“ปีศาจทะเล” เทอร์โรซอร์ อายุ 100 ล้านปี ถูกขุดพบในออสเตรเลีย

“ปีศาจทะเล” เทอร์โรซอร์ อายุ 100 ล้านปี ถูกขุดพบในออสเตรเลีย

นานมาแล้ว เหนือท้องฟ้าทะเลเอโรมังกา ครั้งหนึ่งเป็นทะเลกว้างใหญ่ แต่ปัจจุบันคือพื้นที่แห้งแล้งในออสเตรเลีย ขุดพบฟอสซิล “เทอร์โรซอร์” สัตว์เลื้อยคลานที่บินได้เมื่อ 100 ล้านปีก่อน

เทอโรซอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่น่าเกรงขามเมื่อร้อยล้านปีก่อน ถูกขนานนามว่า "ปีศาจทะเล" (Sea Phantom) โดยมีกระดูกกรามยาวปลายมนบนและล่าง ทั้งมีฟันแหลมคมเต็มปาก เหมาะใช้หาเหยื่อและจับปลาในทะเล

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานวันนี้ว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศค้นพบฟอสซิลเทอโรซอร์ ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งสิ่งมีชีวิตชนิดนี้เคยอาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ และสัตว์เลื่อยคลานนานาชนิดใน “ยุคครีเทเชียส”

นักวิทยาศาสตร์ได้เรียกฟอสซิลเทอโรซอร์ที่พบครั้งนี้ว่า ฮาลิสเกีย ปีตาเซนิ (Haliskia peterseni) ถือเป็นฟอสซิลเทอร์โรซอร์ สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยขุดพบในออสเตรเลีย

ฟอสซิลเทอโรซอร์ที่ถูกค้นพบครั้งนี้ มีปีกกว้าง 4.6 เมตร และเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อน ทำให้ฟอสซิลเทอโรซอร์เฟอร์โรดราโกที่เคยค้นพบปี 2019 มีขนาดและอายุน้อยกว่าเทอโรซอร์ที่ขุดพบครั้งนี้ ประมาณ 5 ล้านปี

ในอดีตทะเลเอโรมังกาเป็นทะเลขนาดใหญ่อยู่ใกล้แผ่นดิน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในออสเตรเลียปัจจุบัน

“อาเดล เพนต์แลนด์" นักศึกษาปริญญาเอก สาขาบรรพชีวินวิทยาของมหาวิทยาลัยเคอร์ติน ประเทศออสเตรเลีย ได้เขียนบทความการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารไซแอนทิฟิก ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีหลักฐานชัดเจน ฟอสซิลเทอโรซอร์ทั้งสองตัว ถูกขุดพบในพื้นที่แห่งนี้ซึ่งอดีตเป็นทะเลเอโรมังกา

โครงกระดูกที่ค้นพบค่อนข้างเปราะบาง สำหรับเทอร์โรซอร์ฮาลิสเกียมีความสมบูรณ์ประมาณ 22% โดยมีขากรรไกรล่าง ปลายกรามบน กระดูกคอ ฟัน 43 ซี่ กระดูกสันหลังซี่โครง กระดูกปีกทั้งสองข้าง และกระดูกขาข้างหนึ่ง

“นักวิทยาศาสตร์อนุมานได้ว่า เทอโรซอร์ตัวนี้มีลิ้นที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง โดยพิจารณาจากความยาวของกระดูกในลำคอ เทียบกับความยาวของขากรรไกรล่าง” เพนต์แลนด์ระบุ

ขณะที่เทอโรซอร์อื่นๆ มีกระดูกคอยาว 30% หรือ 60% ของขากรรไกรล่าง แต่ฮาลิสเกียมีกระดูกคอยาว 70%

นั่นหมายความว่า ขณะเทอโรซอร์ฮาลิสเกียล่าปลาหรือปลาหมึกยักษ์ มันอาจได้เปรียบตรงที่มีปากใหญ่แหลม และแข็งแรงสามารถจับเหยื่อได้รวดเร็ว

ซากฟอสซิลของฮาลิสเกียสมบูรณ์กว่าเฟอร์โรดราโก ซึ่งทั้งสองเป็นเทอโรซอร์สายพันธุ์  Anhanguerians ที่ค้นพบในจีน สหรัฐ บราซิล อังกฤษ สเปน และโมร็อกโก ขณะที่เทอโรซอร์อีก 3 ตัวที่มีชื่อว่า ออสเตรเลียนโรซอร์ ได้ถูกพบจากการขุดเจอกระดูกกรามเพียงบางส่วนเท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า หลังจากเทอโรซอร์ฮาลิสเกียตัวนี้ตายลง ได้ถูกฝังอยู่ใต้ตะกอนก้นทะเลเอโรมังกา จนกลายเป็นฟอสซิล

รอยเตอร์รายงานด้วยว่า การตั้งชื่อสัตว์ชนิดนี้ก็เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ เควิน ปีเตอร์เซน ชาวสวนอะโวคาโดที่ผันตัวเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์โครโนซอรัสคอร์เนอร์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลฮาลิสเกีย

เทอโรซอร์เป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกจาก 3 กลุ่มที่สามารถบินได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 230 ล้านปีก่อน ขณะที่นกเป็นสิ่งมีชีวิตเกิดเมื่อ 150 ล้านปีก่อน และค้างคาวเกิดขึ้นเมื่อ 50 ล้านปีก่อน

"ในเหตุการณ์ชนดาวเคราะห์น้อยเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ได้ทำให้เทอโรซอร์สูญพันธุ์ไปเช่นเดียวกับไดโนเสาร์" บทความระบุ

เทอโรซอร์มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งอาศัยภายใต้ระบบนิเวศน์ที่แตกต่าง โดยเทอโรซอร์สายพันธุ์ขนาดเล็กจะกินแมลงเป็นอาหาร ขณะที่สายพันธุ์อื่นๆ กินปลาเป็นอาหาร ทั้งนี้เคยค้นพบเทอโรซอร์เล็กที่สุดมีปีกกว้างประมาณ 25 ซม. ขณะที่เทอโรซอร์ใหญ่ที่สุดมีปีกกว้างเท่ากับเครื่องบินรบขนาดเล็ก และเทอโรซอร์ยังเป็นสัตว์ใหญ่ที่สุดที่ชอบบินเหนือท้องฟ้า

ที่มา : Reuters