สสจ.ชลบุรี แจ้งใครร่วมงานดนตรีพัทยา เฟสติวัล 2021 ให้รีบตรวจ ATK ทุกคน
สสจ.ชลบุรี แจ้งใครร่วมงานดนตรีพัทยา เฟสติวัล 2021 ให้รีบตรวจ ATK ทุกคน เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อหลายรายนอกพื้น
เมื่อวันที่ 25 พ.ย.64 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี ประกาศให้ประชาชนที่เดินทางไปงานเทศกาลดนตรี Pattaya Music Festival 2021 ชายหาดจอมเทียน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 12 – 13 พ.ย. 2564
หากท่านอยู่นอกพื้นที่จัดงาน และไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ถอดแมสก์ แอบดื่มสุรารวมกลุ่มสังสรรค์ใกล้ชิด ขอให้ตรวจ ATK ทุกคน เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อหลายรายนอกพื้นที่จัดงานที่มีการรวมกลุ่มสังสรรค์ใกล้ชิด
ขณะที่วันเดียวกันนี้(25 พ.ย.64) จังหวัดชลบุรี รายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 204 ราย
1. Cluster เขตพื้นที่ทหารเรือ อ.สัตหีบ 30 ราย สะสม 1,720 ราย มีการระบาดอย่างต่อเนื่องยังควบคุมไม่ได้
1.1 ทหารเกณฑ์ 24 ราย
1.2 ข้าราชการทหารเรือ 4 ราย
1.3 ลูกจ้างทหารเรือ 2 ราย
2. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 17 ราย สะสม 5,033 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,815 ราย
3. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 5 ราย
4. บุคลากรทางการแพทย์ 1 ราย
5. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด
5.1 จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 ราย
5.2 จังหวัดนครราชสีมา 1 ราย
5.3 จังหวัดนนทบุรี 1 ราย
5.4 จังหวัดนราธิวาส 1 ราย
5.5 จังหวัดบุรีรัมย์ 1 ราย
6. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
6.1 ในครอบครัว 52 ราย
6.2 จากสถานที่ทำงาน 42 ราย
6.3 บุคคลใกล้ชิด 6 ราย
8. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 8 ราย
9. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 37 ราย
จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,647,596 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 1044 คน ปอดอักเสบ 11 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 2 คน เสียชีวิต 4 คน
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 164,044 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 517,433 คน รวม 681,477 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 303 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนติดเชื้อ 4,473 คน ปอดอักเสบ 43 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 7 คน เสียชีวิต 30 คน
สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 2 ราย (ไม่พบประวัติรับวัคซีน 1 ราย) และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 ราย
(อายุ 70 ปี) มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้นการฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีโอกาศที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น
การระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มจากแหล่งสถานบันเทิง สู่ครอบครัว มาสู่เพื่อนร่วมงาน มาสู่ชุมชนที่พักอาศัยพนักงาน แรงงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการทานข้าวร่วมกัน หรือมีกิจกรรมใกล้ชิด สังสรรค์แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก 2-3 คนในเพื่อนสนิท
ทำให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในที่มีผู้คนรวมตัวกัน ทั้งในในสถานประกอบการ ตลาด แคมป์คนงานก่อสร้าง และชุมชนที่พักอาศัย ค่อยทหาร
ขอความร่วมมือ แหล่งชุมชุมชนดังนี้
ตลาด
1. ผู้ค้าหรือลูกจ้าง ไม่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ค้าหรือลูกจ้างร้านอื่น ๆ ไม่ทานอาหารใกล้ชิดด้วย
2. ไม่สังสรรค์
3. ป่วยต้องหยุด
4. ทำความสะอาดห้องน้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะจุดสัมผัสร่วม หลังออกจากห้องน้ำต้องล้างมือทุกครั้ง ไม่ใช้มือจับหน้าโดยไม่ล้างมือ
5. ใส่แมสก์ตลอดเวลา
6. เมื่อมีผู้ติดเชื้อในตลาด หากมีการตรวจเชิงรุก ขอให้รับการตรวจเชิงรุกทุกคน
7. เมื่อมีการปิดตลาด ขอความร่วมมือผู้สัมผัส หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้หยุดอยู่บ้าน
8. ไม่รับแรงงานต่างด้าวจากพื้นที่เสี่ยง
9 มีการสุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ
สถานประกอบการ
1. ไม่สังสรรค์ ไม่ตั้งวงดื่มเหล้า
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน
6 สุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ