'ฝุ่น PM2.5' ใน 'กรุงเทพฯ' เกินมาตรฐาน 41 พื้นที่ เขตหนองแขมฝุ่นสูงสุด 72 มคก./ลบ.ม.
คนกรุงเตรียมหน้ากากให้พร้อม พบฝุ่น "PM2.5" เกินมาตรฐาน 41 พื้นที่ในกรุงเทพฯ เขตหนองแขม ทวีวัฒนา และคลองสาน มีปริมาณฝุ่นสูงสุด
ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 07.00 น. พบว่าค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 39-72 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 41 พื้นที่ ดังนี้
1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม.
2. เขตทวีวัฒนา บริเวณทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.
3. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
4. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
5. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ: มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
6. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
7. เขตปทุมวัน บริเวณริมถนนจามจุรีสแควร์ เยื้อง MRT สามย่าน : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
8. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
9. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
10. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
11. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
12. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
13. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
14. เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 57มคก./ลบ.ม.
15. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
16. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
17. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
18. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
19. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
20. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
21. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
22. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
23. สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
24. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
25. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
26. เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
27. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
28. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
29. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
30. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
31. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา: มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
32. เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง: มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
33. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
34. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
35. เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
36. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง: มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
37. เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต: มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
38. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
39. เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
40. สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
41. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
ทั้งนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร: ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- คำแนะนำ
คุณภาพอากาศดีสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ คุณภาพอากาศปานกลาง ประชาชนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น