ผูกขาดเพราะรักโลก: ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า

ผูกขาดเพราะรักโลก: ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า

ผูกขาดเพราะรักโลก: ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า

ท่ามกลางสภาวะราคาพลังงานที่พุ่งสูง ภัยธรรมชาติที่นับวันยิ่งทวีความถี่และรุนแรงขึ้น ทำให้โจทย์การปรับตัวให้เข้ากับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและเร่งเปลี่ยนไปใช้โมเดลเศรษฐกิจสีเขียว เป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลและเอกชนทั่วโลกมองข้ามไม่ได้ และการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น ย่อมต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ดังนั้น ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจึงได้จัดงานสัมมนาหัวข้อ “กฎหมายแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและผู้บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าทั่วโลก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและการตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทของหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในงานสัมมนาได้หยิบยกหัวข้อ “ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน” ขึ้นอภิปราย

ผูกขาดเพราะรักโลก: ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า

โดยในงานได้มีการหารือประเด็นว่า กฎหมายการแข่งขันทางการค้านั้นอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือไม่ เนื่องจากผู้ประกอบการอาจกลัวการเข้าข่ายละเมิดกฎหมายการแข่งขัน และไม่กล้าร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในไทยเองมีโทษสูงสุดถึงจำคุก โดยในความเป็นจริง ความร่วมมือทางธุรกิจที่ไม่ส่งผลให้เกิดการผูกขาดหรือลดการแข่งขัน ย่อมไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานกำกับตลาดและคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์และคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการแข่งขัน ได้ตีพิมพ์ร่างประกาศว่าด้วยความร่วมมือที่มีจุดประสงค์สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่ออธิบายลักษณะของการร่วมมือที่ไม่ผิดกฎหมาย อาทิ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่นำไปใช้กีดกันผู้ประกอบการอื่น หรือการร่วมมือวิจัยและพัฒนาที่ไม่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ โดยหน่วยงานของประเทศเนเธอร์แลนด์ได้จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาทางกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการด้านนี้อีกด้วย

ผูกขาดเพราะรักโลก: ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า

ผูกขาดเพราะรักโลก: ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า

อย่างไรก็ดี อีกคำถามหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาคือ สามารถยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันต่อการร่วมมือที่ลดการแข่งขันได้หรือไม่ หากความร่วมมือนั้นเป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยความตกลงประเภทนี้ถูกมองว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าความตกลงที่ไม่ลดการแข่งขันในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างและเป็นรูปธรรม เช่น การตกลงเพื่อเลิกผลิตพลาสติกประเภทที่รีไซเคิลไม่ได้ หรือการตกลงขายแต่สินค้าที่ได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในประเทศออสเตรเลีย ผู้ประกอบการที่ต้องการทำข้อตกลงลักษณะนี้ สามารถยื่นต่อคณะกรรมการการแข่งขันและคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศออสเตรเลียเพื่อให้พิจารณา โดยคณะกรรมการฯ จะเปรียบเทียบผลกระทบของความร่วมมือนั้นอย่างรอบด้าน ซึ่งรวมถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่นคณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้สมาคมผู้ผลิตและนำเข้าแบตเตอรี่ตกลงกันเพื่อขึ้นราคาจำหน่ายแบตเตอรี่และนำส่วนต่างนั้นมาลงทุนสร้างศูนย์เก็บและรีไซเคิลและสัญญาว่าจะค้าขายกับผู้ประกอบธุรกิจที่ร่วมโครงการนี้เท่านั้น โดยคณะกรรมการพิจารณาว่าผลกระทบเชิงบวก เช่นการลดการรั่วไหลของสารเคมีในแบตเตอรี่ การจัดตั้งศูนย์รีไซเคิล รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ด้านความสำคัญของการ
รีไซเคิลที่ถูกต้อง นั้นเพียงพอที่จะหักล้างผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การกีดกันผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ได้ร่วมโครงการ ราคาแบตเตอรี่ที่สูงขึ้น โดยคณะกรรมการฯ ได้กำหนดระยะเวลาคำอนุญาตไว้ 5 ปี และสั่งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการด้วย

ส่วนในประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าได้ระบุว่า อาจละเว้นการบังคับใช้กฎหมายต่อการกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจที่ลดการแข่งขัน “ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาการผลิต การจัดจําหน่ายสินค้าและการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคนิคหรือเศรษฐกิจ” ในการนี้ ได้มีทรรศนะว่า เพราะการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว เป็นวาระการพัฒนาเศรษฐกิจสำคัญของรัฐบาลไทย รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ดั้งนั้น ความร่วมมือเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว จึงนับเป็นการกระทำที่ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และสมควรได้รับการยกเว้น

ทั้งนี้ การตีความเจตนารมณ์ของกฎหมาย ตลอดจนถึงความจำเป็นของความร่วมมือใด ๆ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และด้วยประเด็นนี้ยังเป็นประเด็นใหม่ทั้งในไทยและนานาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จึงมีภารกิจต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และพัฒนากรอบและเครื่องมือวิเคราะห์ ผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเอาชนะความท้าทายนี้ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมและปกป้องสภาวะการแข่งขันทางการค้า และการรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการตกลงที่ใช้ข้ออ้างด้านธรรมชาติเป็นฉากหน้า หรือการ “ฟอกเขียว” และสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริง

ผูกขาดเพราะรักโลก: ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า

ผูกขาดเพราะรักโลก: ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความยั่งยืน และกฎหมายแข่งขันทางการค้า

 

บทความโดย:  นายกานต์รพี พลฤทธิ์

เจ้าหน้าที่ด้านการต่างประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า