ส่องยุทธศาสตร์ ‘จีเอเบิล’ บิ๊กเทคฯไทย ลุยสร้าง Tech Talent เจนใหม่

ส่องยุทธศาสตร์ ‘จีเอเบิล’ บิ๊กเทคฯไทย ลุยสร้าง Tech Talent เจนใหม่

เมื่อ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ ตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจทุกอุตสาหกรรมในไทยต้องขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยี และระบบอัตโนมัติ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนจึงมีความต้องการบุคลากรไอทีที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ

เมื่อ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น กลายเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทยต้องขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีความต้องการบุคลากรไอทีที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เข้ามาสนับสนุนงานในหลายส่วน

ตั้งแต่งานวางโครงสร้างพื้นฐานไอทีไปจนถึงงานวางระบบฐานข้อมูลและ พัฒนาแอปพลิเคชันจำนวนมาก ส่งผลให้แนวโน้มตลาดงานด้านไอทีมีความต้องการสูงมากขึ้นทุกวันเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัล

ข้อมูลจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า ไทยมีความต้องการแรงงานด้านดิจิทัลปีละ 100,000 คน แต่ระบบการศึกษาของไทยผลิตได้เพียง ปีละ 30,000 คน ทำให้ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ที่ต้องการเปลี่ยนผ่าน สู่ยุคดิจิทัล ไม่สามารถหาแรงงานด้านดิจิทัลได้เทียบเท่ากับบริษัทขนาดใหญ่

ส่องยุทธศาสตร์ ‘จีเอเบิล’ บิ๊กเทคฯไทย ลุยสร้าง Tech Talent เจนใหม่

“กมลทิพย์ สรรพศรี” รองประธานบริหารอาวุโสฝ่ายการจัดการสร้างและติดตั้งระบบ บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) เผยว่า จีเอเบิล ในฐานะ “Tech Enabler” ของประเทศผู้ให้บริการด้าน Technology Solutions ครอบคลุมระบบ Cybersecurity, Data and Analytics รวมถึงการสร้างและพัฒนา Business Application ต่างๆ ให้แก่ลูกค้าเกือบทุกอุตสาหกรรมชั้นนำในประเทศไทย จึงมั่นใจในความพร้อมและศักยภาพของทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ในแต่ละ Domain ที่จะเข้ามาช่วยสร้างไอทีเจนใหม่ให้เติบโตอย่างแข็งแรงในสายงานนี้

เปิดแผนปั้น Talent รุ่นใหม่

“เรามองว่าคน คือ ทรัพยากรไอทีที่สำคัญของเรา และเล็งเห็นถึงการเผชิญหน้ากับ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น การแข่งขันของทุกภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านไอทีในประเทศไทยจำนวนมากในปัจจุบัน”

จีเอเบิล เริ่มต้นปั้น Talent รุ่นใหม่ จากโครงการ “Tech Scoop Academy” เฟ้นหา Software Tester และ Data Engineer เน้นกลุ่ม "นักศึกษา" ที่มีความรู้ด้านไอที ชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ใช้รูปแบบการส่งหัวหน้า Business Unit ในบริษัทไปเป็นอาจารย์สอน Software Tester และ Data Engineer คลาสละ 20 คน เป็นระยะเวลา 1 ปี ทำให้จีเอเบิลมีเด็กที่ผ่านการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญของจีเอเบิลและได้เข้ามาเป็นพนักงานของจีเอเบิลเป็นกลุ่มแรก

จากนั้นก็ สานต่อโปรเจ็คถัดมา คือ “G-Freshy Project” สร้างศูนย์เรียนรู้ด้านไอทีให้เด็กจบใหม่ เพาะต้นกล้าจากเมล็ดเล็กๆ ก่อนนำต้นกล้าลงแปลงใหญ่ เน้นให้เด็กที่ผ่านการฝึกมาแล้ว เข้าทีมและลงหน้างานจริงกับพี่ๆ คนทำงาน มุ่งไปทาง Developer ก่อนเพราะตลาดมีความต้องการแรงงานสูง รวมถึงได้พูดคุยกับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

ขณะที่ จีเอเบิล ได้รับไอเดียที่น่าสนใจมาว่ามีเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้จบสายไอที (NON-IT) แต่มีความรักและตั้งใจที่อยากเติบโตด้านไอที พาตัวเอง เข้ามาเรียนรู้ที่สมาคมฯ ทีมงานจึงรับเด็กกลุ่มนี้เข้ามาฝึกร่วมกันกับกลุ่ม “G-Freshy”

ผลลัพธ์จากงานของเด็กที่ผ่านการฝึกสอนในโปรเจ็คนี้ พบว่า เด็กกลุ่มที่ไม่ได้จบสายไอที แต่มีใจรัก จะมีความกระตือรือร้น และ productivity ดีกว่า ทำให้มุมมองทีมงานจีเอเบิลเปลี่ยนไป และมีความตั้งใจปั้นเด็กกลุ่มที่ไม่ได้จบสายไอที (NON-IT) อย่างจริงจัง

โฟกัสตำแหน่งงานขาดแคลน

โครงการ “Tech Scoop Academy” ได้ถูกต่อยอด มาสู่ Tech Scoop Academy Batch#1 และ

Batch ครั้งถัดๆ มา เปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ ที่มีใจรักอยากเรียนรู้และเติบโตในสายไอทีได้เข้ามาร่วมงานกับจีเอเบิลตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปี 2565 โครงการนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มไอที ที่เป็นการนำเทคโนโลยี ด้านการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เครือข่ายการสื่อสาร การประมวลผลแบบคลาวด์ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล การพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ระดับสูง ต้องใช้ระยะเวลาศึกษา

ตำแหน่งงานกลุ่มนี้ คือ software developer, data engineer, cloud engineer ฯลฯ โดยเป็นผนึกกำลังทุกฝ่ายสำคัญในจีเอเบิลเข้ามาช่วยกันสร้างศูนย์เพาะต้นกล้าด้านไอที ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ค่าตอบแทนตลอดเวลาของโครงการ

ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ โดยนำ Agile Methodology และนวัตกรรมด้าน AI อย่าง Chat GPT เข้ามาช่วยขับเคลื่อนทั้งการวาง Framework การออกแบบหลักสูตร การสร้างความร่วมมือระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลาย (Diversity) ให้ทำงานร่วมกันได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง ทำให้เด็กรุ่นใหม่ ได้พัฒนาทักษะครบ 3 ด้านทั้ง Technical Skills, Core Competency และ Culture

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์จากการบ่มเพาะต้นกล้าจากโครงการ “Tech Scoop Academy” Batch#1 มีผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ให้เข้ามาร่วมงานกับจีเอเบิลอยู่ที่ 75% ผลลัพธ์จากการบ่มเพาะสาย Data Science & Data Engineer ใน Batch #2 มีผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้มาร่วมงานกับจีเอเบิลอยู่ที่ 80% ในส่วนของ “Tech Scoop Academy” Batch#3 ที่กำลังเปิดรับสมัครอยู่ในขณะนี้จะเป็นรับสมัครสาย Developer อีกครั้ง

ส่วนแผน Batch ในอนาคต อันใกล้ก็ตั้งใจจะรับสมัครสาย Cloud Engineer, Data Analytics รวมถึงขยาย Key Domain อื่นๆ และอาจจะ มีการร่วมมือกับ AI Engineer ในการเรียนการสอน ซึ่งตั้งเป้าเปิด Batch ไม่น้อยกว่า 2 Batch ต่อปี เพื่อเร่ง การสร้าง Tech Talent ออกมาตอบโจทย์ความต้องการแรงงานด้านไอทีในประเทศไทย