สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ธ.ค. 66

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ธ.ค. 66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ธ.ค. 66 น้ำท่วมขัง 4 จังหวัดภาคใต้ ประชาชนได้รับผลกระทบ 54,141 ครัวเรือน ยังคงเฝ้าระวังระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 8 แห่ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ธ.ค. 66 โดย สภาพอากาศวันนี้ มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่ง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า

คาดการณ์ ในช่วงวันที่ 6 –.8 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง

ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 4 ธ.ค. 66 น้อยกว่า ปี 65 จำนวน 4,105 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้

  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,663 ล้าน ลบ.ม. (77%)
  • ปริมาณน้ำใช้การ 39,459 ล้าน ลบ.ม. (68%)

การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำขนาดใหญ่

ระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 8 แห่ง

  • ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดนและบึงบอระเพ็ด
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุบลรัตน์ และลำปาว 
  • ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ 

ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุด 3 แห่ง

  • ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคกลาง : กระเสียว
  • ภาคตะวันออก : คลองสียัด

โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ

1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด  

2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและ
ขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง

3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่

สถานการณ์อุทกภัย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 จังหวัด (นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และนราธิวาส) 
รวม 10 อำเภอ 64 ตำบล 408 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 54,141 ครัวเรือน ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 

สทนช.ประกาศ ฉบับที่ 6/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 3 – 8 ธ.ค. 66 ดังนี้

1. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (อ.ทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย) จ.ชุมพร (อ.สวี ทุ่งตะโก หลังสวน และพะโต๊ะ) จ.สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองสุราษฎร์ธานี พุนพิน เคียนซา พระแสง และดอนสัก) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง ห้วยยอด และวังวิเศษ) จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุง และควนขนุน) จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองนครศรีธรรมราช ขนอม สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พรหมคีรี ลานสกา พระพรหม ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ ชะอวด และหัวไทร) จ.สงขลา (อ.เมืองสงขลา กระแสสินธุ์ ระโนด สทิงพระ สิงหนคร ควนเนียง หาดใหญ่ นาหม่อม และบางกล่ำ) จ.ปัตตานี (อ.เมืองปัตตานี ปะนาเระ มายอ แม่ลาน ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง สายบุรี และหนองจิก) จ.ยะลา (อ.เมืองยะลา เบตง และรามัน) จ.นราธิวาส (อ.เมืองนราธิวาส เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ จะแนะ สุคิริน สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี)  

2.เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก และเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม

 3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองบางสะพาน คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองชะอวด คลองลำ คลองท่าแนะ แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส

เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 66 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือบูรณาการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยมี.ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม จ.หนองบัวลำภู โดยรองนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายในการพัฒนา ปรับปรุงฟื้นฟู แหล่งน้ำต่าง ๆ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการใช้น้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อพัฒนาความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ ซึ่ง สทนช. จะนำไปขับเคลื่อนเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงด้านน้ำ ลดปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ซึ่งเน้นความยั่งยืนและพัฒนาอย่างสมดุล โดยผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน