7 อาหารไทยต้าน 'โควิด-19' เปิดสรรพคุณเด็ดที่ช่วยป้องกันไวรัส

7 อาหารไทยต้าน 'โควิด-19' เปิดสรรพคุณเด็ดที่ช่วยป้องกันไวรัส

แนะนำ "อาหารไทย" หลากหลายเมนูที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสมุนไพรแต่ละอย่างก็มีสรรพคุณทางยา ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านเชื้อไวรัสได้ด้วย

เมื่อคนไม่ป่วยอยากจะหาทางป้องกัน COVID-19 ดีกว่ารอให้ตัวเองถึงคิวติดเชื้อ! นอกจากการออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว อีกหนึ่งวิธีก็คือ การรับประทาน "อาหารไทย" ที่มี "สมุนไพร" ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและต้านเชื้อไวรัส

ล่าสุดมีข้อมูลจาก นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐศิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก แนะนำผักผลไม้สมุนไพร 3 กลุ่ม เพื่อเสริมภูมิต้านทานของร่างกายช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ได้แก่

- กลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น พลูคาวหรือผักคาวตอง, เห็ดต่างๆ, ตรีผลา(สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม)

- กลุ่มที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น ดอกขี้เหล็ก, ยอดมะยม, ใบเหลียง, ยอดสะเดา, มะระขี้นก, ฟักข้าว, ผักเชียงดา, คะน้า, มะรุม, ผักแพว มะขามป้อม, ลูกหม่อน และผักผลไม้หลากสี

- กลุ่มที่มีสารสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เช่น พลูคาวหรือผักคาวตอง กะเพรา หอมแดง หอมหัวใหญ่ มะรุม ใบหม่อน แอปเปิล เปลือกผลของพืชตระกูลส้ม (ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า)

จากตัวอย่างสมุนไพรไทย ผัก และผลไม้ดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นส่วนประกอบในเมนู "อาหารไทย" หลากหลายชนิด โดยสมุนไพรเหล่านั้นมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายห่างไกลจากเชื้อไวรัสได้ สำหรับเมนูแนะนำมีดังนี้ 

 

  • เมี่ยงคำ

อาหารไทยอย่าง "เมี่ยงคำ" มีส่วนผสมหลักคือ มะนาวหั่นพร้อมเปลือก และหอมแดงสด ทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นสมุนไพรที่มีสารเฮสเพอริดิน สารรูติน และวิตามินซี ช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ได้

158461795811

 

  • ผัดกะเพรา

อาหารไทยจานนี้มีส่วนผสมหลักคือ "ใบกะเพรา" ซึ่งถือเป็นผักสมุนไพรอีกอย่างที่คนไทยรู้จักกันดี ข้อมูลจากกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ระบุว่าใบกะเพรามีสารโอเรียนทิน (orientin) เป็นสารสำคัญที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อของเซลล์ จึงช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยไข้จากเชื้อไวรัสได้

 

  • ต้มยำ

เมนูอาหารไทยเมนูถัดมาคือ "ต้มยำ" มีส่วนประกอบหลักคือ หอมใหญ่ หอมแดง ซึ่งมีสารสำคัญอย่าง สารเคอร์ซีทิน (quercetin) ที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ อีกทั้งยังมีเห็ดที่มีสารเบต้ากลูแคน ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไม่ป่วยง่าย และมะนาวที่ใส่ในต้มยำมีวิตามินซีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

 

 

  • ต้มโคล้ง

ส่วนเมนูอาหารไทยอีกจานที่มีรสชาติแซ่บจัดจ้านไม่แพ้กัน นั่นคือ "ต้มโคล้ง" (รวมถึงเมนูแกงเลียงและยำชนิดต่างๆ) มีส่วนผสมของสมุนไพรจำพวกหอมใหญ่ หอมแดง เห็ดชนิดต่างๆ และมะนาว ซึ่งมีสารสำคัญ เช่น สารเคอร์ซีทิน เบต้ากลูแคน และวิตามินซี ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไม่ป่วยง่าย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

158452157748

 

  • แกงส้มมะรุม แกงส้มผักรวม

แกงส้มทั้งสองชนิดนี้ต่างก็เป็นอาหารไทยที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ เริ่มจาก "แกงส้มมะรุม" มีมะรุมเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งมีสารเคอร์ซีติน (quercetin) ที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ ส่วนเมนู "แกงส้มผักรวม" ควรใช้ผักหลากหลายสีผสมกัน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซี และสารกลุ่มแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารเฟลโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่ป่วยง่าย 

158452157944

 

  • น้ำพริกผักต้ม ผักสด

บ้านเราคุ้นเคยกับอาหารไทยประเภทเครื่องจิ้มกันอยู่แล้ว อย่างเช่นเมนูน้ำพริกผักต้มหรือผักสด โดยอาจจะเน้นผักสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในเมนูนี้มห้มากขึ้น เช่น ดอกขี้เหล็ก ยอดมะยม ใบเหลียง ยอดสะเดา มะระขี้นก ฟักข้าว ผักเชียงดา คะน้า มะรุม ผักแพว ผักหลากสี ซึ่งผักเหล่านี้อุดมไปด้วยสารกลุ่มแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารกลุ่มเฟลโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และมีวิตามินซีสูงด้วย

  158452157424

 

  • น้ำตรีผลา, น้ำลูกหม่อน

สำหรับเครื่องดื่มหรือน้ำสมุนไพรที่ทางกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกแนะนำ คือ "น้ำตรีผลา" ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้  นอกจากนี้อาจนำผักผลไม้ที่แนะนำข้างต้นมาปรุงอาหารอื่นหรือทำเป็นเครื่องดื่มได้ เช่น "น้ำลูกหม่อน" มีสารกลุ่มแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารเฟลโวนอยด์ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ให้แข็งแรง หรือจะเลือกดื่ม "ชาใบหม่อน" ก็ได้ ในในบหม่อนมีสารเคอร์ซีติน ที่มีศักยภาพในการป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ เป็นต้น

ที่มา : กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก