'พาณิชย์' เผย ส่งออก ก.ค.พุ่ง 20.7%
พาณิชย์ เผยส่งออกเดือน ก.ค.ขยายตัว 20.7% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม 2564 เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ด้วยมูลค่า 22,650.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ 20.27% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 25.38% เป็นผลจากการเร่งแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้การจ้างงานปรับตัวดีในระดับที่น่าพอใจ
ขณะที่การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรปทำให้ภาคบริการฟื้นตัว ผลักดันให้เศรษฐกิจยุโรปเติบโตเร็วขึ้น อีกทั้งภาคการผลิตทั่วโลกยังคงขยายตัวดี สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือ 50% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 โดยการผลิตสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าเพื่อการลงทุนปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ เงินบาท
ที่อ่อนค่ายังเป็นปัจจัยหนุนต่อภาคการส่งออกไทย ทั้งนี้ การส่งออก 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวที่ 16.20% เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ 21.47% สะท้อนภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ที่เติบโตอย่างชัดเจน
ด้านสินค้าส่งออก มีการขยายตัวในหลายกลุ่มสินค้า ได้แก่
1.สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะผักและผลไม้ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ไก่สด แช่เย็น แช่เข็ง และแปรรูป เครื่องดื่ม อาหารสัตว์เลี้ยง และสิ่งปรุงรสอาหาร
2.สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขยายตัวเกือบทุกหมวด เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์และอุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ
3.สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ และถุงมือยาง
4.สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของภาคการผลิต เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
5.สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวในระดับสูง สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศคู่ค้า
ด้านตลาดส่งออก ขยายตัวเกือบทุกตลาด ตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง หากมองในตลาดอาเซียน อาเซียน (5) และ CLMV มีศักยภาพการเติบโตในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะตลาดเมียนมาขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นอกจากนี้ ตลาดตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา แอฟริกา และรัสเซียและ CIS มีอัตราการขยายตัวในระดับสูงแทบทั้งสิ้น
ด้านมูลค่าการค้ารวม มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกรกฎาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 22,650.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 20.27% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 22,467.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 45.94% ดุลการค้าเกินดุล 183.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพรวมการส่งออก 7 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 154,985.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16.20% การนำเข้า มีมูลค่า 152,362.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 28.73% ดุลการค้า 7 เดือนแรก เกินดุล 2,622.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกรกฎาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 708,651.66 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.16 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 712,613.16 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 48.22 ดุลการค้าขาดดุล 3,961.50 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 7 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 4,726,197.35 ล้านบาท ขยายตัว 13.93% การนำเข้า มีมูลค่า 4,711,274.91 ล้านบาท ขยายตัว 26.34% ดุลการค้า 7 เดือนแรก เกินดุล 14,922.44 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 24.3% (YoY) ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 80.2% ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเนเธอร์แลนด์) ยางพารา ขยายตัว 121.2% ขยายตัว 10 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลัง ขยายตัว 62.0% ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน และสหรัฐฯ) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 17.3 ขยายตัว 23 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และอินเดีย)
ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว 51.7% ขยายตัว 14 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ มาเลเซีย อินเดีย เมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ขยายตัว 8.4% ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ เมียนมา จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม และสหราชอาณาจักร)
สินค้าอาหารที่หดตัว ได้แก่ อาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป หดตัว 10.0% หดตัว 4 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อียิปต์ และแคนาดา) สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ หดตัว 51.6% หดตัว 6 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา และลาว แต่ขยายตัวดีในเมียนมา จีน ญี่ปุ่น และเนปาล)
น้ำตาลทราย กลับมาหดตัวอีกครั้ง หดตัวที่ 27.6% (หดตัวในตลาดเวียดนาม อินโดนีเซีย และสหรัฐ แต่ขยายตัวดีในตลาดฟิลิปปินส์ กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้) ข้าว หดตัว 8.0% หดตัว 8 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดสหรัฐ เบนิน แคเมอรูน และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวดีในตลาดแอฟริกาใต้ จีน เยเมน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และสิงคโปร์) 7 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 13.6%
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 18.0% (YoY) ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 39.2% ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ ออสเตรเลีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐฯ)
ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว 16.0% ขยายตัว 14 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และออสเตรเลีย) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัว 59.0% ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน กัมพูชา เวียดนาม ญี่ปุ่น และอินเดีย)
อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 43.8% ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐ ฮ่องกง อินเดีย สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 19.3% ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย)
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัว 59.4% ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และมาเลเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว หดตัว 2.9% หดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดจีน กัมพูชา และมาเลเซีย)
ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ หดตัว 2.4% กลับมาหดตัวในรอบ 14 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น เวียดนาม และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวได้ดีในหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเกาหลีใต้)
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัว 3.9% กลับมาหดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ และสหรัฐ แต่ขยายตัวได้ดีในหลายตลาด อาทิ แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ญี่ปุ่น และอินเดีย) 7 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 16.2%
ตลาดส่งออกสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญยังขยายตัวในเกณฑ์ดีเกือบทุกตลาด ตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า
ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก หลังจากมีอัตราการฉีดวัคซีนภายในประเทศอยู่ในระดับสูงทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น
ภาพรวมการส่งออกไปกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้
1.ตลาดหลัก ขยายตัว 25.8% ขยายตัวทุกตลาด ประกอบด้วย สหรัฐ 22.2% จีน 41.0% ญี่ปุ่น 23.3% สหภาพยุโรป (27) 20.9% อาเซียน (5) 26.9% และ CLMV 16.1%
2.ตลาดรอง ขยายตัว 27.6% ขยายตัวเกือบทุกกลุ่มตลาด ได้แก่ เอเชียใต้ 73.8% ตะวันออกกลาง 12.4% ทวีปแอฟริกา 17.9% ลาตินอเมริกา 93.5% และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS 53.0% ขณะที่ทวีปออสเตรเลียหดตัว 6.8%
3.ตลาดอื่นๆ หดตัว 76.7%
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละตลาดพบว่า ตลาดสหรัฐ ขยายตัว 22.2% (ขยายตัว 14 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 21.2%
ตลาดจีน ขยายตัว 41.0% (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์ ยางพารา และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 27.2%
ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัว 23.3% (ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ทองแดง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ รถยนต์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 14.0%
ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัว 26.9% (ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 8.6%
ตลาด CLMV ขยายตัว 16.1% (ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และ ทองแดงฯ เป็นต้น ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 17.9%
ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัว 20.9% (ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกล รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ขณะที่7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 25.8%
ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัว 73.8% (ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และเครื่องยนต์สันดาป เป็นต้น ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 54.2%
ตลาดอินเดีย ขยายตัวร้อยละ 75.3 (ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก รถยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และเครื่องยนต์สันดาป เป็นต้น ขณะที่ 7 เดือนแรกของ ปี 2564 ขยายตัว 57.4%
ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25) หดตัว 6.8% (กลับมาหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป) อากาศยาน และ เครื่องซักผ้า เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 22.6%
ตลาดตะวันออกกลาง (15) ขยายตัว 12.4% (ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เคมีภัณฑ์ ยางพารา ข้าว และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ 7 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว 15.9%