‘หัวเว่ย’ มองเทรนด์ 5.5G ปลดล็อกศักยภาพ ‘Mobile AI’
"หัวเว่ย" ชี้ 5.5G ช่วยปลดล็อกศักยภาพของ Mobile AI มองโอกาสสำคัญสำหรับภาคธุรกิจ เปลี่ยนโฉมสู่มิติใหม่อุตสาหกรรมโทรคมนาคม
KEY
POINTS
-
เทคโนโลยี 5.5G จะเป็นปัจจัยหลักในการปลดล็อกศักยภาพของ Mobile AI
-
เครือข่าย 5.5G เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มจำนวนการเชื่อมต่อที่สามารถรองรับได้พร้อมกันอย่างสูงสุด
- 5.5G และ AI กำลังเข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
-
ยุคของ Mobile AI ที่กำลังจะมาถึงนี้ จะนำโอกาสครั้งสำคัญมาสู่อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และมีอิทธิพลต่อทศวรรษที่จะมาถึง
“ยุคของ Mobile AI ที่กำลังจะมาถึงนี้ จะนำโอกาสครั้งสำคัญมาสู่อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และมีอิทธิพลต่อทศวรรษที่จะมาถึง”
หยาง เฉาปิง กรรมการและประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีที หัวเว่ย แสดงวิสัยทัศน์ พร้อมให้ความเห็นว่า การพัฒนาเทคโนโลยี 5.5G จะเป็นปัจจัยหลักในการปลดล็อกศักยภาพของ Mobile AI
ปัจจุบัน มี 2 เทรนด์สำคัญที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของเทคโนโลยี 5.5 G และ AI อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมและนำพาสู่ “ยุค Mobile AI”
เทรนด์แรก คือ “Mobile going AI” ที่บริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่กำลังได้รับการเปลี่ยนแปลงผ่านรูปแบบธุรกิจและบริการที่ก้าวล้ำ ส่วนเทรนด์ที่สองคือ “AI going Mobile” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจขนาดใหญ่ผ่านบริการใหม่ๆ
ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์อัจฉริยะและหุ่นยนต์ โดยนายหยางระบุว่าพัฒนาเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันและสร้างโอกาสสำคัญให้กับสังคมและอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
3 อิทธิพลอุตฯ ไอซีที
เทรนด์เหล่านี้จะมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมไอซีที ใน 3 ด้าน
- ประการแรก ตัวแทน AI สำหรับบุคคล จะปรับโฉมบริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ให้เป็นไปในรูปแบบที่ทุกคนมีผู้ช่วยอัจฉริยะส่วนตัว ซึ่งหมายความว่าเครือข่ายตัวแทนAI จะต้องรองรับบริการแบบเรียลไทม์
- ประการที่สอง การขับเคลื่อนอัจฉริยะจะปรับโฉมการเดินทาง โดยทำให้ยานพาหนะกลายเป็นพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นและอัจฉริยะ ซึ่งหมายความว่าเครือข่ายยานยนต์อัจฉริยะจะต้องสามารถส่งข้อมูล (uplink) ที่มีความเร็วสูง
- ประการสุดท้าย ความอัจฉริยะที่มีการประยุกต์ใช้ทั่วไปจะถูกนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อปลดล็อกผลิตภาพใหม่และสร้างตลาด AI-หุ่นยนต์ ที่มีมูลค่า 10,000 ล้านหน่วย ซึ่งหมายความว่าเครือข่ายหุ่นยนต์ในอนาคตจะต้องมีความสามารถที่สูงขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ
พลิกโฉมวงการ 'โทรคม'
หยาง อธิบายว่า เครือข่าย 5.5G มีความสามารถในการรองรับการเชื่อมต่อ รูปแบบประสบการณ์ และบริการที่หลากหลาย ซึ่งจำเป็นสำหรับการตอบสนองต่อความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดจากตัวแทน AI ยานยนต์อัจฉริยะ และความอัจฉริยะที่มีการประยุกต์ใช้ทั่วไป ในขณะที่เครือข่ายเหล่านี้ส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาใน 5 ด้านสำคัญประกอบด้วย
- ประการแรก เครือข่าย 5.5G สามารถตอบสนองความต้องการด้านประสบการณ์ที่หลากหลายได้โดยการจัดเตรียมเครือข่ายที่มีแบนด์วิดท์สูง
เนื่องจากผู้ใช้งานมีความต้องการประสบการณ์ที่หลากหลายมากขึ้น จึงสามารถบูรณาการแถบคลื่นในย่านความถี่ต่ำกว่า 100 GHz ตามความต้องการ เพื่อให้สามารถส่งมอบความสามารถของเครือข่ายที่ยืดหยุ่น ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างประสบการณ์ที่มีหลายปัจจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เทคโนโลยี “0 Bit 0 Watt” ยังสามารถนำมาใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้อย่างยอดเยี่ยม
- ประการที่สอง เครือข่าย 5.5G สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินความคุ้มค่าในการซื้ออุปกรณ์ (TCO) เนื่องจากสามารถรองรับการเชื่อมต่อไอโอทีในทุกสถานการณ์ผ่านเครือข่ายเดียวกัน
เครือข่าย 5.5G เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มจำนวนการเชื่อมต่อที่สามารถรองรับได้พร้อมกันอย่างสูงสุด นอกจากนี้ ความสามารถของเครือข่ายที่ได้รับการพัฒนา มีความสำคัญต่อการเสริมพลังให้กับอุปกรณ์และขยายการเชื่อมต่อไอโอที ไปยังทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
มิติใหม่เครือข่ายในอนาคต
- ประการที่สาม เครือข่าย 5.5G สามารถจัดเตรียมพอร์ทัลที่เป็นเอกภาพซึ่งรองรับการรับประกันประสบการณ์ที่แตกต่างกันและการสร้างรายได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการจำเป็นต้องใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริการที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เครือข่ายหลักของ 5.5G มีความสามารถในการมอบฟังก์ชันการรับรู้เกี่ยวกับผู้ใช้ บริการ และเครือข่าย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างรายได้ที่อิงตามประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
- ประการที่สี่ เครือข่าย 5.5G สามารถจัดเตรียมการบริการพอร์ทัลที่เป็นเอกภาพซึ่งทำให้การเข้าถึง Mobile AI มีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นและรองรับบริการอัจฉริยะที่หลากหลาย
ผู้ให้บริการจำเป็นต้องใช้ศูนย์บริการ AI ที่มีอยู่บนเครือข่ายหลักของ5.5G เพื่อแบ่งปันความสามารถของเครือข่ายกับบุคคลที่สาม ซึ่งจะช่วยให้บริการอัจฉริยะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่มีราคาที่สามารถเอื้อมถึงมากยิ่งขึ้น
- ประการสุดท้าย เครือข่าย 5.5G สามารถนำโมเดลพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (Telecom Foundation Model) มาใช้เพื่อสร้างความเป็นอิสระในระดับสูงของเครือข่ายและนำไปสู่แนวคิด “0 Touch, 0 Wait, 0 Fault”
โดยโมเดลพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ช่วยให้เครือข่ายอิสระในระดับสูงพร้อมด้วยความอัจฉริยะแบบเต็มสแต็ก (full-stack intelligence)
ผ่านการให้บริการแอปพลิเคชันสองประเภท ได้แก่ ผู้ช่วยอัจฉริยะ (copilots) และตัวแทน (agents) พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลสามประเภท ซึ่งจะกำหนดแนวโน้มใหม่ในการดำเนินงานของเครือข่ายในอนาคต