'ลูกหนี้' ต้องรู้! มาตรการปรับลดเพดานดอกเบี้ย-ขยายวงเงิน ดีเดย์แล้ว วันนี้

'ลูกหนี้' ต้องรู้! มาตรการปรับลดเพดานดอกเบี้ย-ขยายวงเงิน ดีเดย์แล้ว วันนี้

เตือนกันอีกครั้ง! มาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ระยะที่ 2 ทั้งการปรับลดเพดานดอกเบี้ย และเพิ่มวงเงิน สำหรับลูกหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ มีผลแล้ว ตั้งแต่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป

ย้ำเตือนกันอีกครั้ง สำหรับมาตรการช่วยเหลือ "ลูกหนี้" จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อระบบเศรษฐกิจ และกระทบต่อรายได้ของประชาชนซึ่งอาจยังต้องใช้เวลาฟื้นตัวอีกระยะ

เมื่อวันที่ 19 มิ.. 2563  ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จึงได้ร่วมกับสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินต่าง ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่ 2 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้รายย่อยให้ยังคงมีกระแสเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพและเพื่อประกอบอาชีพ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันนี้ 1 ..2563 แล้ว

..เหล่าลูกหนี้ทั้งหลายมาทบทวนกันว่า ตามมาตรการดังกล่าว มีความน่าสนใจ รวมถึงมีรายละเอียดความช่วยเหลือตามมาตรการช่วยเหลือระยะที่อย่างไรบ้าง..

1. การลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ร้อยละ 2 - 4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีลักษณะวงเงินหมุนเวียน (revolving loan) ให้ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป
  • สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่ผ่อนชำระเป็นงวด หรือสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ให้ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่ทำสัญญาใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

2. เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด สำหรับลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราว (มีผลตั้งแต่ 1 .. 2563 - 31 ธันวาคม 2564)

159627722637

   

3. มาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และไม่เป็น NPLs ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีทางเลือกความช่วยเหลือขั้นต่ำให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบได้เลือกตามประเภทสินเชื่อ และมีช่องทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกหนี้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้ เช่น บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile application) เว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า (call center) และการส่งข้อความทาง SMS ที่ผู้ให้บริการทางการเงินจะจัดส่งผ่านหมายเลขโทรศัพท์ของลูกหนี้ ตามที่ลูกหนี้ได้แจ้งไว้ เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2563

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 นี้ เป็นเพียงความช่วยเหลือขั้นต่ำ ซึ่งผู้ให้บริการทางการเงินสามารถให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้มากกว่าที่แบงก์ชาติกำหนดไว้ได้ และเมื่อมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 1 ครบกำหนด ขอให้ผู้ให้บริการทางการเงินพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการขั้นต่ำนี้ต่อไปได้ตามความจำเป็นของลูกหนี้แต่ละราย

159621582535

4. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้ลูกหนี้ เช่น โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เปลี่ยนสินเชื่อจากระยะสั้นเป็นระยะยาว เลื่อนการชำระค่างวด ลดดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราตลาด

และกรณีลูกหนี้ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs ขอให้พิจารณาชะลอการยึดทรัพย์ และต้องจัดให้มีช่องทางหรือกลไกแก้ไขหนี้ในลักษณะเดียวกับคลินิกแก้หนี้

แต่ทั้งนี้ แม้ในช่วงของมาตรการช่วยเหลือขั้นต่ำระยะที่ 2 ลูกหนี้จะได้รับประโยชน์จากการเลื่อนกำหนดชำระหนี้ แต่ดอกเบี้ยก็ยังคงเดินอยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของลูกหนี้ภายหลังมาตรการนี้สิ้นสุดลง แบงก์ชาติได้กำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเลื่อนกำหนดชำระหนี้เป็นเงินก้อนในคราวเดียว รวมทั้งไม่ให้เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราผิดนัด ค่าบริการ เบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดเพิ่มเติมจากลูกหนี้ และหากลูกหนี้ต้องการชำระหนี้ตามสัญญาภายใต้มาตรการที่ช่วยเหลือก่อนกำหนด ผู้ให้บริการทางการเงินไม่สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนดได้