เช็กความเข้าใจ "มาฆบูชา" วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา แตกต่างกันอย่างไร

เช็กความเข้าใจ "มาฆบูชา" วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา แตกต่างกันอย่างไร

ทำความเข้าใจวันสำคัญทางพุทธศาสนา “มาฆบูชา” “วิสาขบูชา” “อาสาฬหบูชา” ว่าแต่ละวันมีความสำคัญ และเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง?

ข้อมูลจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประชาชนคนไทยนับถือศาสนาพุทธมากถึง  93.5% ดังนั้นแล้ว วันสำคัญทางพุทธศาสนาในวาระต่างๆ จึงถูกบรรจุเป็นวันสำคัญของประเทศไทย รวมถึงมีการบรรจุวิชาพุทธศาสนาในหลักสูตรการเรียนขั้นพื้นฐานเช่นกัน

แต่ถึงอย่างนั้นเรื่องราวของศาสนาพุทธมีข้อมูล พร้อมทั้งรายละเอียดอย่างมหาศาล สำหรับบางคนเมื่อก้าวเข้าสู่โลกทำงานอาจจะทำให้ความเข้าใจเรื่องวันสำคัญต่างๆ คลาดเคลื่อนออกไป 

ในวาระ วันมาฆบูชาปี 2565 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนย้อนทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นในวัน มาฆบูชาพร้อมทั้ง 2 วันสำคัญคือ วิสาขบูชาอาสาฬหบูชาว่ามีความแตกต่างอย่างไร และเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง?

เช็กความเข้าใจ \"มาฆบูชา\" วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา แตกต่างกันอย่างไร

 

  • วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  เกิดเหตุการณ์ที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1,250 รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้า วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกัน ทั้งนี้พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง “โอวาทปาฏิโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติ มีเนื้อหาโดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 
 

ทั้งนี้ "กรมศาสนา" ให้ข้อมูลว่า การปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทยปรากฏครั้งแรกในสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 

โดยมีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและวัดราชประดิษฐ์ 30 รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบ พระอุโบสถ 1,250 เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมกข์ 1 กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย

161416379140

ในอดีตมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไปให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบันมีการบูชาด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญเดือนหากปีใดเป็นอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน 4

โดยสรุปแล้ว ในปัจจุบันพิธีกรรมที่ศาสนิกชนปฏิบัติกันในวันมาฆบูชาคือ การทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ฟังเทศน์ ในตอนกลางคืนจะชุมนุมเวียนเทียนรอบพระอุโบสถพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์

 

 

  • วันวิสาขบูชา

คำว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะ (ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือนแปดสองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือนเจ็ด) โดยวันวิสาขบูชาถือเป็นวันที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ และปรินิพพาน คือ ดับ ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ตรงกันทั้ง 3 คราว (แต่ต่างปีกัน) ได้แก่

-เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ “ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

-เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ “ตรัสรู้” เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี

-หลังจากตรัสรู้แล้วพระองค์ได้ประกาศพระศาสนาและโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จ “ดับขันธปรินิพพาน ในวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)

161416384342

นอกจากนี้คณะกรรมาธิการองค์การสหประชาชาติ ยังได้ประกาศให้วันวิสาขบูชา (Vesak Day)” ถือเป็นวันสำคัญของโลกด้วยเหตุผลคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ทั้งหลายในโลก จะเห็นได้จากการยกเลิกแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเท่ากับเป็นการเลิกทาสโดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าอีกด้วย กล่าวคือ ทรงสอนให้ไม่ฆ่าสัตว์ และพระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ

สรุปแล้ววันวิสาขบูชาเป็นวันที่เราจะได้ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและหลักธรรมคำสอนต่างๆ ที่ท่านได้เคยสอนไว้ สำหรับกิจกรรมที่ชาวพุทธมักจะปฏิบัติกันเป็นประจำเมื่อถึงวันวิสาขบูชา ได้แก่ การเข้าวัดทำบุญตักบาตรด้วยอาหารคาวหวาน ถวายสังฑทาน ฟังเทศน์เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิต ถือศีล ปฏิบัติธรรมสร้างบารมีให้กับตัวเอง และสะสมผลบุญ รวมถึงการ การเวียนเทียน 

 

  • วันอาสาฬหบูชา 

“วันอาสาฬหบูชา” ตรงเป็นวันที่ 15 ค่ำ เดือน 8 นับว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรง “ประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยพระองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรกด้วย เรียกว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม (เป็นวันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก)

ในการนั้นพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ, พระวัปปะ, พระภัททิยะ, พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

161416385758

แต่เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี .. 2501 การบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสงฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ .. 2501

โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่ม "วันอาสาฬหบูชา" เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธในประเทศไทย ตามคำแนะนำของพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) และได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม .. 2501 กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา

พร้อมทั้งกำหนดพิธีกรรมทางศาสนาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยให้มีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา” 

ส่วนพิธีกรรมที่ศาสนิกชนควรปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชานั้น ไม่ต่างจากวันวิสาขบูชามากนัก คือการ ทำบุญตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา

----------------------------------------

อ้างอิง : กรมการศาสนาdhammathai.org