ส่องสถานการณ์ "โควิด-19" แต่ละภาค จังหวัดไหนต้องจับตา

ส่องสถานการณ์ "โควิด-19" แต่ละภาค จังหวัดไหนต้องจับตา

ศบค. เผย ภาพรวมติดเชื้อโควิดในไทยลดลง ขณะการติดเชื้อในแต่ละภูมิภาค ยังมีบางจังหวัดที่ต้อง "เฝ้าระวัง" และจับตา ผลสำรวจชี้กักตัวนักท่องเที่ยวนาน ความต้องการในการเดินทางลดลง ย้ำร่วมปฏิบัติมาตรการ สร้างความปลอดภัยทั้งในประเทศ และความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว

วันนี้ (10 พ.ย. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล “พญ.สุมนี วัชรสินธุ์” ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กล่าวถึง ภาพรวมติดเชื้อประเทศลดลงชัดเจน โดยต่างจังหวัด 62% ชายแดนใต้ 18% กทม.ปริมณฑล 20%

 

  • ทิศทางการติดเชื้อในแต่ละภูมิภาค

 

ภาคกลาง ทิศทางลดลง เฝ้าระวังจากการติดเชื้อหลักหน่วยและหลักสิบ ได้แก่ สิงห์บุรี และชัยนาท

ภาคตะวันออก ทิศทางลดลง ที่เริ่มทรงๆ คือ ปราจีนบุรี และ สระแก้ว

ภาคตะวันตก เฝ้าระวังประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งทิศทางยังไม่ลดลงชัดเจน

ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จังหวัดที่ยังทรงๆ คือ สุราษฎร์ธานี และพัทลุง ขณะที่นครศรีธรรมราช ยอดผู้ติดเชื้อลดลงจากจุดสูงสุด แต่ต้องเฝ้าระวังต่อไป ขณะที่ 4 จ.ชายแดนใต้ ยังต้องจับตา สงขลา ปัตตานี

ภาคใต้ฝั่งอันดามัน จังหวัดแนวโน้มลดลง คือ ระนอง ภูเก็ต ขณะที่ ตรัง สตูล พังงา กระบี่ ยังคงมีทิศทางทรงๆ และมีรายงานผู้ติดเชื้อหลักสิบ

ภาคเหนือตอนบน จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง ยังไม่ลด คือ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน และเชียงราย

ภาคเหนือตอนล่าง เฝ้าระวัง จ.พิษณุโลก

ภาคอีสานทั้งตอนบนและตอนล่าง ส่วนใหญ่เกือบทุกจังหวัดมีแนวโน้มที่ลดลง

 

  • "เปิดประเทศ" 9 วัน ติดเชื้อ 0.10%

 

สำหรับผลการดำเนินงาน การรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานสุวรรภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม ภูเก็ต และ สมุย วันที่ 1-9 พ.ย. 64 สะสม 28,021 ราย พบติดเชื้อ 29 ราย คิดเป็น 0.10%

 

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้เปิดประเทศ 10 วัน ติดเชื้อ 0.10% ในขั้นตอนต่างๆ ในการเข้าประเทศ มีความสำคัญ ศบค. เน้นย้ำในการตรวจเอกสารหลักฐาน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องละเอียด รอบคอบ และการคัดกรองด้วย RT-PCR โดยโรงแรมต่างๆ ที่ได้ยกระดับมาตรฐาน SHA+ ซึ่งให้รายงานผลการตรวจภายใน 6 ชม.

 

ส่องสถานการณ์ \"โควิด-19\" แต่ละภาค จังหวัดไหนต้องจับตา

  • ผลสำรวจชี้ เพิ่มวันกักตัว ลดความต้องการเข้าประเทศ

 

ทั้งนี้ การศึกษาจาก HiTAP หรือ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ โดยมีการวิเคราะห์จากผลกรณีศึกษา ระหว่างไทย กับ สิงคโปร์ พบว่า ยิ่งระยะเวลาการกักตัวนาน ยิ่งทำให้ความต้องการในการเดินทางที่ลดลง โดยเพิ่มวันกักตัว 1 วัน ทำให้นักท่องเที่ยวต้องการเดินทางน้อยลงร้อยละ40 และนักธุรกิจต้องการเดินทางน้อยลงร้อยละ 24

 

“ดังนั้น จากการกักตัวที่ลดลง ดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ ให้เดินทางเข้ามามากขึ้น เป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคนไทยว่า นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจะปลอดภัย”

 

ส่องสถานการณ์ \"โควิด-19\" แต่ละภาค จังหวัดไหนต้องจับตา

 

 

  • สร้างความมั่นใจให้ "นักท่องเที่ยว" 

 

ในขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาก็ต้องการความมั่นใจ หลายรายที่ติดตามสถานการณ์ต่างๆ ในไทยก่อนเดินทางเข้ามา จะเห็นว่ามีนักท่องเที่ยวประเภทแซนด์บ็อกซ์ จะมีการวางแผนการเดินทางที่ชัดเจน ว่าจะไปที่ใด และกลุ่มที่มากกว่า แซนด์บ็อก คือ Test & Go คือ ไม่กักตัว เดินทางไปไหนก็ได้เมื่อผลเป็นลบ

 

ดังนั้น เราต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักเดินทางที่เข้ามาเช่นกัน ว่าเราปลอดภัย มีการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ทางด้านสาธารณสุข ที่เข้มงวด มีการจัดการ COVID Free setting และมีการบริหารจัดการแบบมีความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะทยอยมาในฤดูกาลท่องเที่ยว การเปิดกิจการต่างๆ ต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดและเข้มงวด เพื่อให้การเปิดประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นเพื่อนำมาสู่การผ่อนคลายมาตรการที่จะตามมาเป็นระยะ ซึ่งเรามีการประเมินสถานการณ์ทุก 2 สัปดาห์

  • ข้อแนะนำ ATK

 

สำหรับการตรวจ ATK ผลเป็นบวกขณะนี้อยู่ที่ 4.61% ซึ่งการตรวจ ATK เป็นการคัดกรองแบบทราบผลไว ดำเนินการได้เอง มีข้อสรุปของการตรวจ ATK จากอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ถึงข้อแนะนำการตรวจ ATK สำหรับประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการ ในศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางด้านแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข มีกลุ่มที่ควรใช้ ATK คือ

 

1. กลุ่มที่มีความเสี่ยง ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ หลังจากสัมผัสโรค 3-5 วัน ตามความจำเป็น

2. ผู้ที่มีอาการต้องสงสัยติดเชื้อทางเดินหายใจ อาการไข้ หรือวัดอุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว

3. เฝ้าระวังการติดเชื้อในสถานประกอบการ สถานบริการ หรือสถานที่ต่างๆ (COVID Free setting) โดยมีความถี่ของการตรวจเป็นไปตามข้อแนะนำในเบื้องต้นสามารถตรวจได้ทุกสัปดาห์หรือถี่กว่านั้น ตามความจำเป็น

4. หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น สามารถใช้ได้ทุกจังหวัด (ทุกระดับพื้นที่สถานการณ์ )

 

ส่องสถานการณ์ \"โควิด-19\" แต่ละภาค จังหวัดไหนต้องจับตา

 

  • หลักเกณฑ์จัดงานลอยกระทง

 

จากข้อคำถามที่ว่า ศบค. อนุญาตให้จัดลอยกระทงหรือไม่ พญ.สุมนี กล่าวว่า จากที่ประชุม ศบค.ใหญ่ล่าสุด มีมติออกมา สามารถจัดเทศกาลลอยกระทงได้ ดังนี้

1. หากเป็นการจัดงานขนาดเล็ก ในครอบครัว หรือการจัดงานขนาดเล็ก สามารถดำเนินการได้ โดยยึดถือมาตรการ Universal Prevention หรือ DMHTT ตามที่ สธ. กำหนด

2. การจัดงานเทศกาลขนาดใหญ่ (Event) ได้แก่ งานลอยกระทงที่จัดโดย จ.สุโขทัย กทม. เป็นต้น ให้ขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. และให้ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด / กทม. กำกับดูแลการจัดงานในภาพรวมในพื้นที่ ให้เป็นไปตามความเรียบร้อย

3. ให้ยึดถือแนวทางและมาตรการรณรงค์ ที่กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือร่วมกัน แล้วได้กำหนดแนวปฏิบัติ นำเสนอ ศบค. เห็นชอบแล้ว เมื่อ 29 ต.ค. 64 รายละเอียดเพิ่มเติม สายด่วนวัฒนธรรม 1765 , เฟซบุ๊ค : กองเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม

 

ท้ายนี้ ทุกมาตรการที่ออกมาจากศบค. ต้องมีการติดตาม และวันศุกร์ที่ 12 พ.ย. 64 จะเป็นการติดตามครบ 2 สัปดาห์ จะมีการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ขอให้พี่น้องประชาชน ได้ติดตามข้อสรุปและมติที่ประชุมในวันศุกร์นี้

 

ส่องสถานการณ์ \"โควิด-19\" แต่ละภาค จังหวัดไหนต้องจับตา

ส่องสถานการณ์ \"โควิด-19\" แต่ละภาค จังหวัดไหนต้องจับตา

ส่องสถานการณ์ \"โควิด-19\" แต่ละภาค จังหวัดไหนต้องจับตา