'เกียรติ' จี้ หยิบกฎหมาย ส.ป.ก. พ.ศ.2518 ยุติข้อพิพาท ส.ป.ก. – อุทยานฯเขาใหญ่
“เกียรติ” เห็นแย้ง "ชัยวัฒน์" แนะหยิบกฎหมาย ส.ป.ก. พ.ศ.2518 ยุติข้อพิพาท ส.ป.ก. – อุทยานฯเขาใหญ่ ก่อนชาวบ้านรับกรรม ชี้ ต้องปรับแผนที่ตาม พ.ร.ฎ. ของ ส.ป.ก.ที่มีผลผูกพันทุกหน่วยงาน เหน็บ อย่าอ้างว่ารักป่าอยู่คนเดียว แล้วนายทุนที่คุยกับอุทยานรู้เรื่อง ยังอยู่ลอยนวล
นายเกียรติ สิทธีอมร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข้อพิพาทการออก ส.ป.ก.ทับซ้อนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจนถึงวินาทีนี้ไม่มีใครพูดถึงพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 เลย คนลืมไปแล้วว่าจริงๆ เมื่อก่อนไม่มีอุทยาน ในกฏหมายของ ส.ป.ก.ระบุไว้ชัดเจนว่า พื้นที่ใดหากมีการตรา พระราชกฤษฎีกาให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. แล้ว สิทธิของเจ้าของในพื้นที่เดิมต้องถูกเพิกถอนเจ้าของเดิม ไม่ต้องไปผ่านกระบวนการเพิกถอน
ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ส.ป.ก.ก็ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ในบางพื้นที่ไปตามที่มีการอนุมัติโดย ครม.แต่ปรากฎว่าหน่วยงานอื่นไม่เคยไปแก้แผนที่ของตัวเอง แล้วก็อ้างว่า แผนที่ตัวเองตรามาถูกต้อง แต่ลืมไปว่าหน่วยงานของเขาก็ผูกพันกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าคุณเอาแผนที่เก่าไม่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันตามการตราพระราชกฤษฎีกาของ ส.ป.ก.ถือว่าคุณมีความผิด
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า เราก็พบว่าหลายพื้นที่กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งกันไปหมด จุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2543 สมัยท่านชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นมีมติ ครม.ให้สำรวจร่วมไปแล้วที่เขาเรียกว่า แนวเขตปี 43 ทุกคนร่วมสำรวจหมดทั้งป่าไม้ ส.ป.ก.และอุทยานที่เป็นส่วนหนึ่งของป่าไม้ในขณะนั้น ชุดต่อมาไม่ยอมไปตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทั้ง ๆ ที่ได้แนวเขตที่เห็นตรงกันหมด
ถ้าพูดถึงอุทยานแห่งชาติเขาทับลาน ปี 43 ตอบโจทย์ชัดเจนมาก ของเขาใหญ่เป็นกรณีพิเศษ จุดเริ่มต้นที่ต้องตอบให้ได้ก็คือ เคยมีการตราพระราชกฤษฎีกา เป็นที่ ส.ป.ก.หรือไม่ ไม่ใช่ปล่อยให้กรมอุทยานออกมาพูดว่า แผนที่ข้าพเจ้ามีมาตั้งแต่ 2500 กว่าแล้วมันถูกต้อง เพราะหากเคยตราเป็นพื้นที่ ส.ป.ก.แล้ว ต้องถือว่า เพิกถอนเจ้าของเดิม ถ้าเป็นอุทยานก็ต้องเพิกถอนไปแล้ว และถ้าอุทยานเอาแผนที่เก่าแล้วไม่ปรับปรุงตามการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาไปใช้ถือว่า ผิด
การที่หน่วยงานรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ไปพูดคุยกันเองก่อนที่จะไปจับชาวบ้าน เขาไม่ทำอย่างนั้น ที่ผ่านมาเราเห็นชัดเจนมีหลายกรณี ทั่วประเทศที่ร้องเรียนมาที่สภาฯในสมัยที่แล้ว และนี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงมีการตั้งคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติขึ้นมาออกเป็น พ.ร.บ.เลย แล้วผมก็นั่งอยู่ในกรรมาธิการวิสามัญที่ออก พ.ร.บ. นี้ ซึ่งได้มีการดำเนินการอย่างชัดเจนว่า เอาแผนแนวปี 43 มาก่อน เพราะสำรวจร่วมกันมาแล้ว
ส่วนพื้นที่อื่นก็ไปสำรวจเพิ่มเติม ปัญหาที่ผมเห็นตลอด 2-3 วันนี้คือ ไม่เห็นใครซักถามอุทยานเลยว่า คุณมีการปรับปรุงแผนที่ของคุณตามกฏหมาย ส.ป.ก.ซึ่งผูกพันหน่วยงานคุณด้วย และมักจะบอกว่า พวกนี้เป็นนายทุนไปแย่งพื้นที่ป่า แล้วทำไมพวกนายทุนที่คุยกับอุทยานรู้เรื่อง ยังอยู่ได้ไม่รู้กี่ที่
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า คำถามที่ต้องตอบให้ได้ก่อนว่า พื้นที่ที่พิพาทกันอยู่ใครเป็นผู้บริหารจัดการตามกฎหมาย ถ้าเป็นพื้นที่ที่ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาไปแล้ว ต้องถือว่าไม่ใช่ของอุทยานอีกต่อไป สิ่งที่ตนกังวลก็คือ อยู่ดี ๆ ตีฆ้อง ร้องป่าวอยู่เจ้าเดียวและบอกว่าข้าพเจ้ารักป่า แล้วคนอื่นที่ทำผิดหมด ไม่น่าจะใช่วิธีที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการนำที่ดินของรัฐมาปฏิรูปที่ดิน ระบุว่า กฎหมายปฏิรูปที่ดินมีบทบัญญัติมาตรา 26 ให้อำนาจ ส.ป.ก. ในการนำเอาที่ดินของรัฐหลายประเภทมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน และยังกำหนดยกเว้นให้การนำเอาที่ดินมานั้นไม่ต้องเพิกถอนสภาพตามกฎหมายอื่นเสียก่อนเพราะการปฏิรูปที่ดินต้องการความรวดเร็วที่จะช่วยเหลือผู้ไร้ที่ทำกิน จึงตัดขั้นตอนที่จะทำให้ล่าช้าออกไป อย่างไรก็ดี ส.ป.ก. จะมีอำนาจนำเอาที่ดินมาก็ต่อเมื่อได้ประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว ที่ดินของรัฐแต่ละประเภทมี ดังนี้
1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือโดยทั่วไปเรียกว่าที่สาธารณประโยชน์ที่พลเมืองเลิกใช้ร่วมกันแล้ว เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น หากอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและพลเมืองมิได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไปแล้ว ถ้าที่ดินแปลงนั้นมีความเหมาะสมต่อการประกอบเกษตรกรรม ก็อาจถูกถอนสภาพจากการเป็นที่สาธารณประโยชน์และ ส.ป.ก. นำเอามาปฏิรูปที่ดินได้
2. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือโดยทั่วไปเรียกว่า ที่ดินหวงห้าม เช่น ที่สงวนหวงห้ามทหาร เป็นต้น ที่ดินเหล่านี้เป็นที่ราชพัสดุซึ่งกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง เป็นผู้ดูแล หากที่ดินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและกระทรวงการคลังยินยอมให้ปฏิรูปที่ดิน ก็ถือว่าที่ดินนั้นถูกถอนสภาพจากการเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ต้องถอนสภาพตามกฎหมายที่ราชพัสดุ และ ส.ป.ก. มีอำนาจนำมาปฏิรูปที่ดินได้
3. สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า เช่น ที่ดินจำแนกออกจาก เขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ถ้าอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. มีอำนาจนำมาปฏิรูปที่ดิน
ที่ดินของรัฐแต่ละประเภทมี ดังนี้
1. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือโดยทั่วไปเรียกว่าที่สาธารณประโยชน์ที่พลเมืองเลิกใช้ร่วมกันแล้ว เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น หากอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและพลเมืองมิได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไปแล้ว ถ้าที่ดินแปลงนั้นมีความเหมาะสมต่อการประกอบเกษตรกรรม ก็อาจถูกถอนสภาพจากการเป็นที่สาธารณประโยชน์และ ส.ป.ก. นำเอามาปฏิรูปที่ดินได้
2. สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือโดยทั่ว
ไปเรียกว่า ที่ดินหวงห้าม เช่น ที่สงวนหวงห้ามทหาร เป็นต้น ที่ดินเหล่านี้เป็นที่ราชพัสดุซึ่งกรมธนารักษ์กระทรวงการคลัง เป็นผู้ดูแล -หากที่ดินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและกระทรวงการคลังยินยอมให้ปฏิรูปที่ดิน ก็ถือว่าที่ดินนั้นถูกถอนสภาพจากการเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ต้องถอนสภาพตามกฎหมายที่ราชพัสดุ และส.ป.ก. มีอำนาจนำมาปฏิรูปที่ดินได้
3. สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า เช่น ที่ดินจำแนกออกจาก
เขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ถ้าอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. มีอำนาจนำมาปฏิรูปที่ดิน
4. ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเมื่อประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน ผลของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในแปลงที่ ส.ป.ก. นำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยไม่ต้องเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ