'โคบอท' กับการแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในภาคการผลิต

'โคบอท' กับการแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในภาคการผลิต

"อลี ฮาจ ฟราจ" รองประธานอาวุโส ฝ่ายโรงงานดิจิทัล ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยแพร่บทความเรื่อง "โคบอท" กับการแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในภาคการผลิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ไม่ว่าจะเป็นโควิด-19 หรือสงครามของยูเครน การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทั่งคนที่ไม่สนใจเรื่องโลจิสติกส์ยังรู้ว่าเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาท้าทายเรื่องซัพพลายเชนในปัจจุบัน ที่มาพร้อมผลกระทบ เช่น อัตราเงินเฟ้อ และวิกฤติพลังงาน

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบด้านอื่นที่เกิดขึ้นพอๆ กับที่เกิดกับซัพพลายเชนในวันนี้ คือวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายในภาคอุตสาหกรรมต้องอาศัยคนดูแลเครื่องจักรและการบรรจุผลิตภัณฑ์เป็นเวลานาน แต่ยอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซที่ถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานจากระยะไกลที่เพิ่มขึ้น รวมถึง "การลาออกครั้งใหญ่" ของพนักงานสูงวัยและพนักงานเกษียณอายุ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่สร้างความลำบากให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในการหาคนให้เพียงพอต่อความต้องการ หากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะมีตำแหน่งงานว่างกว่า 85 ล้านตำแหน่ง ภายในปี 2573 อาจส่งผลต่อรายได้ทั่วโลกที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงที่ 8.452 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สิงคโปร์และฮ่องกงจะคิดเป็น 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ของตัวเลขรวมดังกล่าว

ขณะเดียวกัน ด้วยต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น กับความคาดหวังของลูกค้าที่สูง ทำให้มีความต้องการงานเพิ่มขึ้นไปอีก ความต้องการงานหยิบวางมีตั้งแต่ซองขนาด 100 กรัม ไปจนถึงกล่องขนาด 8 กิโลกรัม และกำหนดเวลาการจัดส่งที่เข้มงวดขึ้น เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อย จวบจนปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหว และหุ่นยนต์ ก็ยังก้าวหน้าไม่เพียงพอที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ต้องปรับตัวให้ทัน

อย่างไรก็ตามวิทยาการล้ำหน้าด้าน AI และหุ่นยนต์ทำให้งานหยิบจับวัสดุด้วยระบบอัตโนมัติเป็นตัวเลือกที่แท้จริงสำหรับซัพพลายเชนขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตจึงหันไปพึ่งพา โคบอท หรือ Cobot ในการแก้ปัญหาท้าทายด้าน Workflow ที่ใหญ่

หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ 

บรรดานักเขียนไซไฟ ได้เคยทำนายเกี่ยวกับ "การมาของหุ่นยนต์" ไว้นานแล้ว โดยมีเรื่องราวมากมายนับไม่ถ้วนที่กล่าวไว้ล่วงหน้าถึง Hyper Machine ซึ่งนอกจากจะทำให้มนุษย์ล้าหลังแล้ว มันยังเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้สร้างอีกด้วย โชคดีที่ในความเป็นจริง เรื่องราวยังดำเนินไปในเชิงบวกมากกว่า

โคบอท (Cobot) หรือหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน (collaborative robot) คือระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ (next-generation automation robotics systems) ที่ "ทำงานร่วมกับมนุษย์ ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์" ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ตั้งโปรแกรมง่าย และมีฟีเจอร์เสริมด้านความปลอดภัยอยู่ในตัว ซึ่งระบบเหล่านี้สามารถยกระดับประสิทธิภาพให้ความยืดหยุ่น และมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้พนักงาน ด้วยกระบวนการผลิตที่แม่นยำและสม่ำเสมอ เช่น การหยิบวาง โคบอทสามารถทำงานหนักซ้ำๆ ได้ อีกทั้งทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ 

\'โคบอท\' กับการแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในภาคการผลิต

โคบอท จะทำงานผสานรวมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งของภาคอุตสาหกรรม (Industrial internet of Things) หรือ IIoT ซึ่งนับเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในอุตสาหกรรม ซึ่ง IIoT ประกอบไปด้วย เซนเซอร์ เครื่องมือต่างๆ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมโยงเครือข่ายสำคัญเข้าไว้ด้วยกัน อาทิ การผลิต การบริหารจัดการพลังงาน การดูแลสุขภาพ ตลอดจนการบินและอวกาศ โดยให้ศักยภาพการทำงานที่สูงกว่า ทั้งประสิทธิภาพความแม่นยำ และมีความปลอดภัยมากขึ้นในพื้นที่การผลิต ซึ่งนอกจากโคบอทจะช่วยเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังช่วยลดเวลาหยุดทำงานที่เกิดจากการขาดแคลนแรงงานอันเป็นสาเหตุให้โรงงานมีต้นทุนการผลิตสูงถึง 20% ในปัจจุบัน นอกจากนี้ โคบอทยังให้ประโยชน์ในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้อีกด้วย

การใช้โคบอทช่วยให้ผู้ผลิตสามารถให้เวลาอิสระแก่พนักงานได้ทำงานที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หรืองานประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนมากขึ้นกับพนักงานและเป็นงานมีคุณค่าต่อบริษัทฯ นำไปสู่ความพึงพอใจในงานมากขึ้น การวิจัยของ Statista คาดการณ์ว่า ตลาดโลกด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (compound annual growth rate) หรือ CAGR 26% ภายในปี 2568 โดยโคบอทช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานสายอุตสาหกรรมที่จับต้องได้ในประเด็นต่อไปนี้

โคบอท และความท้าทายด้านซัพพลายเชน

รายงานล่าสุดเกี่ยวกับผู้นำด้านซัพพลายเชน Gartner พบว่า ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการรับมือกับความท้าทายในปัจจุบัน คือธุรกิจที่นำเทคโนโลยีมาใช้โดยให้คนเป็นศูนย์กลางในการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ดังนั้น โคบอทมีบทบาทที่ชัดเจน และเป็นบทบาทเร่งด่วนในการช่วยเติมเต็มช่องว่างด้านแรงงานที่เกิดจากวิกฤติของภาคการผลิตในปัจจุบัน โชคดีที่มีเทคโนโลยีพร้อมให้ใช้งานมากขึ้น

FORTNA (ชื่อเดิม MHS Global) ผู้ให้บริการระดับโลกด้านระบบออโตเมชันในการจัดการวัสดุและการวางระบบ ได้นำโซลูชันหุ่นยนต์ตัวใหม่มาใช้ในการปฏิรูปเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้กับศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งหุ่นยนต์เดลต้า PacDrive 3 ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในการหยิบและวางได้มากถึง 2,000 ชิ้น ต่อชั่วโมง (PPH) ในฉากทัศน์ที่เป็น brownfield และสูงถึง 2,500 PPH ในฉากทัศน์ที่เป็น Greenfield

เคล็ดลับความสำเร็จของโคบอทขั้นสูงหลายๆ รุ่น ในปัจจุบันอยู่ที่การเขียนโปรแกรมเพื่อให้ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด แทนการตั้งค่าไว้ล่วงหน้าเพื่อให้หยิบวัตถุเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยโคบอทขั้นสูงจะควบคุมซอฟต์แวร์ computer vision และอัลกอริทึม เพื่อทดสอบแต่ละไอเทมพร้อมกำหนดจังหวะในการหยิบจับได้ตามระยะที่ต้องการ จากนั้นส่วนที่เป็นถ้วยดูดแบบสุญญากาศ Gripper ซึ่งเป็นตัวจับและแขนจับก็จะทำการหยิบ พร้อมจัดระเบียบแต่ละไอเทมให้พร้อมสำหรับกระบวนการสุดท้าย (downstream processing)

ประโยชน์ของการใช้งานมีมาก และมักจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญ เช่น หนึ่งในการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ที่ผู้ผลิตกระเบื้องหินมุงหลังคารายหนึ่ง ล่าสุดได้มีการนำระบบหุ่นยนต์มาช่วยในการจัดเรียงกระเบื้อง นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนคนงานแล้ว ยังช่วยเพิ่มกำลังการผลิต อีกทั้งช่วยให้คนทำงานหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ ได้

สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ การที่สามารถบรรลุผลลัพธ์ทั้งหมดได้เลยในปัจจุบัน กระนั้นนี่เป็นแค่เพียงตัวอย่างเล็กๆ ของประโยชน์ที่มีอยู่อีกมากมาย

การทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์

ด้วยศักยภาพในตัวเอง ทำให้ โคบอท สามารถเป็นส่วนเสริมที่สร้างคุณค่าให้กับการดำเนินการในอุตสาหกรรมต่างๆ และยิ่งผสานรวมกับเครือข่ายเทคโนโลยีในวงกว้างขึ้น ก็จะช่วยปลดล็อกข้อมูล และให้ข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยปฏิรูปในเรื่องผลผลิตให้ความคล่องตัว และสามารถทำกำไรได้มากขึ้น อีกทั้งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก

แพลตฟอร์ม IIoT แบบเปิดที่สามารถปรับขยายการทำงานได้และให้ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายไซต์งานรวมถึงแผนกงานต่างๆ จากนั้นจะแสดงภาพข้อมูลตามเวลาจริงบน Dashboard ทั้งข้อมูลการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานเฉพาะ รวมถึงฟังก์ชันงาน และแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อช่วยให้พนักงานและผู้บริหารสามารถตัดสินใจโดยมีข้อมูลสนับสนุน ซึ่งเป็นขุมพลังในการขับเคลื่อน เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานและให้ผลกำไรที่ดีขึ้น

อนาคตของการปฏิรูปกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล

ท้ายที่สุดแล้วระบบออโตเมชันด้านอุตสาหกรรม สามารถสร้างพลังในการปรับปรุงประสิทธิภาพงานในทุกระดับ และยังช่วยให้พนักงานที่ไซต์งานมั่นใจได้ว่า การมีโคบอทช่วยให้ตัวเองทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ได้เข้ามาเพื่อทำงานแทนที่ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถผสานรวมเข้ากับโครงสร้างพื้นฐาน และทำงานร่วมกับพนักงานได้อย่างราบรื่น โดยพนักงานให้การยอมรับกับการปรับปรุงประสิทธิภาพได้ในทันที

ผู้ปฏิรูปสู่ดิจิทัลรายแรกๆ กำลังเห็นถึงประโยชน์ที่สามารถวัดผลได้ เช่น ในสิงคโปร์มีความมุ่งมั่นระยะยาวของรัฐบาลในการลงทุนกับเทคโนโลยีดิจิทัลรุ่นล่าสุด ทั้งหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ Machine Learning อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมถึงการประมวลผลแบบคลาวด์ ยังช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศใกล้จะบรรลุเป้าหมายการเป็น Smart Nation ปัจจุบันสิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบอัตโนมัติมากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งได้แรงหนุนจากวิสัยทัศน์ Economy 2030 ในการเพิ่มมูลค่าการผลิต 50% ภายในปี 2030

ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้ด้วยการผสานรวมระหว่างมนุษย์ โคบอท และซอฟต์แวร์ ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการหยุดชะงักของแรงงานและกำลังการผลิตในปัจจุบันแล้ว ยังช่วยปกป้ององค์กรจากความท้าทายในอนาคตอีกด้วย

"หุ่นยนต์" คืออนาคตที่แท้จริง และเป็นไปในเชิงบวกมากกว่าที่นิยายวิทยาศาสตร์ได้เคยคาดการณ์กันไว้