การเกิดแผลเบาหวาน

การเกิดแผลเบาหวาน

อาการ แผลเบาหวาน ( Diabetic Ulcer ) เป็นภาวะแทรกซ้อนพบมากที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น มีวิธีการสังเกตอาการแผลเบาหวานด้วยตาเปล่าได้  คือ หากพบของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นผิดปกติไหลออกมาจากผิวหนัง และผิวหนังมีสีหรือลักษณะที่เปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี เพราะอาจทำให้แผลเสี่ยงต่อการเน่าและติดเชื้อได้  ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์แล้ว แพทย์อาจไม่สามารถระบุได้ว่า แผลดังกล่าวเป็นแผลเบาหวานหรือไม่ เนื่องจากลักษณะของแผลอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน ดังนั้นแพทย์อาจต้องซักประวัติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนอื่นเพิ่มเติม

ทั้งนี้การป้องกันแผลเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานป้องกันการเกิดแผลเบาหวานได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต อาทิ งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมระดับไขมันในเลือด ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงจนเกินไป และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมไปถึงระมัดระวังไม่ให้เกิดแผล โดยเฉพาะที่เท้า ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

- ล้างเท้าให้สะอาดทุกวัน

- ตัดเล็บเท้าอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้ยาวหรือตัดสั้นจนเกินไป

- พยายามให้เท้าแห้ง และมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ

- ซักถุงเท้าที่สวมใส่บ่อย ๆ

- ดูแลเท้าให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ หากมีตาปลาหรือบริเวณที่มีหนังด้านควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา

- สวมรองเท้าที่พอดีกับเท้า และสวมใส่สบาย

อีกทั้งยังควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ หากมีอาการชาโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือสูญเสียความรู้สึกบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาทางรับมือกับอาการเหล่านั้น และป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง

บทความโดย :  พญ. พุฒินาท ลิ้มสุวรรณ  แพทย์ประจำศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์ศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า ชั้น 10 โทร. 02-836-9999 ต่อ11001-2