ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ช่วยโลก ลดคาร์บอนฯ

ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ช่วยโลก ลดคาร์บอนฯ

เป็นเวลากว่า 10 ปี ที่บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ในเครือ เอสซีจี ร่วมขับเคลื่อนมาตรการใช้ปูนซีเมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาปรับใช้กระบวนการผลิต ด้วยการส่งเสริมการผลิตปูนที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์

โดยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้มีการร่วมลงนามกับ 16 ภาคี เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้ได้ 300,000 ตัน CO2 ภายในปี พ.ศ. 2565 

แม้ช่วงที่ผ่านมา ตลาดปูนซีเมนต์อาจจะไม่เติบโตเท่าที่ควร แต่งานภาครัฐยังคงเติบโต ด้วยโปรเจคต่างๆ เช่น งานรถไฟ ทางด่วน รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ฯลฯ รวมถึงงานของภาคประชาชน และฝั่งภาคเอกชน ที่เป็นงานโครงสร้างตึกสูง งานหมู่บ้าน ศูนย์การค้า ฯลฯ รวมถึงการหล่อท่อ เสา คาน ดังนั้นการใช้ปูนซีเมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเรื่องทีี่ภาคการก่อสร้างสามารถช่วยโลกได้ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)นั่นเอง   

160102697515  

 

โดยเมื่อเร็วๆนี้ “สยามรัฐ สุทธานุกูล” Chief Marketing Officer – Marketing and Branding, Cement and Construction Solution Business ธุรกิจซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ได้เปิดเผยถึงความร่วมมือในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปล่อยกาศเรือนกระจก สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์: มาตรการทดแทนปูนเม็ด” (Together to the World) ว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ดีมานด์ส่วนใหญ่ มาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นถนน สะพาน รถไฟ ฯลฯ

โดยสัดส่วนภาครัฐ และ ภาคประชาชน 85% เอกชน 15% ซึ่งเอสซีจี ตระหนักเรื่องสภาวะแวดล้อม จึงได้่พัฒนาปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ให้สามารถทดแทนปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ (Portland Cement) ได้สัดส่วน 1 ต่อ 1  โดยปูนไฮดรอลิก 1 ตัน สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 0.05 ตัน CO2 หากผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกจำนวน 20 ล้านตัน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 1 ล้านตัน CO2

160102697522

โดยขบวนการผลิตจะครอบคลุมทั้ง Value Chain และ Supply Chain ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตั้งแต่ในโรงงาน โดยใช้เชื้อเพลงชีวมวล (Biomass) ทดแทนเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตปูนซีเมนต์ ปัจจุบัน สามารถใช้สิ่งต่างๆ ทดแทนถ่านหินได้ 18% ของความร้อน ในอนาคตยังมีแผนจะใช้แหล่งพลังงานอื่นๆ (Energy Planet) ที่มาจากเศษฟาง เศษอ้อยอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการ Waste Heat Generator (WHG) นำลมร้อนที่ได้จากกระบวนการผลิตมาปั่นไฟฟ้านำกลับมาใช้ใหม่ ลดการใช้พลังงานถึง 38% รวมถึง หลัก Green Logistic สำหรับรถที่ออกไปส่งของให้ลูกค้า ต้องไม่ให้มีรถตีเปล่ากลับมา เพื่อไม่ให้สูญเสียเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์ โดยปูนซีเมนต์สูตรไฮบริดของเอสซีจี ได้ มาตรฐาน มอก. 2594-2556 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) รายแรกของไทย ในปี 2556 และได้รับการรับรอง Green Label, Carbon Reduction Label, Carbon Footprint Reduction, Carbon Footprint Product และ SCG Green Choice

160102697538

“เทคโนโลยีที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต ส่วนผสมต่างๆ เป็นส่วนของการวิจัยและพัฒนา (R&D) เราพัฒนาขึ้นมาเอง โดยทดสอบประสิทธิภาพว่าใช้ได้จริง ทดแทนได้จริง เมื่อคอนกรีตเซตตัว 28 วัน จะแข็งแรงกว่า คอนกรีตทั่วไป 5% สามารถทนทานต่อการขัดสีได้มากกว่าคอนกรีตทั่วไป 15% ขณะเดียวกัน ลดการแตกร้าวจากการสูญเสียน้ำจากการหดตัวเมื่อคอนกรีตเซตตัวแห้งได้กว่า 20%” สยามรัฐ กล่าว

160102697495

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป เราปรับปรุงสูตรตลอด ให้เข้ากับความต้องการลูกค้าทุกกลุ่ม เริ่มเข้าสู่งานภาครัฐให้มากขึ้นเนื่องจากเป็นเซกเมนต์ใหญ่ โดยราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้ มุมมองของลูกค้า ทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชน ในการตัดสินใจซื้อ สิ่งแรกที่เขาจะมอง คือ ใช้ได้เหมือนปูนที่เคยใช้หรือไม่ ดังนั้น ต้องสร้างความมั่นใจ ทำให้เห็นว่าสามารถช่วยโลกได้ด้วยการใช้ปูนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ในปี 2562 ที่ผ่านมา สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ให้ได้ 1 แสนตัน CO2 จากการจำหน่าย ปูนสูตรไฮบริดไปมากกว่า 2 ล้านตัน