สงคราม AI ‘จีน - สหรัฐ’ สั่นคลอนต้นทุน สกัดดาวรุ่ง ธุรกิจเทคโนโลยี
พลังคลั่งไคล้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในจีน ทำให้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของสตาร์ทอัพและบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในจีนทุกวี่วัน จนนักลงทุนเตือนผลกระทบ อาจสร้างแรงกดดันด้านต้นทุนและกำไรทางธุรกิจเพิ่มขึ้นเกินไป
Key points
- จีนพัฒนาแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) อย่างน้อย 130 โมเดล ซึ่งคิดเป็น 40% ทั้งหมดทั่วโลก
- จำนวนโมเดล LLMs ของจีนไล่หลังสหรัฐ ซึ่งมีอยู่ราว 50% ทั้งหมดทั่วโลก
- แรงตึงเครียดระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตันยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจนี้ เนื่องจากบริษัทเทคโนโลยีจีนยังเข้าถึงชิปของสหรัฐได้ยากขึ้น
- บริษัทจีนที่แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้น จึงจะอยู่รอดได้ และคาดว่า แนวโน้มทางรอดของบริษัทจีน จะต้องควบรวมกิจการและสงครามแข่งขันด้านราคา
- บริษัทดาวรุ่งที่เติบโตน้อย จะค่อยๆถูกกำจัดทิ้งไป เพราะไม่อาจเข้าถึงชิป
เสียงฮือฮาในความสำเร็จของ ChatGPT ของโอเพ่นเอไอเกือบหนึ่งปีแล้ว ได้เป็นไอเดียให้ซีอีโอเทนเซ็นต์เรียกการแข่งขันทางธุรกิจเป็นสงครามร้อยโมเดล ซึ่งมีคู่แข่งกับไป่ตู้ ไปจนถึงอาลีบาบา หัวเว่ยที่พยายามนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่ตลอดเวลา
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ปัจจุบัน จีนพัฒนาแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) อย่างน้อย 130 โมเดล ซึ่งคิดเป็น 40% ทั้งหมดทั่วโลก และจำนวนโมเดล LLMs ของจีนไล่หลังสหรัฐ ซึ่งมีอยู่ราว 50%
นักลงทุนและนักวิเคราะห์กล่าวว่า ถึงอย่างไรในบรรดาโมเดลธุกิจนี้ในจีน ส่วนใหญ่ยังไม่พบว่าใช้งานได้ เพราะมีความคล้ายคลึงกันมากเกินไป และพวกเขายังต้องต่อสู้กับเงินลงทุนที่สูงด้วย
แรงตึงเครียดระหว่างปักกิ่งกับวอชิงตันยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจนี้ เนื่องจากมีเงินดอลลาร์ลงทุนน้อยลงในโครงการพัฒนาธุรกิจที่เพิ่งเติบโต และบริษัทเทคโนโลยีจีนยังเข้าถึงชิปของสหรัฐได้ยากขึ้น
“ดังนั้น บริษัทจีนที่แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้น จึงจะอยู่รอดได้” เอสมา พอล์ หัวหน้าฝ่ายอินเทอร์เน็ตและสินทรัพย์ดิจิทัลแมคคิวรี กรุ๊ปของจีนและคาดว่า แนวโน้มทางรอดของบริษัทจีน จะต้องควบรวมกิจการและสงครามแข่งขันด้านราคา ท่ามกลางผู้พัฒนาเทคโนโลยีแข่งขันเพื่อชิงจำนวนผู้ใช้งาน
เอสมาเสริมว่า บริษัทชั้นนำหลายแห่งได้ส่งสัญญาณจะแข่งขันด้านราคา เพื่อชิงส่วนแบ่งทางการตลาด เช่นเดียวกับบริการคลาวด์ของอาลีบาบาและเทนเซ็นต์
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ให้จับตาดูธุรกิจ LLMs ในอีก 6 - 12 เดือนข้างหน้าที่มีการเติบโตต่ำจะค่อยๆถูกกำจัดทิ้งไป เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องชิป ต้นทุนที่สูง และการแข่งขันที่เข้มข้น