เปิดรับสมัครอบรมวิทยากร หลักสูตร Cybersecurity ความปลอดภัยทางไซเบอร์

เปิดรับสมัครอบรมวิทยากร หลักสูตร Cybersecurity ความปลอดภัยทางไซเบอร์

เปิดรับสมัครอบรมวิทยากร หลักสูตร Cybersecurity ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในโครงการ ASEAN Cybersecurity Skilling Programe โดยมูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) ประเทศอินโดนีเซีย และ Microsoft

โครงการ ASEAN Cybersecurity Skilling Programe โดยมูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) ประเทศอินโดนีเซีย และ Microsoft มีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้ด้าน Cybersecurity หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในระดับเบื้องต้น แก่เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียน 7 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย ฟิลิปินส์ เวียดนาม และกัมพูชา

เพื่อให้มีความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพราะปัจจุบันเป็นยุคที่เราใช้ชีวิตเชื่อมโยง กับอินเทอร์เน็ตในหลากหลายมิติมาก เช่น การทําธุรกรรมออนไลน์ การซื้อของ การหาข้อมูล การติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง ดูหนัง คลิป โทรทัศน์ ฟังเพลง และอื่นๆอีกมากมาย

ทั้งหมดนี้ หากการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์อ่อนแอ ก็อาจทําให้ผู้ประสงค์ร้ายเข้ามาทําอันตรายต่อเราและข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้ ตั้งแต่การเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลของเราที่เราไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย เช่น เพศวิถี อายุ สัญชาติ ศาสนา จนอาจนําไปสู่การขโมยข้อมูล ของเราไปใช้ อาทิ รหัสบัตร ATM ข้อมูลบัตรเครดิต การสวมรอยเป็นเรา ไปจนถึงการเรียกค่าไถ่เพื่อแลกกับการไม่ เปิดเผยข้อมูลของเราในทางธุรกิจความปลอดภัยทางไซเบอร์ของในระดับองค์กรภาคธุรกิจที่มขี้อมูลของลูกค้าเป็น จํานวนมากเมื่อถูกขโมยข้อมูลย่อมจะทําให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจได้

สําหรับในประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม (Social Technology Institute) ภายใต้ มูลนิธิกองทุนไทย เป็นองค์กรร่วมงานของมูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) เพื่อดําเนินโครงการนี้
กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากการดําเนินโครงการในพื้นที่ทั่วประเทศไทย มีดังนี้

1) เยาวชนที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยี 

2) เยาวชนชนเผ่า

3) เยาวชนผู้พิการ

4) เยาวชนจากชุมชนแออัด

5) เยาวชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT)

โดยมีกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้

1) จัดอบรมวิทยากร จํานวน 80 คน โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมจากมูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรมีทักษะความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับเบื้องต้นและ สามารถเป็นวิทยากรนําความรู้ไปถ่ายทอดแก่กลุ่มเป้าหมายของตนได้

2) จัดอบรมแก่ผู้สนใจทั่วไป จํานวน 4,000 คน ทั่วประเทศ (คาดว่าจะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2565)

ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นวิทยากร หากมีความพร้อมและประสงค์ที่จะดําเนินการจัดอบรมในหน่วยงานของ ตนเอง ก็สามารถทําได้โดยสถาบันจะอนุญาตให้ใช้วิดีโอ และสื่อการสอนที่สถาบันฯ ได้จัดทําขึ้นได้ รวมถึงคําแนะนําจากวิทยากรของทางสถาบันฯ และหากมีจํานวนผู้เข้าอบรมเป็นจํานวนมาก ทางสถาบันฯ ยินดีให้การ สนับสนุนการจัดอบรมในหน่วยงานท่านได้ เช่น ค่าสถานที่

ทั้งนี้ สถาบันฯจะพิจารณาการสนับสนุนเป็นรายๆไป เพื่อขยายความรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่กล่าวมาข้างต้น สถาบันฯจะจัดอบรมวิทยากรด้านความปลอดภัย ทางไซเบอร์หลักสูตรภาษาไทยขึ้น โดยจะเปิดรับผู้สนใจเข้าอบรมวิทยากรตามหลักสูตรที่ออกแบบโดยมูลนิธิ อาเซียน (ASEAN FOUNDATION) ผู้เข้าอบรมจะได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบียนและไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และเปิดรับ จํานวน 80 คน และมีคุณสมบัติ ดังนี้

1) เป็นครูผู้สอนคอมพิวเตอร์หรือนักเรียนที่มีความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

2) อาจารย์ผู้สอนด้านไอที/เทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย

3) เป็นบุคลากรด้านไอทีในองค์กรไม่แสวงหาผลกําไร

4) เป็นผู้ที่กําลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

5) เป็นผู้ที่เพิ่งสําเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย

การอบรมวิทยากรความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) จะจัดขึ้นในวันพุธ ที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00 -12.00 น. โดยวิทยากรที่เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมจากมูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION)

 

เปิดรับสมัครอบรมวิทยากร หลักสูตร Cybersecurity ความปลอดภัยทางไซเบอร์

กระบวนการเรียนการสอน

หลักสูตรการอบรมวิทยากรความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) มีระยะเวลาการเรียนจํานวน 10 ชั่วโมงสถาบันฯได้ออกแบบการกระบวนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสอดคล้องกับเวลาของผ้เูรยีน โดยมีกระบวนการอบรม ดังนี้

1. การอบรมแบบออนไลน์ในวันพุธที่26ตุลาคม2565เวลา09.00-12.00น.ซึ่งจะเป็นการบรรยาย ให้ความรู้ในภาพรวมของความปลอดภัยทางไซเบอร์ Cybersecurity และการแนะนําหลักสูตรและ วิธีการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ภายหลังการอบรมผู้เรียนจะเข้ากลุ่มในเฟสบุ๊กและหรือไลน์เพื่อเรียนผ่านชุดสื่อวิดีโอการสอนของ มูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) ที่ได้จัดทําขึ้นเป็นภาษาไทย รวมถึงการเข้ากลุ่มทาง ออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้จนครบ 10 ชั่วโมง

ขั้นตอนของการรับประกาศนียบัตรผู้เข้าอบรมสามารถเข้าทําแบบทดสอบในเว็บไซต์ของ มูลนิธิอาเซียน (ASEAN FOUNDATION) รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

หลักสูตรความปลอดภัยด้านไซเบอร์ Cybersecurity

บทที่ 1 บทนําความปลอดภัยทางไซเบอร์

  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์คืออะไร
  • แนวคิดด้านความปลอดภัยทั่วไป
  • การกําหนดสถาปัตยกรรมความปลอดภัยที่ดี
  • การเข้าถึงรหัส

บทที่ 2 ภัยคุกคามและกลยุทธ์การป้องกัน

  • สภาพแวดล้อมภัยคุกคามทางไซเบอร์
  • การควบคุมความปลอดภัยทางไซเบอร์

บทที่ 3 ความปลอดภัยของแอปพลิเคชั่น

  • Open Web Application Security Project (OWASP)
  • ช่องโหว่ ข้อบกพร่อง และจุดบกพร่อง
  • การลดและขจัดจุดอ่อนของซอฟต์แวร์

บทที่ 4 การรักษาความปลอดภัยระบบปฏิบัติการและเครือข่าย

  • การปิดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ
  • การเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเครือข่าย