เช้านี้ เชียงใหม่อากาศแย่ 'ฝุ่นPM2.5' พุ่งติดอันดับ 12 ของโลก
รายงานสถานการณ์ค่าฝุ่นพิษ PM 2.5 ในประเทศไทย ช่วงเช้า ณเวลา 07.20 น. พบค่าฝุ่นพิษพุ่งสูงที่จังหวัดเชียงใหม่ วัดค่าฝุ่นได้ 157 ส่วนกรุงเทพฯ วัดค่าฝุ่นได้ 144 ยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน
เมื่อเวลา 07.20 น. ข้อมูลจากแอปพลิเคชั่น Air Visual ระบุว่า สภาพอากาศและค่าฝุ่นพิษของประเทศไทย ตรวจพบค่าฝุ่น PM2.5 มากที่สุดที่ “จังหวัดเชียงใหม่” ค่าฝุ่นพุ่งสูงถึง 157 (PM 2.5 อยู่ที่ 66.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ติดอันดับ 12 ของเมืองที่อากาศแย่ที่สุดในโลก โดยระบุว่าคุณภาพอากาศอยู่ในระดับ “มีผลกระทบต่อทุกคน”
ส่วนกรุงเทพมหานคร ตรวจพบว่าค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ที่ 114 (PM 2.5 อยู่ที่ 41 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) โดยระบุว่าคุณภาพอากาศอยู่ในระดับ “มีผลกระทบต่อผู้ป่วยหรือผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ” และติดอันดับ 24 ของเมืองที่อากาศแย่ที่สุดในโลก
ทั้งนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) คือระบบสำหรับการรายงานความรุนแรงของระดับคุณภาพอากาศ โดยระดับ 0-50 แสดงถึงอากาศดี ระดับ 51-100 ปานกลาง 101-150 ไม่ดีต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มที่อ่อนไหว 151 – 200 ไม่ดีต่อสุขภาพ 201 – 300 ไม่ดีต่อสุขภาพมาก และ 301 – 500 เป็นอันตราย
ด้าน กรมควบคุมมลพิษ มีข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ Air4thai.pcd.go.th ระบุว่า สถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
สารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 46 - 69 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) เกินมาตรฐาน คุณภาพอากาศอยุ่ในระดับ "เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ" ได้แก่ พื้นที่บริเวณแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี, ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน, แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ, ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน, ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี, ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง, แขวงพญาไท เขตพญาไท, แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง, ต.นครปฐม จ.นครปฐม, ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี, ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี, ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี , ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ, ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ, ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ, ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร, ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
ส่วนพื้นที่ที่มีอากาศดี คุณภาพของอากาศอยู่ในระดับ "ปานกลาง" ได้แก่ พื้นที่บริเวณเขตบางนา, เขตดินแดง, เขตยานนาวา, เขตจอมทอง, เขตราษฎร์บูรณะ, ถนนพญาไท เขตราชเทวี, เขตวัฒนา, เขตคันนายาว, เขตมีนบุรี, เขตหนอกจอก, เขตธนบุรี, เขตบางบอน, เขตทุ่งครุ, เขตพระนคร, เขตห้วยขวาง, เขตลาดพร้าว, เขตสะพานสูง, เขตบางกรวย
ด้าน ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (pm2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร รายงานค่าฝุ่นประจำวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 07.00 น ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 46-79 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 32 พื้นที่ คือ
เขตพระโขนง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพญาไทหน้าแฟลตทหารบก เขตวังทองหลาง เขตปทุมวัน เขตสาทร เขตยานนาวา เขตสวนหลวง
เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตบางกะปิ เขตลาดกระบัง เขตคลองสาน เขตบางกอกใหญ่ เขตบางกอกน้อย เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตภาษีเจริญ เขตหนองแขม เขตบางบอน เขตทุ่งครุ เขตคลองเตย เขตบางซื่อ เขตหลักสี่ เขตบึงกุ่ม เขตคลองสามวา เขตบางแค เขตบางขุนเทียน
------------------------
อ้างอิง: