4%
- เวียดนาม ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 4.1%
- เมียนมา ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 3.1%
- สิงคโปร์ ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 70.5%
- กัมพูชา ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 35.8%
- มาเลเซีย ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 30.9%
- บรูไน ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 25.8%
- ลาว ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม 14.4%
- อาเซียนได้ "วัคซีนโควิด" จากโคแวกซ์ยี่ห้อไหน?
โคแวกซ์ ระบุว่า การจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ให้แก่สมาชิกอาเซียนทั้ง 9 ชาตินั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ยี่ห้อคือ โควิชิลด์ (Covishield) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และ ไฟเซอร์ (Pfizer)
โดยลักษณะการจัดสรรวัคซีน จะคำนวณตามสัดส่วนประชากรเป็นหลัก ซึ่งสมาชิกอาเซียนทั้ง 9 ชาติจะได้รับวัคซีนโควิด-19 ตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ ได้แก่
- เมียนมา : 4,224,000 โดส
- ลาว : 564,000 โดส
- เวียดนาม : 4,886,400 โดส
- กัมพูชา : 1,296,000 โดส
- ฟิลิปปินส์ : 5,617,800 โดส
- อินโดนีเซีย : 13,708,800 โดส
- มาเลเซีย : 1,624,800 โดส
- สิงคโปร์ : 288,000 โดส และ
- บรูไน : 100,800 โดส
------------------------
ที่มา : COVAX (1 ก.ค.64) , กระทรวงการอุดมศึกษาฯ หรือ อว. (21 ก.ค.64)