ทำงาน 4 วันอาจได้แค่ฝัน 'ญี่ปุ่น' ยังเปลี่ยนวิถี work hard ไม่สำเร็จ

ทำงาน 4 วันอาจได้แค่ฝัน 'ญี่ปุ่น' ยังเปลี่ยนวิถี work hard ไม่สำเร็จ

ทำงาน 4 วันฝันไปเถอะ! 
รัฐบาล ’ญี่ปุ่น' ลองแล้วยังเปลี่ยนวัฒนธรรม Work hard ในองค์กรไม่สำเร็จ หลังออกแคมเปญ ‘ปฏิรูปการทำงาน’ แต่ปัญหาโรค ‘คาโรชิ’ ยังพุ่ง

“ญี่ปุ่น” เป็นประเทศแรกๆ ที่ริเริ่มการผลักดันให้บริษัทต่างๆ ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ทำงานกันแบบบ้าคลั่ง Work hard ทำงานงานหนักแทบไม่มีวันหยุดหย่อน

เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลญี่ปุ่นผลักดันแคมเปญ “ปฏิรูปรูปแบบการทำงาน” เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดระเบียบการทำงานที่ยืดหยุ่น ลดชั่วโมงการทำงาน และจำกัดเวลาทำงานล่วงเวลา พร้อมให้เงินอุดหนุนและคำปรึกษาฟรี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ทำงาน

ย้อนกลับไปในปี 2564 รัฐสภาญี่ปุ่นเห็นชอบแนวคิด ลดเวลาทำงาน แต่การนำไปปฏิบัติจริงยังคงเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

ตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ พบว่า มีเพียงประมาณ 8% ของบริษัทในญี่ปุ่นที่อนุญาตให้พนักงานหยุดงานได้สามวันหรือมากกว่านั้นในแต่ละสัปดาห์ 

ทิม เครก นักวิชาการผู้ศึกษาญี่ปุ่นมานานกว่า 20 ปี ระบุว่า วัฒนธรรมการทำงาน ที่ฝังรากลึกเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนญี่ปุ่นทำงานนาน “ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลงเร็วๆ นี้”

“ถ้าพวกเขากลับบ้านเร็ว เพื่อนร่วมงานจะมองพวกเขาด้วยสายตาไม่พอใจ และจะต้องทำงานมากขึ้นเพื่อทดแทนพวกเขา”

คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากพวกเขามักมองว่างานเป็น “ส่วนหนึ่งในเชิงบวกของชีวิต” แต่ก็เป็นแรงกดดันทางสังคมเช่นกัน

มาร์ติน ชูลซ์ ระบุว่า สถานที่ทำงานเป็นศูนย์กลางชีวิตสังคมของคนญี่ปุ่น พวกเขามักใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ทำงาน ไม่เพียงแต่ทำงาน แต่ยังเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน

"วัฒนธรรมองค์กรของญี่ปุ่นที่เปรียบเสมือนครอบครัว ทำให้พนักงานรู้สึกว่าต้องอยู่ทำงานนานเพื่อแสดงความภักดี แต่กลับส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่นและลดประสิทธิภาพในการทำงาน"

โรค ‘คาโรชิ’ ทำงานหนักจนตาย

รายงานล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเผยให้เห็นว่าปัญหา โรคคาโรชิ หรือ การเสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไป ยังคงรุนแรง โดยในปี 2565 มีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหนักสูงถึง 2,968 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 1,033 ราย สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบร้ายแรงของวัฒนธรรมการทำงานหนักในญี่ปุ่น

ฮิโรชิ โอโนะ ศาสตราจารย์ด้านทรัพยากรบุคคลจากมหาวิทยาลัยฮิโตสึบาชิ มองว่าคงต้องใช้เวลาสักพักถึงจะเข้าใจการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์... ที่ประเทศอื่นก็ยังไม่ค่อยเกิดขึ้นมาก เพราะญี่ปุ่นไม่คุ้นเคยกับความยืดหยุ่น

โอโนะ สังเกตว่าบริษัทส่วนใหญ่ที่ร่วมใช้นโยบายทำงาน 4 วัน ส่วนใหญ่นั้นไม่ใช้บริษัทญี่ปุ่นดั้งเดิม อย่างเช่น ไมโครซอฟท์

อย่างไรก็ดี “พานาโซนิค” หนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ก็เปิดโอกาสให้พนักงานเลือกการทำงานเป็นสัปดาห์ละ 4 วันในปี 2565 แต่มีพนักงานที่มีสิทธิ์ เลือก เพียงประมาณ 150 คนจากทั้งหมด 63,000 คนเท่านั้น แต่มีพนักงานเพียงประมาณ 150 คนจาก 63,000 คนที่มีสิทธิ์เลือกได้ที่ตัดสินใจเข้าร่วม

ขณะเดียวกัน บริษัทหลักทรัพย์ SMBC ก็ได้เสนอทางเลือกการทำงานแบบ 4 วันต่อสัปดาห์ให้กับพนักงานตั้งแต่ปี 2563 เช่นกัน แต่ได้จำกัดสิทธิ์เฉพาะพนักงานที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพื่อการดูแลครอบครัวหรือ "การพัฒนาสายอาชีพด้วยตนเอง" นอกจากนี้ ทางเลือกนี้จะมีให้เฉพาะตั้งแต่ปีที่สี่ของการจ้างงานเท่านั้น

แม้ว่าอัตราการรับเข้าร่วมจะน้อย แต่โครงการริเริ่มนี้ก็ไม่ได้สูญเปล่าทั้งหมด

ชุลซ์ จากบริษัทฟูจิตสึกล่าวว่า รัฐบาลได้กดดันบริษัทต่างๆ มากขึ้นในเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ทำให้ไม่อนุญาตให้มีการทำงานล่วงเวลาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดอีกต่อไป

สิ่งที่น่าสนใจคือ คาโรชิไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น ในปี 2562 มีรายงานว่าในสวีเดนมีคนงานมากกว่า 770 คนเสียชีวิตจากความเครียดในการทำงาน

 

 

 

อ้างอิง CNBC