“เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบางขวน”พลิกฟื้น...ทะเลสาบสงขลา แหล่งอาหารสำคัญชาวบ้าน
ฟากฝั่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุงที่อยู่ติดทะเลสาบสงขลา ที่บ้านบางขวน ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน สุรสิทธิ์ สุวรรณโร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 และชาวบ้านในพื้นที่กำลังร่วมกันดำเนินการเรื่อง “เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้านบางขวน” ซึ่งเป็นต้นแบบด้านทรัพยากรชายฝั่ง
ขณะที่อีกฝากฝั่งหนึ่งของจังหวัดที่อยู่ติดทะเลสาบสงขลา ที่บ้านบางขวน ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน สุรสิทธิ์ สุวรรณโร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 และชาวบ้านในพื้นที่กำลังร่วมกันดำเนินการเรื่อง “เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้านบางขวน” ผู้ใหญ่สุรสิทธิ์ เล่าว่า พื้นที่ของหมู่ที่ 6 อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลสาบสงขลา แม้มีเพียง 20 %ที่ยึดอาชีพประมงชายฝั่ง แต่แทบทุกครัวเรือนจะอาศัยทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งอาหารสำคัญ ด้วยการ “ออกทะเล”ไปหาปลา
ทว่า ช่วงราว 10 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่ชาวบ้านสามารถหาปลาได้จากริมชายฝั่ง กลายเป็นต้องออกทะเลไปไกลเกือบ 10 กิโลเมตร จึงจะได้ปลา ทำให้เพิ่มต้นทุนจากการที่ต้องใช้น้ำมันในการแล่นเรือ และจับปลาได้ในปริมาณที่น้อย ซึ่งชาวบ้านเริ่มรับรู้ว่า “วิกฤติ วางกัดหรือภาษากลางเรียกวางอวนไม่ได้ ไม่มีปลาให้หาแล้ว” เมื่อราวปี 2556-2557 เริ่มมีการพูดคุยเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยใช้โอกาสการประชุมหมู่บ้านแต่ละเดือนแจ้งว่า “บ้านเรามีทะเล แต่ทรัพยากรน้อยลง เพราะไม่มีการจัดการที่ดี” สร้างแรงกระตุ้นให้ชาวบ้านช่วยกันฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาให้กลับมามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม
ปี 2558 เกิดเป็นมติ 2 หมู่บ้านในพื้นที่หมู่ 6 ที่เห็นพ้องต้องกันที่จะกำหนด “เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้านบางขวน” ระยะจากริมตลิ่งออกไปในทะเลสาบ 500 เมตร โดยแบ่งเป็น 2 โซน คือ โซนที่ 1 ห้ามทำประมงด้วยเครื่องมือทุกชนิด เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลและขยายพันธุ์ปลา และโซนที่ 2 อนุโลมให้สามารถใช้เครื่องมือขนาดเล็กหาปลาเพื่อยังชีพเป็นมื้ออาหารในครอบครัวได้
อาสาสมัครประมงบ้านบางขวนกว่า 15 คน ยังใช้เวลาว่างร่วมกันทำ “บ้านปลา” ไว้กลางทะเล เพื่อให้ปลามาอาศัยเป็นแหล่งอนุบาลปลาด้วย นอกจากนี้ จะมีการต่อยอดด้วยการชักชวนชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงที่อยู่ริมทะเลสาบให้ร่วมอนุรักษ์ด้วย เช่นในพื้นที่อ.บางแก้ว และอ.เขาชัยสน และอนาคตจะให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ริมทะเลสาบของจ.พัทลุง
“หลังจากมีการอนุรักษ์ ปัจจุบันมีปลาเพิ่มจำนวนมากขึ้น ปลาที่เคยหายากกลับมามีมากขึ้น เช่น ปลาดุกทะเล ปลาลูกจีบ ปลากระบอกที่มีขนาดเท่าแขน หรือปลาบางชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน ก็มีเข้ามาอยู่ในพื้นที่ เช่น ปลากุเลา และแม้จะออกไปไม่ไกลจากชายฝั่งมากนักก็สามารถจับปลาได้แล้วทำให้ลดต้นทุนในการออกทะเลแต่ละครั้ง”ผู้ใหญ่สุรสิทธิ์ กล่าว
นายไพฑูรย์ ทองสม คณะทำงานNode Flagship พัทลุง กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกเป้าหมาย 3 ประเด็นในระยะแรกของพัทลุงว่า จ.พัทุลง ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองรองที่ภาครัฐให้การสนับสนุนลำดับต้นๆของประเทศ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มุ่งหวังมาชม วิถีวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ซึ่งถ้าหากไม่พัฒนาในส่วนนี้ให้ม่ความพร้อมก็จะกระทบต่อด้านอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยว
“เราให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตคน เพราะคนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีอัตราสูง จึงต้องขับเคลื่อนเรื่องอาหาร เพราะอาหารเป็นปัจจัยของการเกิดโรคต้างๆ ซึ่งการขับเคลื่อน 1 ปีที่ผ่านมาเกิดพื้นที่ต้นแบบการผลิตอาหารปลอดภัย สอดคล้องกับการประกาศพัทลุงเมืองเกษตรอินทรีย์ โดยสร้างโมเดลพื้นที่ต้นแบบผลิตบ้าวอินทรีย์ได้มากกว่า 100 ไร่”นายไพฑูรย์กล่าว