Google เปิดเทรนด์คำค้นยอดฮิตเส้นทาง ‘สมรสเท่าเทียม’

Google เปิดเทรนด์คำค้นยอดฮิตเส้นทาง ‘สมรสเท่าเทียม’

Google เผยเทรนด์ความสนใจการค้นหา “สมรสเท่าเทียม” อีกก้าวสำคัญของสังคมไทย พบ“จดทะเบียนสมรส 2567” “ฤกษ์ดี จดทะเบียนสมรส 2567” และ “วันจดทะเบียนสมรส 2567” 
3 คำค้นหามาแรง

Google รายงานว่า หากย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงวันนี้ การค้นหา “สมรสเท่าเทียม” ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ที่สภาผู้แทนราษฎรไทยได้มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม และวันที่ 18 มิถุนายน ที่วุฒิสภามีมติรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่การค้นหาจะสูงขึ้น

Google เปิดเทรนด์คำค้นยอดฮิตเส้นทาง ‘สมรสเท่าเทียม’ หลังจากมีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ในเวลา 21.00 น. บน Google Trends แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการค้นหา “สมรสเท่าเทียม” ตั้งแต่เวลา 19.30 - 23.00 น. และอีกครั้งในช่วงเวลา 06.30 น. ของวันที่ 25 กันยายน แสดงว่าผู้คนให้ความสนใจต่อเนื่อง

 

สำหรับ จังหวัดที่เข้ามาค้นหา “สมรสเท่าเทียม” มากที่สุด 5 อันดับแรก ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ได้แก่ พะเยา, กาญจนบุรี, นนทบุรี, จันทบุรี และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ  Google เปิดเทรนด์คำค้นยอดฮิตเส้นทาง ‘สมรสเท่าเทียม’

ย้อนไทม์ไลน์ความสนใจ

เมื่อเปรียบเทียบการค้นหาบน Google Trends ย้อนหลังไป 1 ปี ในการยื่นร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม 9 สิงหาคม 2566 จนถึงวันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา 24 กันยายน 2567 จะเห็นความสนใจของคนไทยในการค้นหา “สมรสเท่าเทียม” ดังนี้

  • 9 สิงหาคม 2566: เปิดประชุมรัฐสภาใหม่ พร้อมยื่นร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม
  • 21 ธันวาคม 2566: ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระที่ 1 เข้าสู่วาระที่ 2
  • 27 มีนาคม 2567: ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระที่ 3
  • 18 มิถุนายน 2567: วุฒิสภามีมติรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
  • 24 กันยายน 2567: กฎหมายสมรสเท่าเทียมประกาศในราชกิจจานุเบกษา Google เปิดเทรนด์คำค้นยอดฮิตเส้นทาง ‘สมรสเท่าเทียม’

นอกจากคำค้นหา “จดทะเบียนสมรส” ก็พบว่า “สมรสเท่าเทียม ล่าสุด” อยู่ในการค้นหาที่เกี่ยวข้องที่มาแรงเป็นอันดับ 1

ตามมาด้วย “จดทะเบียนสมรส 2567” “ฤกษ์ดี จดทะเบียนสมรส 2567” และ “วันจดทะเบียนสมรส 2567” เป็น 3 คำค้นหามาแรง

Google เปิดเทรนด์คำค้นยอดฮิตเส้นทาง ‘สมรสเท่าเทียม’