"Conversion Rate" คืออะไร ช่วยเสริมยอดขายธุรกิจออนไลน์ได้จริงหรือไม่?
Conversion Rate คืออะไร มีความสำคัญในการสร้างยอดขายผ่านเว็บไซต์ธุรกิจออนไลน์ได้จริงไหม ต้องทำอย่างไร และมีประโยชน์อะไรบ้าง? ติดตามอ่านได้จากบทความนี้
ในบทความนี้ NerdOptimize จะมาพูดถึงรายละเอียดคอนเทนต์ CRO ตั้งแต่วิธีการ ขั้นตอนการทำ และรวมแหล่งเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ CRO ให้ทุกคนเข้าใจถึงหลักการ
Conversion Rate Optimization (CRO) คืออะไร?
CRO หรือ Conversion Rate Optimization คือการปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคอนเทนต์ในเว็บไซต์ธุรกิจให้มียอดปฏิสัมพันธ์จากการกดปุ่มคลิก CTAs (Call to Action) มากขึ้น เมื่อผู้บริโภคเข้ามาเยี่ยมชมและคลิก CTAs เพื่อติดต่อใช้สินค้าและบริการมาก ก็จะถือว่ามียอด Conversion มากขึ้น เป็นผลดีกับธุรกิจ
การทำ CRO มีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้าง Landing Page หน้าหลักเว็บไซต์ ด้วยการใช้แหล่งอ้างอิงจากประวัติพฤติกรรมของผู้ชมบนเว็บ ปรับเปลี่ยนดีไซน์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย CRO จึงเป็นเครื่องมือเพิ่มประสบการณ์เข้าชมเว็บไซต์ในด้านเชิงบวก ที่ส่งผลให้เกิดการสร้างยอดขายอย่างต่อเนื่อง
การทำ Conversion Rate Optimization สำคัญไหม
การใส่ใจทำ CRO เพื่อเพิ่มยอด Conversion มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวเนื่องจากการสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภคจากการปฏิสัมพันธ์บนเว็บไซต์ จะเป็นแนวทางช่วยค้นหาวิธีการเพิ่มรายได้ภายในเว็บธุรกิจได้หลากหลายช่องทาง เช่น ถ้ายอด Conversion Rate มาจาก Websearch มาก ก็ต้องออกแบบเว็บด้วยการทำ SEO (Search Engine Optimization) ให้ลิงก์เว็บหน้าหลักถูกค้นพบเป็นอันดับแรกใน Websearch หรือการดีไซน์ปุ่มคลิก CTAs ดูน่าดึงดูด ชวนให้โฟกัสเป็นจุดแรก จะช่วยให้มียอด Conversion Rate มากขึ้น
ข้อดีของการทำ Conversion Rate Optimization
ประโยชน์ของการทำ CRO มี 6 ข้อ ดังต่อไปนี้
- ผู้ชมได้รับประสบการณ์ที่ดี (User Experiences) ในการรับชมเว็บไซต์ และอาจทำให้พวกเขากลายเป็นลูกค้าประจำแบรนด์ได้
- วิธีทำ CRO ร่วมกับกลยุทธ์ การทำ SEO ช่วยทำให้ผู้ชมที่กำลังใช้ Websearch อย่าง Google ค้นหา และมีความสนใจใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์แบรนด์ สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น
- การปรับความเร็วบนเว็บไซต์ (Loading Speed) ช่วยให้การท่องเว็บของผู้ชมได้รับการเพลิดเพลินชมคอนเทนต์ได้ไม่มีสะดุด
- โครงสร้างในเว็บไซต์มีองค์ประกอบ Layout ที่ดี ช่วยทำให้ยอด Conversion Rate ดีขึ้นตามไปด้วย
- สามารถนำยอด Conversion ปัจจุบันมาทำการวิจัยเพื่อปรับปรุงโครงสร้างในการทำ แคมเปญใหม่ เพื่อให้ได้ยอด Conversion Rate ในอนาคตที่ดีมากขึ้น
- สร้างรายได้ ชื่อเสียง ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้ในระยะยาว
ปรับเว็บไซต์อย่างไรให้ได้ Conversion Rate สูงขึ้น? ขั้นตอนการทำ CRO
การทำ CRO ปรับเว็บไซต์อย่างไร ถึงจะได้ Conversion Rate ตามที่คาดหวัง ส่วนนี้มีกลยุทธ์เพิ่มยอด Conversion ด้วย 4 กลยุทธ์เด็ด ที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ ดังนี้
1. Research : ค้นหาปัจจัย ประเด็นสาเหตุที่ยอด Conversion ตกลง
การวิจัย (Research) เป็นวิธีการศึกษายอด Conversion Rate ในเว็บไซต์ธุรกิจ เพื่อประเมินค่า KPI ในเว็บไซต์ว่ายอดกดคลิกจากผู้เข้าชมในปัจจุบันมีอัตราปฏิสัมพันธ์ที่สูงหรือต่ำแค่ไหน โดยสาเหตุหลักๆ ที่ส่งผลกับยอด Convertion สามารถเกิดขึ้นได้จาก 4 ปัจจัย ได้แก่
- โครงสร้างการจัดวางเว็บไซต์มีการจัดวางที่ซับซ้อน ยากที่จะรับชมคอนเทนต์ในเว็บต่อ จึงทำให้ผู้ชมเลือกที่จะปิดเว็บออกไป
- รูปแบบการนำเสนออย่างรูปภาพ คลิปวิดีโอ หรือปุ่มคลิกแบนเนอร์ CTAs ไม่สามารถดึงดูดความสนใจให้กับผู้ชมได้ดีมากพอ
- อัตราความเร็วในการเข้าชมเว็บมีความล่าช้าเกิน 3 วินาที อาจทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกเบื่อหน่าย จึงปิดหน้าเว็บหนีไปเข้าชมเว็บไซต์อื่นแทน
- กลุ่มเป้าหมายนิยมชมเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์ไร้สายอย่างสมาร์ทโฟนมากขึ้น จึงทำให้ประสบการณ์ดูเว็บไซต์ที่ไม่รองรับการเข้าชมผ่านสมาร์ทโฟน ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่พวกเขาได้เลย
2. Hypothesis : ตั้งโจทย์ตัวแปรที่จะทำการทดลอง
การตั้งสมมติฐาน (Hypothesis) คือการตั้งแบบจำลองการปรับปรุงเว็บไซต์สำหรับเตรียมการทดสอบ Layout แบบใหม่ในการวางรูปแบบหน้าเว็บแต่ละจุด โดยส่วนใหญ่จะทำสมมติฐานการปรับปุ่ม CTAs เป็นแบบ Sticky bar, หน้า Banner อันแรกสุด หรือด้านล่างสุด แล้วเปรียบเทียบกันว่าผู้เข้าชมมีอัตราการกด CTAs ตรงส่วนไหนเป็นพิเศษ
ซึ่งการตั้งสมมติฐานจำเป็นต้องมีแบบทดลองขั้นต่ำ 2 แบบ ในการประเมิน เพื่อทำการชี้วัดว่าแบบทดลองเวอร์ชันไหนมียอด Conversion Rate ที่มีประสิทธิภาพมากสุด
3. A/B Testing : กำหนดตัวแปรในการทดลอง
การทดลองทำ A/B Testing เป็นการทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพเว็บไซต์ใหม่ทั้ง 2 เวอร์ชัน เป็นแบบ A ที่ดีไซน์แบบเดิม กับแบบ B ที่ปรับเปลี่ยน Layout ใหม่ให้เป็นไปตามการตั้งสมมติฐาน อย่างเช่นการให้ปุ่มคลิก CTAs เป็นแบบ Stikcky bar
จากนั้นตั้งจำนวนประชากรสำหรับการเข้าชมเป็นจำนวนเท่าๆ กันให้เข้าชมเว็บไซต์แต่ละแบบ เพื่อดูประสิทธิภาพของเว็บดีไซน์ทั้งสองตัวว่า มียอด Conversion Rate ที่เพิ่มขึ้นเท่าเดิม หรือน้อยลงมากแค่ไหน
4. Analyze : สรุปผลผลการทดลองตัวแปร
การวิเคราะห์ผลการทดลอง (Analyze) เป็นการดูดัชนีวัดผลจากการทดลองทำ A/B Testing ในระยะเวลาขั้นต่ำประมาณ 1 เดือน ว่า เว็บดีไซน์แบบไหนตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้า และเป็นการทำ CRO ที่เหมาะกับเว็บไซต์ของเรามากที่สุด
ถ้าดีไซน์แบบ B ที่เป็นแบบใหม่ มียอด Conversion Rate สูงกว่าแบบเก่า สามารถนำผลการชี้วัดนี้ไปตั้งค่าปรับเว็บใหม่ได้เลย แต่หากผลทดลองพบว่าดีไซน์แบบใหม่ทั้ง 2 แบบ ไม่มียอด Conversion Rate เพิ่มขึ้นหรือลดลง อาจต้องกลับไปหาสาเหตุปัญหาในขั้นตอนที่ 1 ใหม่อีกรอบ เพื่อค้นหาต้นเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ค่า Conversion ต่ำลง
ปรับเว็บไซต์อย่างไรให้ได้ Conversion Rate สูงขึ้น?
การปรับ Conversion rate แบบง่ายๆ ที่สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ได้ทันที โดยไม่ต้องทำการค้นคว้า มีเคล็ดลับ ดังนี้
- การปรับดีไซน์ปุ่มคลิก Call To Action ให้ดึงดูดความสนใจแก่ผู้ชม เกิดความรู้สึกถูกกระตุ้น โน้มน้าวให้เกิดการซื้อขายมากขึ้น
- การปรับความเร็วของเว็บไซต์ให้แสดงผลรวดเร็วภายใน 3 วินาที ช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บสามารถเพลิดเพลินกับการรับชมเว็บไซต์ได้มากขึ้น
- การปรับรูปแบบการเข้าชมตามอุปกรณ์ของผู้ชม เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์
- การเพิ่มช่องกรอกข้อมูล (Lead Form) เช่นช่องกรอกอีเมลให้ลูกค้าทิ้งช่องทางติดต่อเพื่อรับข่าวสารเพิ่มเติมได้เร็วที่สุด
- การปรับโครงสร้างหน้าเว็บไซต์ทั้งหมด (Site Structure) ให้ลูกค้าสามารถเข้ารับชมหน้าเว็บอื่นๆ ได้สะดวกรวดเร็ว
Case Study : เพิ่มยอดขาย ด้วยการทำ CRO
ยกตัวอย่าง แบรนด์ PearlsOnly ร้านขายเครื่องประดับออนไลน์ในเมืองฮิวสตันของรัฐเท็กซัส ผู้เชี่ยวชาญการขายอัญมณีประดับต่างๆ โดยเน้นที่การขายไข่มุกเป็นพิเศษ PearlsOnly เป็นแบรนด์ที่ใส่ใจการบริการและปรับปรุงแบรนด์ให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย แต่กลยุทธ์ CRO ไม่สามารถได้ยอดขายตามเป้า ทั้งๆ ที่ปล่อยแคมเปญตลอด
จากที่นักวิเคราะห์ได้ศึกษาเว็บไซต์ของแบรนด์ดังกล่าวพบว่า ช่องทางการชำระเงินในเว็บมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป ทำให้ลูกค้าไม่อยากจ่ายเงินและปิดหน้าเว็บไป จึงทำให้ทางแบรนด์ PearlsOnly ได้ปรับปรุงช่องชำระเงินให้มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ มีความเสถียรมากขึ้น ลูกค้าจ่ายเงินได้ง่ายขึ้น ทำให้ผลลัพธ์ของแบรนด์ มียอดขายเพิ่มขึ้น 10% หลังทำ CRO ปรับโครงสร้างเว็บไซต์
Posts navigation คือ
ตัวช่วยนำทางผู้ชมและชี้แจงว่าหน้าปัจจุบันที่กำลังรับชมอยู่คือ คอนเทนต์เกี่ยวกับอะไร ซึ่งตัว Navigation สามารถเป็นไกด์นำทางรับชมเว็บไซต์ และเป็นผู้ช่วยประจำเว็บไซต์รอรับฟังคำถามและสิ่งที่ต้องการค้นหาในเว็บจากผู้ชมได้เสมือนกับเป็นพนักงานประจำร้าน Offline ดีๆ นี่เอง
ตัวอย่างเครื่องมือในการทำ Conversion Rate Optimization
แนะนำ 3 เครื่องมือ ช่วย Boost up กลยุทธ์ CRO ได้ยอดตามเป้า ดังนี้
- Google Optimize เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ได้แบบรวดเร็ว ทำให้สามารถเข้าใจภาพรวมการทำงานเว็บไซต์ธุรกิจในปัจจุบัน ในรูปแบบ Big Picture พร้อมทดสอบเนื้อหาเว็บไซต์ด้วยการทดลองทำ A/B Testing หลายตัวแปรได้ในการวัดผลครั้งเดียว นอกจากนี้ ยังมีออปชันปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับผู้ชม สร้างประสบการณ์เข้าชมเว็บที่ดีให้กับผู้เข้าชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้ การทดสอบสามารถแสดงผลได้ในเวลาไม่กี่วินาที ทำให้ได้ผลสรุปการทำ CRO จาก Google Optimize ในเวลาสั้นๆ
- Optimizely เว็บไซต์จัดการเนื้อหากิจกรรม แคมเปญให้มีโครงสร้างที่ดี เหมาะสำหรับแบรนด์ธุรกิจประเภท B2B B2C ที่มีช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลาย เครื่องมือตัวนี้สามารถจัดวางแคตตาล็อกออนไลน์ในระบบหลังบ้านให้เรียบร้อยได้เป็นอย่างดี เรื่องการจัดการข้อมูลต้องยกให้ Optimizely ที่เดียว
- VWO (Visual Website Optimizer) เว็บไซต์จำลอง A/B Testing ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์การทดลองตามสถิติโดยที่ไม่ต้องลงมือสร้างเว็บใหม่เพื่อทดลองเอง ตัวระบบสามารถติดตามการทดลองได้แบบเรียลไทม์ ดูการโต้ตอบของผู้เข้าชมเว็บไซต์ในภาพจำลองได้ อย่างการกดคลิกซ้ำ ความถี่ในการคลิก และการกดปุ่ม CTAs อื่นๆ VWO จึงถือว่าเป็นเครื่องมือที่ควรมี สำหรับผู้ที่ต้องการทำ CRO อย่างมืออาชีพ
สรุป
การเพิ่มประสิทธิภาพการทำ Conversion Rate Optimization ช่วยทำให้ธุรกิจในโลก E-commerce เติบโตได้ในระยะยาว นอกจากจะสร้างประสบการณ์เข้าชมที่น่าประทับใจให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ยังสามารถเพิ่มโอกาสปิดการขาย และทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้กับมาหาแบรนด์อีกด้วย ดังนั้นการทำ CRO จึงเป็นการปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจอย่างยั่งยืน