ทวิตเตอร์ส่งฟีเจอร์ใหม่ ‘Event page’ อัพเดทสถานการณ์โควิด-19

ทวิตเตอร์ส่งฟีเจอร์ใหม่ ‘Event page’ อัพเดทสถานการณ์โควิด-19

ทวิตเตอร์ส่งฟีเจอร์ใหม่ ‘Event page’ อัพเดทสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้แบบเรียลไทม์

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโรคโควิด-19 หลายหน่วยงานพยายามหาแนวทางป้องกัน ร่วมถึงการร่วมมือร่วมใจกันต่อสู้กับเชื้อโรคนี้ ล่าสุด ทวิตเตอร์ส่งฟีเจอร์ใหม่ “Event page” ที่แสดงข่าวสารอัพเดทแบบเรียลไทม์จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และข้อมูลอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) โดยหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาสังคม และสื่อมวลชน

ทั้งนี้ Event page เป็นเพจข้อมูลที่แสดงอยู่ด้านบนสุดของไทม์ไลน์ เมื่อเปิดใช้งานทวิตเตอร์ในโทรศัพท์มือถือ และสามารถกดแท็ป explore สำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งให้บริการทั้งในไทยและหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ โดยสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://twitter.com/i/events/1240300661364772864?spoof_country=TH&lang=th

ทวิตเตอร์มีบัญชีผู้ใช้งานที่สำคัญๆ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญ หน่วยงานรัฐบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และนักระบาดวิทยาเป็นจำนวนมาก โดยทวิตเตอร์มีเป้าหมายในการยกระดับและกระจายข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

คัดกรองทุกบทสนทนา เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

ในช่วงที่เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขก็ยิ่งทำให้เห็นถึงพลังของทวิตเตอร์ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ความรวดเร็วและไร้พรมแดนของทวิตเตอร์ทำให้เปิดโอกาสในการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ออกไป และทำให้ผู้คนมั่นใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลล่าสุดจากแหล่งข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก 

ทั้งนี้ ทีมงานด้านความปลอดภัยและความเชื่อมั่นทั่วโลกของทวิตเตอร์ยังคงดำเนินวิธีการขั้นเด็ดขาดต่อการการบิดเบือนข้อมูลบนแพลตฟอร์มและความพยายามอื่นๆ ในการกระทำที่ไม่เหมาะสมในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ ทวิตเตอร์ได้สร้างกฎด้านความปลอดภัยซึ่งรวมถึงคอนเท้นท์ที่อาจทำให้ผู้คนเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด-19 โดยทวิตเตอร์ต้องการให้ผู้ใช้งานลบข้อความที่มีคอนเท้นท์ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้อื่นติดเชื้อหรือแพร่เชื้อไวรัส ดังต่อไปนี้

  • การปฏิเสธคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
  • การยุยงส่งเสริมให้ใช้วิธีการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ การป้องกัน รวมถึงในการวินิจฉัยโรคที่ไม่ถูกต้อง
  • ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดโดยอ้างว่าเป็นข้อมูลจากเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญ

158472258632

เครดิตทวีตจาก: https://twitter.com/TwitterSafety/status/1240418440982040579

เพิ่มการค้นหาแบบทันทีเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ให้ใช้งานได้มากขึ้นทั่วโลก

เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 ที่มีความน่าเชื่อถือ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์สามารถค้นหาได้จากช่องทางค้นหาทันที (Prompt search) ซึ่งทวิตเตอร์ได้เปิดตัวฟีเจอร์นี้ 6 วัน ก่อนการประกาศเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม ซึ่งผู้ใช้งานจะเห็นเนื้อหาจะอยู่ด้านบนสุดของช่องค้นหา ซึ่งทวิตเตอร์ยังคงตรวจสอบบทสนทนาเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการรวมทุกคีย์เวิร์ดเพื่อการค้นหา รวมถึงคำที่มีการสะกดคำผิด ในช่องทางค้นหาทันทีอีกด้วย

โดยในประเทศไทย ทวิตเตอร์ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข (@pr_moph) และองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (@WHOThailand) โดยฟังก์ชั่นใหม่นี้จะนำพาผู้ใช้งานทวิตเตอร์ไปยังแอคเคาท์ทวิตเตอร์ของทั้งสององค์กร และเบอร์ติดต่อสายด่วนของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โทร 1422

นอกจากนี้ทวิตเตอร์ยังร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นแต่ละประเทศและจัดทำช่องทางค้นหาทันทีเกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันใช้งานได้ใน 66 พื้นที่ รองรับได้ 27 ภาษา และทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐกว่า 60 แห่งทั่วโลก โดยทวิตเตอร์พร้อมขยายขอบเขตช่องทางค้นหาทันที หากมีความต้องการในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น

ขยายต่อความร่วมมือและแชร์ข้อมูลสนับสนุนการวิจัยโควิด-19

จากนโยบายการควบคุมเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมของทวิตเตอร์ ซึ่งจะทำการระงับบัญชีชั่วคราวของผู้ที่ใช้โอกาสจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อการโฆษณาอย่างไม่เหมาะสม แต่ทวิตเตอร์อนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลทางด้านสาธารณสุขได้โฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องโควิด-19 โดยเราได้วางมาตรการป้องกันเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการแชร์ข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เชื่อถือได้และเพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้งาน ขณะนี้ได้ห้ามไม่ให้มีการโปรโมตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับโควิด-19 และด้วยการตั้งราคาขายที่สูงเกินจริงในทั่วโลก

ข้อมูลของทวิตเตอร์ได้ถูกใช้ในการวิจัยทุกวัน และมีฮับข้อมูลของการวิจัยให้บริการข้อมูลแก่ผู้สนใจทั่วไป โดยทวิตเตอร์เปิดกว้างต่อการนำข้อมูลของทวิตเตอร์ไปใช้ในการสนับสนุนการวิจัยโควิด-19 นอกจากนั้น ยังมีการดำเนินการพันธมิตรด้าน #DataForGood เพื่อประเมินว่าข้อมูลต่างๆ ของทวิตเตอร์นั้นสามารถสนับสนุนนักวิชาการและองค์การไม่แสดงหาผลกำไรได้นำไปใช้ในการทำความเข้าใจกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในปัจจุบันและในอนาคต

เราควรใช้ทวิตเตอร์อย่างไรในช่วงเวลานี้? 

หากคุณกำลังมองหาคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานทวิตเตอร์ในช่วงเวลาเช่นนี้ ลองกดติดตามแอคเคาท์องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (@WHOThailand) และกระทรวงสาธารณสุข (@pr_moph) เพื่อรับข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้และอย่าไปสนใจข้อมูลหลอกลวงอื่นๆ โดยหากคุณพบเห็นข้อความใดที่มีเนื้อหาน่าสงสัยหรือไม่เหมาะสม สามารถรายงานไปที่ทวิตเตอร์ได้ทันที อีกทั้งในทวิตเตอร์โมเม้นต์ เรายังได้คัดเลือกข้อความที่มีเนื้อหาที่ยาวมากขึ้นเพื่อสามารถบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นรอบโลกให้ได้ติดตามอย่างครบถ้วนยิ่งขึ้นอีกด้วย สำหรับนักการศึกษาและพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคน ก็สามารถศึกษาคู่มือการรู้เท่าทันสื่อซึ่งทวิตเตอร์ได้จัดทำขึ้นร่วมกับยูเนสโก(@UNESCO), ได้ที่นี่