โควิดทุบยอดค้าปลีกสูญ 2.7 แสนล้านบาท
ดัชนีโมเดิร์นเทรดไตรมาส 2 ร่วงต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากโควิด เผยยอดขายปลีกหายไปแล้ว 2.7 แสนล้านบาท ห่วงคลัสเตอร์โรงงานกระทบซัพพลายเชน ขอรัฐช่วยเสริมสภาพคล่องกลุ่มค้าปลีก เอสเอ็มอี
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบกาหรือโมเดิร์นเทรด ไตรมาส 2 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 45.3 ถือเป็นดัชนีที่ต่ำสุดในรอบ 3 ปีหรือ 12 ไตรมาส นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจในไตรมาส 3 ปี 61 สาเหตุสำคัญมาจากความกังวลการแพร่ระบาดของโควิด 19 และการล็อคดาวน์ในพื้นที่สีแดง ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจประมาณ 5-8 แสนล้านบาท ต่อเดือน
การที่รัฐบาลล็อดาวน์จังหวัดเพิ่มจาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นพื้นที่ครอบคลุมจีดีพีของประเทศ 70-80 %ของประเทศ โดยคลอบคลุมโมเดิร์นเทรด 70 % โลจิสติกส์ 75 % ภาคอุตสาหกรรม 90% อีกทั้งปัญหาพนักงานในโรงงานติดเชื้อโควิด ปัญหาการขนส่งที่ติดเคอร์ฟิว ทำให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบแม้จะใช้มาตรการบับเบิลแอนด์ซีลและตรวจเชิงรุกแรบบิทเทส ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์การเมืองที่ไม่มั่นคง ทำให้รัฐบาลต้องมาดูแลทั้งปัญหาโควิดและปัญหาการเมือง จึงทำให้การแก้ปัญหาไม่ได้มากเท่าที่ควร ส่งผลให้ประชาชนเกิดนความกังวลไม่จับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจก็ซึมตัวลง หากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดและแก้ปัญหาการเมืองได้ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นได้ในไตรมาส 4
นางสาวชลิดา จันทร์สิริพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และกรรมการและเลขานุการกลุ่มค้าปลีกและบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การล็อคดาน์ในพื้นทีสีแดง 29 จังหวัด โดยยอดขายของโมเดิร์นเทรดคิดเป็น 70% ของยอดขายทั้งหมดทั้งประเทศของโมเดิร์นเทรด เฉพาะกทม.-ปริมณทล มีสัดส่วนถึง 41 % ขณะที่ห้างสรรพสินค้าร้านอาหารยอดขายเหลือปัจจุบันเพียงไป 10-20% ร้านสะดวกซื้อที่เปิดซื้อได้ 24 ชม.ยอดขายก็หายไปเช่นกัน และยิ่งมีปัญหาการติดเชื้อของพนักงานในโรงงานส่งผลต่อซัพพลายเชน รวมไปถึงปัญหาการขนส่งที่เจอเคอร์ฟิว ทำให้บางโรงงานที่ผลิตอาหารสดเหลือกำลังการผลิตเพียง 30 % ซึ่งกว่าจะกลับมาได้ก็ประมาณเดือนต.ค.
“ในช่วง 16 เดือนตั้งแต่มีโควิดระบาดส่งผลกระทบต่อยอดค้าปลีกไปแล้ว 2.7 แสนล้านบาท จากเดิมในปี63 มียอดขาย 3.8 แสนล้านบาทและปี 62 มียอดขาย 4.4 ล้านบาท และขณะนี้ที่กำลังเป็นปัญหาคือ เรื่องของแรงงานในโรงงานที่ติดโควิดทำให้ต้องปิดโรงานบางส่วน รวมทั้งมาตรการเคอร์ฟิวที่ทำให้มีปัญหาการขนส่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณอาหารในร้านที่น้อยลง"
นายสุรงค์ บูลกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการกลุ่มการค้าปลีกและบริการ หอการค้าไทย กล่าวว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการทรุดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลกระทบของโควิดกระทบเป็นวงกว้างจนกระทั่งมาถึงกลุ่มค้าปลีกที่เป็นด่านสุดท้ายกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน ทางกลุ่มค้าปลีกจึงขอให้รัฐบาลมีมาตราเสริมสภาพคล่องของกลุ่มค้าปลีก โดยเฉพาะรายย่อย ประกอบด้วย 1. .พิจารณาสนับสนุนมาตรการคนละครึ่ง ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย 2.การปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลถึงปี 2565 และ 3.สนับสนุนค่าสาธารณูปโภคให้กับธุรกิจค้าปลีก เพื่อรักษาสภาพคล่องและ รักษาการจ้างงานได้