พบ ‘ปรสิต’ ยุคโบราณในไซบีเรีย ฟื้นคืนชีพ หลังจำศีล 4 หมื่นปี
พยาธิตัวกลมในยุคโบราณได้กลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง หลังนอนสงบนิ่งมานานนับ 46,000 ปี แล้วอะไรทำให้มันมีชีวิตอยู่ได้นานขนาดนั้น
เว็บไซต์ livescience รายงานว่า หนอนพยาธิตัวกลม (Nematode) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของปรสิตที่เคยมีชีวิตในยุคโบราณเมื่อหลายหมื่นปีก่อน มันฝังตัวอยู่ในโพรงไม้แห่งหนึ่งในไซบีเรีย และกลายเป็นฟอสซิลมาตั้งแต่ช่วงปลายยุคไพลสโตซีน ขณะนี้ได้กลับมามาชีวิตอีกครั้ง สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าหนอนเหล่านี้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้นานกว่าที่คิดหลายหมื่นปี
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบหนอนขนาดจิ๋วเป็นพยาธิตัวกลมที่รอดชีวิตอยู่ใต้ชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ในไซบีเรียนานถึง 46,000 ปี นับเป็นการค้นพบหนอนที่ฟื้นคืนชีพที่ทำลายสถิติก่อนหน้านี้
พยาธิตัวกลมโบราณหรือบางตำราก็เรียกว่า "ไส้เดือนฝอย" จัดอยู่ในสายพันธุ์ Panagrolaimus kolymaensis ซึ่งมันซุกตัวอยู่ในโพรงไม้ที่ปัจจุบันกลางเป็นฟอสซิลที่นักวิทยาศาสตร์ได้เซาะสกัดมันออกมาจากชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ใกล้กับแม่น้ำโคลีมา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์กติก
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบพยาธิตัวกลมในปี 2561 แต่อายุและสายพันธุ์ของมันยังไม่ชัดเจน
รายงานการศึกษานี้ได้รับตีพิมพ์ลงในวารสาร PLOS Genetics เมื่อวันพฤหัสบดี (27 ก.ค.) อาจพบคำตอบที่ว่า “การอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่กดดันเป็นระยะเวลานาน ถือเป็นความท้าทายของสิ่งมีชีวิตไม่กี่ชนิดที่สามารถทำได้” จากการที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบพยาธิตัวกลมได้สงบนิ่งเป็นเวลานับ 46,000 ปีในชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ที่ไซบีเรีย
สิ่งมีชีวิต เช่น ไส้เดือนฝอยและทาร์ดิเกรดสามารถจำศีล ซึ่งเป็นกระบวนการเมแทบอลิซึมที่เรียกว่า “cryptobiosis” เพื่อปรับสภาพร่างของมันให้ตอบสนองกับการถูกแช่แข็งหรือลดการขาดน้ำอย่างรุนแรงและยาวนาน โดยสถานะนี้ในทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า cryobiosis และ anhydrobiosis ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกรณี สิ่งมีชีวิตจะลดการใช้ออกซิเจนและปริมาณความร้อนที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมจนถึงระดับที่ตรวจจับไม่ได้ นี่เป็นคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่พอทำให้เห็นภาพว่า พวกมันอยู่รอดได้อย่างไรในเวลาหลายหมื่นปี