AIS ยืนหนึ่ง 5G ครอบคลุมทุกภาคในไทย เนรมิตโครงข่ายลึก สูง กว้าง ไกล ครบทุกพิกัดรับเทศกาลปีใหม่
AIS โชว์ศักยภาพโครงข่าย 5G ที่ 1 ตัวจริงครบสุดทุกภูมิภาคในไทย ก้าวข้ามทุกข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ทุกด้าน ไม่ประนีประนอมกับอุปสรรค เพื่อให้คนไทยและลูกค้าสัมผัสประสบการณ์ดิจิทัล บนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง รับเทศกาลปีใหม่-ท่องเที่ยวไฮซีซัน
นายกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS กล่าวว่า ปัจจุบันนี้วันนี้ AIS มีโครงข่ายสัญญาณทั้ง 5G และ 4G ที่ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร โดยมีแนวคิดทำงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้ ลึก สูง กว้าง ไกล เชื่อมโยงเข้ากับ Ecosystem Economy ในทุกมิติ นั่นหมายความว่าทุกตารางเมตรที่โครงข่ายสัญญาณ AIS เข้าถึงจะไม่ได้สร้างประโยชน์เพียงแค่การติดต่อสื่อสารในโลกดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังต้องช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจของทั้ง 5 ภาคในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ กลางกลาง ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคใต้ อีกทั้งการพัฒนาโครงข่ายของ AIS ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อรองรับช่วงไฮซีซันในสถานที่ท่องเที่ยวของแต่ละภูมิภาค และต้อนรับ เทศกาลปีใหม่
ภาคกลาง
ในส่วนของภาคกลางพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีความท้าทายอย่างมากในการขยายโครงข่ายสื่อสาร เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างมีความหลากหลาย ทั้งความเป็นพื้นที่เมืองที่มีประชากรอาศัยหนาแน่น อีกทั้งยังมีพื้นที่ราบลุ่มที่มีการทำไร่ทำสวนของเกษตรกร มีแม่น้ำสายหลักอย่างเจ้าพระยาไหลผ่านในหลายจังหวัด นอกจากนี้ยังมีบางพื้นที่ที่มีทิวเขาและเทือกเขาสูงในอีกหลายพื้นที่เช่นกัน และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งเดินทางสะดวก สามารถเที่ยวได้แบบ One Day Trip หรือเที่ยวแบบทริปสั้นๆ ได้ ทำให้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ
ดังนั้น AIS ได้พัฒนาโครงข่ายให้มีความฉลาดและสามารถพัฒนาตัวเองได้ หรือ Self-Evolving Network (SEN) เพื่อให้ทุกคนได้มาสัมผัสธรรมชาติอันงดงามของแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น อาทิ เขากระโจม และจุดชมวิวห้วยคอกหมู จ.ราชบุรี รวมถึงจุดเช็กอินยอดฮิตอย่างถ้ำกระแซ เส้นทางรถไฟสายมรณะ, ห้วยแม่ขมิ้น, น้ำพุร้อนหินดาด, น้ำตกผาตาด และปิล็อก จ.กาญจนบุรี หรือแม้กระทั่งจุดลานกางเต็นท์ต่างๆ
ภาคตะวันออก
ถึงแม้จะมีจำนวนจังหวัดและพื้นที่ไม่มาก แต่ก็เป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีความสำคัญเพราะในแง่ของการใช้งานค่อนข้างมีความหลากหลายเนื่องจากเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลที่สำคัญของประเทศและยังเชื่อมโยงกับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่ง อีกทั้งในภูมิภาคนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ได้รับความนิยม อาทิ เกาะมันนอก จ.ระยอง, หาดลูกลม เกาะแสมสาร สัตหีบ จ.ชลบุรี, น้ำตกปางสีดา จ.สระแก้ว และวัดเขาบรรจบ รวมถึงอุทยานเขาสิบห้าชั้น จ.จันทบุรี ทำให้ที่ผ่านมา AIS ได้พัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลทั้งระบบสื่อสารและบริการดิจิทัลให้มีความครอบคลุมและแข็งแรง พร้อมเชื่อมต่อและสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคตะวันออกในทุกภาคส่วน
เนื่องจากภาคตะวันออกเป็นอีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ทั้งการเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ ทั้งทางทะเล ทางอากาศ และภาคพื้นดิน รวมถึงยังเป็นพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งที่ผ่านมา AIS ได้วางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลทั้งโครงข่าย 5G นวัตกรรม และโซลูชัน ให้มีความพร้อมต่อการเชื่อมต่อกับภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถใหม่ๆ ที่จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
ภาคอีสาน
นายกิตติ กล่าวถึงพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ซึ่งเต็มไปด้วยพื้นที่ราบสูง AIS ก็เดินหน้าทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่มากที่สุดของประเทศเทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมด ให้ตอบโจทย์การใช้งานของประชาชนในพื้นที่ทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยว ที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจภายในภาคอีสานให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ความท้าทายและลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่
"เพื่อตอบโจทย์การใช้งานได้ในทุกช่วงเวลาและรองรับปริมาณการใช้งานที่จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี ทั้งในพื้นที่ที่มีการจัดคอนเสิร์ตระดับประเทศ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ อาทิ ทุ่งกะมัง อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มรดกโลก จังหวัดอุดรธานี ผาชะนะได อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วัดป่าดงหนองตาล พิกัดสายมูแห่งใหม่ จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น หรือแม้แต่ในทุกเส้นทางการเดินทางเพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่มสามารถติดต่อสื่อสาร ใช้งานดิจิทัล ในช่วงเวลาแห่งความสุขได้อย่างเต็มที่"
ภาคเหนือ
นายกิตติ กล่าวต่อไปว่า พื้นที่ภาคเหนือ ค่อนข้างมีความท้าทายอย่างมากในการวางแผนและออกแบบโครงข่ายให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า ด้วยพื้นที่สูง ทิวเขา หรือดอยต่างๆ ที่มีความสลับซับซ้อน ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ และแหล่งพลังงาน ทำให้ทีมวิศวกรต้องใช้ความมุ่งมั่นอย่างมากในการทำงาน ประกอบการใช้พลังงานธรรมชาติอย่างโซลาร์เซล กังหันลม และไฮโดรเจน และผสมผสานระบบการกระจายสัญญาณและไมโครเวฟ ด้วย Super Cell LINK ที่จะเป็นการขยายระยะการส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงจากจุดต่อจุด ทั้งจากพื้นที่ราบและพื้นที่หลังทิวเขามาสู่พื้นที่ร่องเขาด้านล่าง เพื่อยกระดับ Digital Inclusion ในพื้นที่ห่างไกลหรือในมุมอับสัญญาณที่อาจจะถูกบดบังจากภูเขาและพื้นที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้ง AIS ได้นำนวัตกรรมและโซลูชัน InnoVis Network มาพัฒนาคุณภาพการให้บริการและขยายเน็ตเวิร์กอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งยังนำ AI และ Autonomous Network เพื่อให้โครงข่ายสื่อสารของ AIS ภาคเหนือมีความพร้อมมากกว่าการเป็นระบบสื่อสาร ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าทุกกลุ่ม ผู้บริโภคทั่วไป กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการเดินทางและทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม หรือ Digital Nomad กลุ่มชาติพันธ์ุ ชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ และภาคธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารในพื้นที่สูงหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีความครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา, อุทยานแห่งชาติแม่ปิง, ห้วยกุ๊บกั๊บ, ทุ่งเกี๊ยะ, บ้านป่าข้าวหลาม และดอยม่อน
ภาคใต้
พื้นที่ในภาคใต้ ซึ่งมีการขยายโครงข่ายในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกให้เป็นหนึ่งใน Destination ด้านการท่องเที่ยว ดังนั้นเพื่อเป็นการต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติจากทั่วโลกที่กำลังจะเดินทางมาสัมผัสความสวยงามทางธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวในภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงไฮซีซัน AIS ขอยืนยันถึงความพร้อมของโครงข่ายสื่อสารครอบคลุม 2 ฝั่งทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามัน AIS SEA COVERAGE ที่จะสามารถรองรับการใช้งานได้อย่างดีที่สุด ในบริเวณชายฝั่ง เกาะ กลางทะเล เส้นทางการเดินทาง ทั้งทางทะเล ทางบก และทางอากาศ
ทั้งในแง่ของ Reliability หรือความเสถียรและต่อเนื่องของการใช้งาน และการขยาย Coverage อย่างต่อเนื่อง ด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงข่าย การผสมผสานระบบสื่อสัญญาณ หรือ Transmission พร้อมนำนวัตกรรมการพัฒนาอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี รวมถึงการพลังงานทดแทนจากธรรมชาติเข้ามาใช้งานให้สอดคล้องกับความท้าทายในเชิงของลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ ตั้งแต่ชายฝั่ง บนเกาะ ไปจนถึงพื้นที่กลางทะเลเพื่อให้โครงข่ายอัจฉริยะของ AIS มีความพร้อมในการใช้งานที่เป็นมากกว่าระบบสื่อสาร
นายกิตติ กล่าวทิ้งท้ายว่า AIS ได้ตอกย้ำที่ 1 ตัวจริง โครงข่ายอัจฉริยะ SEA COVERAGE ที่ครอบคลุมพื้นที่การใช้งานกว่า 95% ของพื้นที่ประชากรในภาคใต้ ยืนยันความพร้อมของโครงข่ายสื่อสารทั้ง 5G, 4G ต้อนรับการใช้งานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นปีและไฮซีซันด้านการท่องเที่ยวของภาคใต้ รวมถึงยังเดินหน้านำนวัตกรรมและสุดยอดเทคโนโลยีมายกระดับการทำงานของโครงข่ายดิจิทัลให้ตอบโจทย์การใช้งานทุกกลุ่ม ทั้งภาครัฐ ภาคบริการ ผู้ประกอบการประมง ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และจากทั่วโลก