มองสถานะ AI ประเทศไทย ผ่านเลนส์ยักษ์ชิป ‘อินเทล’

มองสถานะ AI ประเทศไทย ผ่านเลนส์ยักษ์ชิป ‘อินเทล’

ยักษ์ชิป "อินเทล" มองสถานะประเทศไทย ยุคที่ AI กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดดและส่งผลกระทบในหลากหลายมิติทั้งการใช้ชีวิต ธุรกิจ รวมถึงการขับเคลื่อนประเทศ

KEY

POINTS

  • ขณะนี้ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปลดล็อกศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของ AI
  • ภายในปี 2571 AI PC จะกินสัดส่วน 80% ของอุตสาหกรรมพีซี
  • ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม AI ของไทยเติบโตต่อปี (CAGR) 43.1% ในช่วงปี 2566 ถึง 2570

ตัวเลขการลงทุนรวมถึงการเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยังเป็นไปอย่างก้าวกระโดด “ไอดีซี” คาดการณ์ว่าจากปี 2565 เป็นต้นมาการใช้จ่ายด้าน AI ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเติบโตเฉลี่ย 28.9% ต่อปี และเมื่อถึงปี 2570 มูลค่าจะขยับขึ้นไปแตะ 90,700 ล้านดอลลาร์ สัดส่วนมาจาก GenAI 23% และ AI อื่นๆ 77%

เจน เบล รองประธาน ฝ่ายการขายและการตลาด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ อินเทล แบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรม AI ในงาน “Intel AI Summit” สัมมนาใหญ่ด้าน AI ของอินเทลที่จัดเป็นครั้งแรกในประเทศไทยว่า AI จะมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขับเคลื่อนประเทศ ขณะเดียวกันช่วยแก้ปัญหาของโลก รวมถึงสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ

มองสถานะ AI ประเทศไทย ผ่านเลนส์ยักษ์ชิป ‘อินเทล’ นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนหลักของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ที่คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 ทั้งบีซีจีได้มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2571 AI PC จะกินสัดส่วน 80% ของอุตสาหกรรมพีซี

สำหรับสถานะ AI ของประเทศไทย ประเมินขณะนี้นับว่า หลายภาคส่วนมีความตระหนักรู้ ตื่นตัวที่จะใช้งาน ทั้งได้เห็นว่าโรดแมปของประเทศมุ่งสร้างการเติบโตด้วย AI อย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปลดล็อกศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของ AI สำหรับธุรกิจในทุกภาคส่วนและสำหรับผู้ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม

อ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์, บีซีจี และแมคคินซีย์คาดการณ์ว่า จากวันนี้ที่ดิจิทัลอีโคโนมีเป็นตัวจักรขับเคลื่อนกว่า 15% ของจีดีพี เมื่อถึงปี 2573 จะเพิ่มไปถึง 25%

‘ไอดีซี’ มองสถานะประเทศไทย

ผู้ให้บริการด้านการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านไอทีชั้นนำระดับโลก “ไอดีซี” คาดการณ์ว่า ตลาดซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม AI ของประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 43.1% ในช่วงปี 2566 ถึง 2570

โดยในปี 2570 คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 141.6 ล้านดอลลาร์ เป็นผลมาจากหลายปัจจัยสำคัญ อาทิ การนำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ AI แห่งชาติ (พ.ศ. 2565-2570) มาใช้ การฝึกอบรมด้าน AI แก่บุคลากรกว่า 80,000 คน และการจัดสรรงบประมาณ 1.29 พันล้านบาทเพื่อการวิจัยและพัฒนา AI

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทย โดยการเปิดตัวระบบเครือข่าย 5G และระบบบรอดแบนด์ความเร็วสูง อีกทั้งยังมีการจัดตั้งแพลตฟอร์มระดับประเทศสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง

สำหรับประเทศไทย นับว่ามีจุดแข็งจากทั้งนโยบายของรัฐบาลที่เตรียมสนับสนุนงบลงทุนกว่า 1.29 พันล้านบาทสำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาด้าน AI, ความพร้อมด้านอินฟราสตรักเจอร์ และความสนใจในการปรับใช้ AI ที่กำลังเติบโตอย่างมากในภาคธุรกิจของไทย

ทว่ายังมีความท้าทายจากการที่ขาดเฟรมเวิร์กที่ชัดเจนในการกำกับดูแล, บุคลากรขาดทักษะ, และยังคงมีปัญหาการจัดการดาต้า รวมถึงความกังวลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

โดยภาพรวม นับว่ามีปัจจัยบวกจากการวาง AI เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ระดับชาติ, การพัฒนาโครงการพื้นฐานของประเทศเพื่อรองรับ AI, นโยบาย Cloud-first, การผลักดันและพัฒนายูสเคสด้าน AI และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน มองสถานะ AI ประเทศไทย ผ่านเลนส์ยักษ์ชิป ‘อินเทล’ สำหรับแนวทางการสร้างความสำเร็จในยุคแห่ง AI จะต้องประกอบด้วย การสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ, การปรับกลยุทธ์ AI ที่เข้ากับบริบทของประเทศหรือโจทย์ธุรกิจ, การอบรมทักษะบุคลากร, การคำนึงถึงการใช้งานอย่างมีจริยธรรม, ข้อกำหนดการบริหารจัดการดาต้า, และการประเมินความเสี่ยงทั้งเชิงเทคนิค การบริหารจัดการและจริยธรรม

‘อินเทล’ ปักธง ‘AI Everywhere’

ผู้บริหารอินเทลฉายภาพว่า AI ได้แทรกซึม ไปในทุกๆ ที่ทั่วโลก ขณะนี้ทุกประเทศและทุกอุตสาหกรรมต่างแข่งขันกันเพื่อมุ่งสู่การใช้ AI

สำหรับอินเทล กลยุทธ์ด้าน AI มุ่งใช้แนวทางที่เปิดกว้าง โดยการมีส่วนร่วมกับระบบนิเวศของนักพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญ ในการลดอุปสรรคในการเข้าถึงและปลดล็อกนวัตกรรมสำหรับนักพัฒนาและลูกค้า เพื่อขับเคลื่อน AI ที่มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ และเข้าถึงได้อย่างแท้จริง

มั่นใจว่า เป็นบริษัทเดียวที่มีแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบในการนำเสนอโซลูชันแบบเปิดและแบบโมดูลาร์ เพื่อปรับปรุงต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership: TCO) ที่คุ้มค่า เข้าถึงได้ และช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเติบโตและประสบความสำเร็จในยุค AI Everywhere นี้

ขณะนี้ กำลังสร้างแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่จะผสานรวม AI เข้ากับความปลอดภัยสำหรับลูกค้าของเรา เพื่อให้ข้อมูลและโมเดล AI ทั่วทั้งศูนย์ข้อมูล คลาวด์ พีซี และ Edge มีความปลอดภัยสูงสุด ด้วยจุดยืนปัจจุบันมั่นใจว่าสามารถดึงศักยภาพของ AI ออกมาได้อย่างเต็มรูปแบบ

สร้างอนาคต ที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ปัจจุบัน อินเทลมีพอร์ตโฟลิโอ AI ที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงโซลูชัน AI ที่ขอบเครือข่าย โซลูชันแบบเปิดที่สามารถปรับขยายได้ และพอร์ตโฟลิโอซอฟต์แวร์ AI โดยมีการนำเสนอโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra และ Intel® Gaudi® 3 AI Accelerator

โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ Ultra เป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีการประมวลผล Intel 4 และยังเป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกที่ได้ใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงแบบ 3 มิติ นับเป็นโปรเซสเซอร์ที่รองรับความสามารถในการประมวลผลของ AI และช่วยประหยัดพลังงานมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเทล

ขณะที่ ตัวเร่งความเร็ว AI Intel® Gaudi® 3 มีความสามารถในการคำนวณ AI มากถึง 4 เท่า พร้อมแบนด์วิดท์หน่วยความจำเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า และมีความกว้างของเครือข่ายเพิ่มขึ้น 2 เท่า

นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับเทคโนโลยีการฝึก AI และระบบการวิเคราะห์โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) รวมไปถึงโมเดลแบบผสมผสาน (Multimodal Model)