'Go Green Sandbox' บ่มเพาะคนรุ่นใหม่สายกรีน คัดแยก รีไซเคิล กลับมาใช้ใหม่

'Go Green Sandbox' บ่มเพาะคนรุ่นใหม่สายกรีน คัดแยก รีไซเคิล กลับมาใช้ใหม่

การ 'แยกขยะ' ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองว่ายุ่งยาก แต่หากสามารถทำได้เป็นกิจวัตรประจำวัน จะทำให้ขยะถูกทิ้งอย่างถูกที่ เกิดกระบวนการรีไซเคิล สู่การหมุนเวียนทรัพยากร

ข้อมูลจาก กรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า สถานการณ์การจัดการขยะในประเทศไทย ในปี 2563 ปริมาณขยะชุมชน 27.35 ล้านตัน ขยะที่กำจัดถูกต้อง 11.19 ล้านตัน ขยะที่กำจัดไม่ถูกต้อง 4.23 ล้านตัน โดยในปี 2562 คนไทยสร้างขยะอยู่ที่ 1.18 กิโลกรัม ต่อคนต่อวัน รวมถึงขยะอาหารที่ปริมาณมากและเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน

  • สร้่างการรับรู้ เริ่มที่องค์กร

ปัจจุบัน หลายบริษัทฯ ที่เริ่มให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม มีการเชิญชวนพนักงาน จัดกิจกรรม สร้างการรับรู้ นำไปสู่การปรับพฤติกรรม เริ่มจากการคัดแยกขยะ เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในอนาคต “บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)” เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ริเริ่มให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยเริ่มจากการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อให้พนักงานในองค์กร รู้จักการ แยกขยะ ต้นเหตุหลักในเรื่องสภาพแวดล้อม เพราะความเชื่อที่ว่าหากแก้ที่ต้นเหตุได้ สภาพองค์รวมของสังคมจะดีขึ้น

162938220693

“พัชรา ทวีชัยวัฒนะ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารลูกค้าและสื่อสารองค์กร บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เริ่มจากการสร้างความรับรู้ในองค์กรก่อน ถัดมา คือ การสร้างถังขยะที่แยกชัดเจนเชิญองค์กรที่เป็นผู้รู้เกี่ยวกับการชั่งขยะเข้ามาช่วยด้วย รวมถึงปรึกษา Chula Zero Waste เกี่ยวกับการขนขยะ ดูไปถึงกระบวนการส่งต่อ ชั่งน้ำหนัก และเก็บข้อมูล

เมื่ออยากให้ทุกคนแยก ก็ต้องมีที่ให้เขาทิ้งได้สะดวก แยกรีไซเคิลได้ รีไซเคิลไม่ได้ ขยะเศษอาหารแยกอีกถัง ทุกอย่างหมุนเป็นปุ๋ย ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยบุคคลที่สำคัญที่สุด ของขั้นตอนการแยกขยะ คือ แม่บ้าน ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับการอบรมให้ความรู้ ขยะที่รีไซเคิลได้ ขายได้ รายได้ให้แม่บ้าน รวมถึงพนักงาน สามารถนำเอาขยะที่บ้านมาได้”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

  • แยกขยะได้กว่า 5 หมื่นกิโลกรัม

หลังจากเริ่มโครงการมา 1 ปี ปัจจุบันพนักงานเปลี่ยนพฤติกรรมได้กว่า 16% เป้าหมายในปีนี้ คือ 50% ของพนักงาน หรือประมาณ 600 คน จากพนักงานทั้งหมด 1,200 คน  สร้างรายให้แม่บ้านกว่า 70,000 บาท ขยะที่แยกได้ 50,000 กว่ากิโลกรัม ขยะรีไซเคิล 26,000 กิโลกรัม ขยะรีไซเคิล ไม่ได้ 24,000 กิโลกรัม และมีเศษขยะอินทรีย์ ขยะเปียก ขยะเศษอาหาร 1,000 กิโลกรัม นำไปหมัก และทำปุ๋ย ส่วนขยะที่สามารถนำไปทำเชื้อเพลิงต่อได้ 400-500 กิโลกรัม

  • Go Green Sandbox” เฟ้นหาคนรุ่นใหม่สายกรีน

ล่าสุดร่วมมือกับ School of Changemakers สรรหาคนรุ่นใหม่ที่มีหัวใจสีเขียว สร้างสรรค์ไอเดีย และใช้อลิอันซ์ อยุธยา เป็น Sanbox ทดลองไอเดียกับพนักงาน 1,200 คน โจทย์คือเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานอย่างยั่งยืน ทั้งในออฟฟิศและอยู่บ้าน เปิดรับไอเดียจากคนภายนอกและอยากให้พนักงานมีส่วนร่วม 

เกิดโครงการ Go Green Sandbox” ขึ้น เพื่อเฟ้นหาคนรุ่นใหม่ โชว์ไอเดียจัดการขยะ ต่อยอดการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมไทยตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ทุกทีมที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับการพัฒนาและเรียนรู้ พร้อมไปกับโค้ชที่ปรึกษาและโค้ชอาสาสมัครประจำทีมที่เป็นพนักงาน อลิอันซ์ อยุธยา ผ่านระบบออนไลน์

162938220678

  • Pitching ออนไลน์ คัดเหลือ 5 ทีมสุดท้าย

และล่าสุด ได้เปิดเวทีครั้งแรกกับการ Pitching ผ่านระบบออนไลน์ นำเสนอไอเดียเกี่ยวกับการจัดการขยะ จาก 10 ทีมสตาร์ทอัพด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อคัดสรรเหลือเป็น 5 ทีมสุดท้าย รับเงินทุนตั้งต้น สูงสุด 20,000 บาทต่อทีม เพื่อนำเอาไอเดียต้นแบบมาทดลองจริง ณ สำนักงานของ อลิอันซ์ อยุธยา

“ต้องการให้ อยุธยา อลิอันซ์ เป็น Sanbox หากไอเดียเวิร์คสำหรับพนักงานของ อลิอันซ์ อยุธยา แสดงว่าต้องเวิร์คกับประเทศไทยทั้งประเทศ สำหรับเอเชียแปซิฟิค และระดับโลกด้วย นี่คือความตั้งใจ เพราะการลดโลกร้อนไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ” พัชรา กล่าว

  • บ่มเพาะคนรุ่นใหม่เริ่มต้นทำเพื่อสังคม

ด้าน “พรจรรย์ ไกรวัตนุสสรณ์” ผู้ก่อตั้ง School of Changemakers ในฐานะองค์กรที่ช่วยเพาะบ่มและให้คำปรึกษาสำหรับผู้สนใจและมีความตั้งใจริเริ่มทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคม กล่าวว่า ความท้าทายที่สุดในการเริ่มโปรเจคเพื่อสังคม ข้อแรก คือ ประเทศไทยยังคาดการสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่แก้ปัญหาสังคม หากมองในสิงคโปร์ หรือประเทศอื่นๆ เขาสามารถให้คนรุ่นใหม่เริ่มโปรเจคได้ 70% แต่บ้านเรา 1% ยังไม่ถึง เพราะการสนับสนุนไม่พอ

จากการสำรวจความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ในความสนใจที่จะแก้ปัญหาสังคม พบว่า กว่า 90-97% ตอบว่าสนใจ แต่การที่เห็นปัญหาและลุกขึ้นมาสร้างโปรเจคหลายคนไม่รู้จะเริ่มอย่างไร

“ดังนั้น สิ่งที่คาดหวังระยะสั้น อยากให้น้องๆ ทุกคนที่ได้รับโอกาสทำเต็มที่แม้จะมีข้อจำกัดจากสถานการณ์โควิด-19 ส่วนระยะยาวที่คาดหวัง คือ อยากเห็นโมเดลของคนตัวเล็ก ถูกนำมาใช้ให้สามารถลุกขึ้นมาแก้ปัญหาได้” พรจรรย์ กล่าวทิ้งท้าย

  • เปิดไอเดีย 'คนรุ่นใหม่สายกรีน'

สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบ 5 ทีม สุดท้าย ได้แก่ ทีม Chaimeang-Tech , ทีม Wastelander , ทีม TO-GREENQUALITY , ทีม DARK HORSES และ ทีม Happicup

162938211341

“พุทธสุดา วานิชดี” ตัวแทนจาก ทีม Chaimeang-Tech เผยไอเดียว่าพนักงานส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการแยกขยะแต่ส่วนน้อยปฏิบัติจริง ขาดแรงจูงใจ จึงสร้าง Line OA เพื่อสื่อสารและ PR กิจกรรมจัดทำคู่มือการคัดแยกขยะ กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนจากขยะเป็นแต้ม แลกสินค้าบริการ พร้อมเชิญชวนร้านค้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ จัดกิจกรรมพิเศษ ตั้งเป้า 4 เดือนข้างหน้า สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม 10% หรือ 30 คนจากผู้ใช้ระบบ 300 คน

162938211342

“นันทพร ตีระพงศ์ไพบูลย์” ตัวแทนจาก ทีม Wastelander อธิบายว่า โควิด-19 ทำให้พนักงาน WFH และมีข้อจำกัดในการเลือกซื้ออาหารกลางวัน จำเป็นต้องสั่งเดลิเวอร์รี่ ทำให้สร้างขยะไม่ต่ำกว่า 3 ชิ้น จัดการขยะไม่ถูกวิธี จึงสร้างระบบสนับสนุนให้พนักงานลดการใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง นำเสนอเดลิเวอร์รี่ แบบใช้ภาชนะหมุนเวียนได้ มีที่ล้างทำให้พนักงานมีภาชนะอาหารแบบ reusable สร้างแรงจูงใจ เป้าหมาย คือ พนักงาน 50 คนผูกปิ่นโตกับสั่งอาหารและสั่งซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้ง

162938211349

ปิดท้ายด้วย “ภูภูมิ วิเศษสมบัติ” ตัวแทนจากทีม TO-GREENQUALITY ใช้หลักคิดที่ว่า พนักงานไม่มีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการคัดแยกขยะว่าจะแก้ปัญหาขยะได้จริง มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะแบบผิดๆ เช่น แยกแล้วถูกเทรวมในรถขยะ หรือขาดความรู้ในการแยกขยะ จึงทำแอปฯ สื่อการสอนโดยออกแบบให้เหมาะกับความสนใจ ให้คนคัดแยกขยะพร้อมกับแลก reward ส่วนลดราคาอาหาร หรือเป็น KPI บริษัท ทำระบบตรวจสอบความถูกต้องของขยะ เป้าหมาย เพื่อให้พนักงานสนใจในการแยกขยะอย่างถูกต้องและคงวิถีชีวิตเดิมระหว่างการทำงาน พนักงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง 80% และมีจำนวนพนักงานที่สนใจแยกขยะเพิ่มขึ้น