ซีพีเอฟยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ขนส่งลูกกุ้ง เดินหน้าจ้างงานชุมชน - ดูแลลูกค้าไม่สะดุดช่วงโควิด-19

ซีพีเอฟยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ขนส่งลูกกุ้ง เดินหน้าจ้างงานชุมชน - ดูแลลูกค้าไม่สะดุดช่วงโควิด-19

เข้มงวดความปลอดภัยตลอดกระบวนการขนส่งลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักลูกกุ้งส่งถึงมือลูกค้า  พร้อมเดินหน้าดูแลชุมชน  สร้างงาน สร้างอาชีพ

 
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ  เข้มงวดความปลอดภัยตลอดกระบวนการขนส่งลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักลูกกุ้งส่งถึงมือลูกค้า  พร้อมเดินหน้าดูแลชุมชน  สร้างงาน สร้างอาชีพ  ทำให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง ช่วงโควิด-19        
นายบุญธรรม กังแฮ  รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ  กล่าวว่า  ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยส่งมอบให้ผู้บริโภค ซึ่งโรงเพาะฟักลูกกุ้ง เป็นต้นทางของการผลิตอาหาร มีระบบการเลี้ยงและอนุบาลลูกกุ้งที่สะอาด ปลอดจากเชื้อก่อโรค ปราศจากสารตกค้าง และมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของลูกกุ้ง รวมไปถึงความใส่ใจในขั้นตอนการขนส่งลูกกุ้ง ที่บริษัทฯจ้างงานคนในชุมชนมาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง  ทำให้มีประสบการณ์ดูแลลูกกุ้งเป็นอย่างดีระหว่างการขนส่ง  และยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ  สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะในช่วงโควิด -19  ซึ่งยังต้องมีการขนส่งลูกกุ้งให้เกษตรกร ทำให้ชุมชนที่รับจ้างขนส่งลูกกุ้งมีรายได้อย่างต่อเนื่อง  และยังเป็นการดูแลเกษตรกรที่เป็นคู่ค้ากับซีพีเอฟ  โดยเกษตรกรเหล่านี้จะรับลูกกุ้งไปลงในบ่อดิน เพื่อเลี้ยงและจำหน่ายต่อไป
" บริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนชุมชนให้มีรายได้ที่มั่นคงและเติบโตไปด้วยกัน  ซึ่งปัจจุบันโรงเพาะฟักลูกกุ้งของซีพีเอฟทั้ง  4 เขต คือ เขตภาคกลาง-ตะวันออก เขตอ่าวไทยตอนบน  เขตอ่าวไทยตอนล่าง  และเขตอันดามัน  จ้างงานชุมชนขนส่งลูกกุ้งรวมกว่า  600 คน  โดยในช่วงโควิด-19   โรงเพาะฟักฯทุกแห่ง เข้มงวดปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยของบริษัท ทั้งสถานประกอบการสะอาด คนสะอาด ดูแลคนงานและพนักงานทุกคนรวมไปถึงครอบครัวให้ปลอดภัย และดำเนินการตามมาตรการของหน่วยงานภาครัฐอย่างเคร่งครัด  " นายบุญธรรม กล่าว    
ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด -19  โรงเพาะฟักลูกกุ้งทุกแห่ง ได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติของสาธารณสุขของแต่ละจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยได้ร่วมกับสาธารณสุข จัดตรวจให้กับพนักงาน คนงาน และทีมรถขนส่งลูกกุ้งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งบริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยของบริษัท และมาตรการแนวปฏิบัติของแต่ละจังหวัดอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด -19  โรงเพาะฟักลูกกุ้งทุกแห่ง ยังได้ดูแลทีมรถขนส่งลูกกุ้ง อาทิ  โรงเพาะฟักลูกกุ้งภาคตะวันออก จ.ตราด ร่วมกับสาธารณสุขอำเภอแหลมงอบ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)บ้านธรรมชาติล่าง ตรวจคัดกรองเชิงรุก ด้วย  RT-PCR (SWAB) ให้กับทีมรถขนส่งลูกกุ้ง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านธรรมชาติล่าง โดยจัดตรวจให้ทีมรถขนส่งลูกกุ้งอย่างสม่ำเสมอ   โรงเพาะฟักลูกกุ้งตะวัน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา   โรงเพาะฟักลูกกุ้งโคกกลอย 2 และ3 และโรงเพาะฟักลูกกุ้งพรหมเทพ  จ.ภูเก็ต  ดำเนินการตามแนวปฏิบัติของจังหวัด สำหรับผู้ที่เดินทางเข้า-ออกพื้นที่ โดยต้องมีหนังสือรับรองความจำเป็นในการเดินทาง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์  ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด -19   และเมื่อเดินทางกลับเข้าพื้นที่ ต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ที่รับรายงานตัว เป็นต้น  
 
นายณรงค์วิทย์  ตรีเทพ หรือ เห็ด  วัย 46 ปี อาชีพรับจ้างขับรถขนกุ้งของโรงเพาะฟักลูกกุ้งปะทิว จังหวัดชุมพร  กล่าวว่า เป็นคนในพื้นที่ตำบลบางสน ซึ่งอยู่ห่างจากโรงเพาะฟักลูกกุ้งปะทิว ประมาณ 4 กิโลเมตร เริ่มต้นรับจ้างขับรถมาตั้งแต่อายุ  28 ปี ซึ่งตอนนั้นโรงเพาะฟักลูกกุ้ง เพิ่งเปิดดำเนินงานในพื้นที่ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังยึดอาชีพนี้อยู่ เพราะทำให้มีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและแม่ และคนในชุมชนอีกหลายๆ ที่รับจ้างขนส่งลูกกุ้ง ก็มีอาชีพที่มั่นคง มีงาน มีรายได้ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด -19  อีกส่วนหนึ่งเป็นคนในชุมชนที่ซีพีเอฟรับเข้าทำงานอื่นๆ ทั้งนักวิชาการ แม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย ผมคิดว่าคนในชุมชนก็ได้ประโยชน์ด้วย  ส่วนตัวคงยึดอาชีพนี้ต่อไป
"ในช่วงสถานการณ์โควิด -19 โรงเพาะฟักลูกกุ้ง ใช้มาตรการควบคุมความปลอดภัยอย่างเข้มงวด รวมไปถึงผู้ที่รับจ้างขนส่งลูกกุ้ง ที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด อาทิ  ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สวมถุงมือ มีเจลแอลกอฮอล์ในรถ ขั้นตอนก่อนเข้าโรงเพาะฟักต้องทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อโรค และจำกัดรถที่จะเข้าไปรับลูกกุ้ง ไม่ให้เข้าไปแออัด " ผู้รับจ้างขับรถขนส่งลูกกุ้งให้โรงเพาะฟักกล่าว
นายจำเริญ  จันท์เณร หรือ เริญ  อายุ 50 ปี อาชีพรับจ้างขับรถขนส่งลูกกุ้ง ของโรงเพาะฟักลูกกุ้งปะทิว มา 5 ปีแล้ว เล่าว่า เป็นคนตำบลชุมโค ซึ่งห่างจากโรงเพาะฟักลูกกุ้งประมาณ 3-5 กิโลเมตร ก่อนหน้านี้ เคยทำงานบริษัทเอกชน แต่ช่วงเศรษฐกิจไม่ดี มีการเลออฟพนักงาน จึงกลับมาหางานทำที่บ้าน ประกอบกับแม่อยู่คนเดียว ไม่มีคนดูแล ตอนที่ตัดสินใจกลับมาหางานทำที่บ้าน ก็กังวลเพราะตนก็อายุเยอะแล้ว ต้องขอบคุณซีพีเอฟที่ให้โอกาส ให้งาน ให้อาชีพ และทำให้มีรายได้เลี้ยงตัวเองและดูแลครอบครัว พื้นที่บ้านเราเมื่อก่อน ไม่มีใครมีอาชีพเป็นหลักแน่นอน พอซีพีเอฟเข้ามาเปิดโรงเพาะฟักลูกกุ้ง คนในชุมชนมีงานทำ รวมทั้งผมด้วย และผมก็ยังแนะนำให้ญาติพี่น้องมารับจ้างขนส่งลูกกุ้งด้วย ยิ่งในช่วงโควิด-19 เราก็ยังมีรายได้จากการขนส่งลูกกุ้ง แต่วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไปบ้าง เพราะเราต้องป้องกันความปลอดภัยของตัวเอง และทางโรงเพาะฟักลูกกุ้ง มีมาตรการป้องกันความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
นางสาวมาลิน ธนะประสพ อายุ 49 ปี อาชีพรับจ้างขับรถขนส่งลูกกุ้ง ของโรงเพาะฟักลูกกุ้งภาคตะวันออก จ.ตราด อาศัยอยู่ในพื้นที่ต.บางปิด ห่างจากโรงงาน  4 กิโลเมตร  ทำมาแล้ว  18 ปี กล่าวว่า  เดิมมีอาชีพทำสวนยางเป็นหลัก แต่พอมาทำอาชีพรับจ้างขนส่งลูกกุ้ง ตอนนี้กลายมาเป็นอาชีพหลักแทนแล้ว เพราะมีรายได้ต่อเนื่อง สร้างงานให้คนในชุมชนได้มาก  ประมาณ 40 % ของคนในชุมชน ได้งานจากซีพีเอฟ ลูกสาวเพิ่งจบด้านเกษตรเพาะเลี้ยง ก็ได้งานที่ซีพีเอฟเหมือนกัน  รักซีพีเอฟ เหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เป็นอาชีพมั่นคง และเป็นอาชีพที่เราส่งต่อให้ลูกหลานได้
   
นายพุทธรักษา โพธิมณี อายุ 38  ปี อาชีพรับจ้างขับรถขนส่งลูกกุ้ง ของโรงเพาะฟักลูกกุ้งภาคตะวันออก จ.ตราด ทำมาแล้ว  8 ปี อาศัยอยู่ ต.คลองใหญ่ เล่าว่า แต่ก่อนทำสวนเป็นอาชีพหลัก และอยากจะมีรายได้เสริม จึงมารับจ้างขับรถขนส่งลูกกุ้ง แต่ตอนนี้ทำอาชีพรับจ้างขนส่งลูกกุ้งเป็นอาชีพหลักแล้ว รู้สึกดีที่เรามีอาชีพที่มั่นคง มีงานประจำทำ ดีใจที่ซีพีเอฟเข้ามาตั้งโรงเพาะฟักลูกกุ้ง ทำให้คนในชุมชนมีงานทำ ทั้งรับจ้างขนส่งลูกกุ้ง คนสวน แม่บ้าน หรือแม้แต่เด็กที่เรียนจบใหม่ หรือยังไม่จบ ก็มาทำงานกับโรงเพาะฟักลูกกุ้งของซีพีเอฟ  ./