Meta เดินเกมขับเคลื่อนบทบาทสตรีในไทย

Meta เดินเกมขับเคลื่อนบทบาทสตรีในไทย

Meta พบว่า มีธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นผู้นำเพิ่มมากขึ้น แต่ปัจจุบันมีธุรกิจในประเทศไทยเพียง 64% เท่านั้น ที่มีการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและวัฒนธรรมการทำงานในหลายๆ ด้านของไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักยังรวมถึงผู้ประกอบการหญิงซึ่งต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้อยู่รอดได้ในช่วงเศรษฐกิจที่ท้าทาย

อย่างไรก็ดี ผู้หญิงยังคงยืนอยู่แนวหน้าของการพัฒนาเศรษฐกิจ ผลการศึกษาล่าสุดจาก Meta พบว่า มีธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นผู้นำเพิ่มมากขึ้นบน Facebook เกือบ 50% ขณะที่ธุรกิจใหม่บน Instagram มีผู้หญิงเป็นเจ้าของเพิ่มขึ้นมากกว่า 17% นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาด

ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง (DE&I: Diversity, Equity and Inclusion) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ทำงานที่มีการนำแนวปฏิบัติด้านการจ้างงานและการจัดการแบบใหม่มาใช้เพื่อเอาชนะความมีอคติโดยไม่รู้ตัว 

รายงานความหลากหลาย (Diversity Report) ปี 2564 ของ Facebook ระบุว่า พนักงานทั่วโลกของ Meta เป็นผู้หญิง 36.7%  โดย 24.8% ทำงานด้านเทคโนโลยี 59.6% ทำงานด้านที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และ 35.5% อยู่ในตำแหน่งผู้นำ

ข้อมูลจาก UN Women ในปี 2564 ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้หญิงไทยดำรงตำแหน่งผู้นำระดับสูง 32% เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 27% แต่บริษัท แกรนท์ ธอนตัน จก. ได้พบว่ามีธุรกิจในประเทศไทยเพียง 64% เท่านั้น ที่มีการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ 

แพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director Facebook ประเทศไทย : Meta กล่าวว่า Meta เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความหลากหลายและส่งเสริมเรื่องการยอมรับในความต่างมากที่สุด และตั้งเป้าไว้ว่าพนักงานทั่วโลกจะประกอบไปด้วยผู้หญิง กลุ่มคนด้อยโอกาส คนเชื้อชาติผสม คนพิการ และทหารผ่านศึก 50% ภายในเวลาห้าปี นับจากปี 2562

ที่ผ่านมา จัดทำโครงการสนับสนุนผ่านเครื่องมือ โครงการ และกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลและทักษะสำหรับธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้หญิงสามารถเชื่อมต่อกันได้และเติบโตก้าวหน้าต่อไป

สำหรับในประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการหลายโครงการที่ช่วยสนับสนุนกลุ่มผู้หญิง รวมถึงวัฒนธรรมภายในองค์กรเอง เช่น Women@Meta ที่เชื่อมโยงพนักงานทุกเพศที่มีภูมิหลังแตกต่างกันเข้าด้วยกัน, โครงการเพิ่มทักษะธุรกิจด้านดิจิทัล Boost with Facebook  ได้เข้าถึงผู้คนกว่า 4,000 คนทั่วประเทศ

แคมเปญ #BuyFromHer ซึ่งเป็นแคมเปญ 1 เดือนเพื่อเฉลิมฉลองวันสตรีสากลในปีนี้และกระตุ้นให้คนเลือกซื้อสินค้าจากธุรกิจที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของในประเทศไทย Meta เดินเกมขับเคลื่อนบทบาทสตรีในไทย นอกจากนี้ ร่วมมือกับองค์กรชุมชน 18 องค์กร และหน่วยงานภาครัฐ จัดการฝึกอบรมมากกว่า 275 ครั้ง สำหรับผู้ประกอบการสตรีกว่า 20,000 รายทั่วเอเชียแปซิฟิก

“ความพยายามที่จะสร้างสถานที่ทำงานที่หลากหลายและสนับสนุนความแตกต่าง ทำให้เราสามารถขจัดเส้นแบ่งและแสดงให้เห็นว่าทุกคนรวมทั้งผู้หญิงสามารถเติบโตได้ในทุกพื้นที่ธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี”