จากยาถึงวัคซีน ความหวังรักษาโควิด-19 ที่ยังต้องรอ

จากยาถึงวัคซีน ความหวังรักษาโควิด-19 ที่ยังต้องรอ

นักวิทยาศาสตร์ออกมาเตือนๆ ว่า แม้จะมียาที่มีอยู่แล้วนำมาปรับใช้เพื่อรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ก็ยังต้องใช้เวลา กว่าจะเห็นผลว่าใช้ได้จริง

ในช่วงเวลาที่ไวรัสโคโรนายังคงแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำลายเศรษฐกิจไปทั่ว บริษัทผู้ผลิตยาทั่วโลกต่างพยายามค้นหายาและวัคซีนเพื่อมาช่วยรักษาโรคนี้

แม้นักวิทยาศาสตร์จะมีความหวังกับการค้นหายาและวัคซีนที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนี้ แต่พวกเขาก็ออกมาติงๆว่ามันอาจเป็นการให้คำมั่นถึงการรักษาที่ฉับไวกับสังคมเร็วไป

ในเวลานี้ การค้นหายามาช่วยรักษาไวรัสโคโรนาโฟกัสอยู่ที่การลองใช้ยาที่มีอยู่เอามาปรับใช้รักษาโรคติดเชื้อฯ ซึ่งจริงๆมันถูกพัฒนามาเพื่อรักษาโรคอื่นมากกว่า แต่อาจเป็นไปได้ที่จะเอามาช่วยรักษาตรงนี้ ซึ่งมีผู้ป่วยมากกว่าเจ็ดแสนคน และคนเสียชีวิตกว่าสามหมื่นคนแล้วในเวลานี้ (ณ วันที่ 1 เมษายน 2563)

แม้ยาเหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบและรับรองมาแล้วว่ามีความปลอดภัย แต่มันอาจจะไม่ได้ผลในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เพราะมันไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อการนี้โดยมีไวรัสเป็นเป้าหมายตั้งแต่แรก

“การปรับใช้ยาเหล่านี้มารักษาโรคติดเชื้อฯ ก็เหมือนเราคว้าท่อนไม้มาไว้ในมือ เพื่อต่อกรกับปืน มันก็ดีกว่าสู้ด้วยมือเปล่าๆ แต่ก็ไม่ควรไปคาดหวังอะไรมาก” มาโกโตะ ยูจิเกะ รองศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสัตวแพทยศาสตร์ นิปปอน ฝั่งโตเกียวตะวันตก

รอง ศจ.ยูจิเกะกำลังทดลองใช้ยารักษาหอบหืดมาใช้กับไวรัสโคโรนา ซึ่งถูกมองว่ามีศักยภาพอยู่

นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น ชินโสะ อาเบะกล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า ญี่ปุ่นกำลังดำเนินการทดลองใช้ยาในคนกับตำรับยา 4 กลุ่ม ซึ่งเขาน่าจะหมายถึง ยาแก้หวัดอวีเกน (Avigen), ยารักษาอีโบลา เรมเดซิเวียร์ (Rendesivir) ยารักษาโรคหอบหืด อัลเวสโก้ (Alvesco) และยาต้านไวรัสเอดส์ คัลเลตร้า (Kaletra)

นายอาเบะยังได้พูดถึงยารักษาลำไล้ใหญ่อักเสบ ฟูธัน ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทยา โทรี่ โดยกล่าวว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการทดลองในคนอยู่

ส่วนยาเรมเดซิเวียร์และคัลเลตร้า นับเป็นยาใน 4 กลุ่มที่เป็นความหวังที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุถึง

ญี่ปุ่นเองก็ได้ทำงานร่วมกับสหรัฐฯในเรื่องนี้ ในขณะที่เกาหลีใต้และสิงคโปร์กำลังทดลองยาเรมเดซิเวียร์ในคนอยู่

ในส่วนของความร่วมมือระหว่างประเทศเอง ก็จะเน้นการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยา ซึ่งจะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเชื้อสายของคนไข้และวิธีการใช้ยาในแต่ละประเทศ

ที่ญี่ปุ่นจะช่วยสหรัฐฯได้คือแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาอวีเกนให้มากที่สุด ซึ่งอาจรวมถึงผลในการทดลองใช้ในคน,” ศาสตราจารย์ด้านเภสัชศาสตร์ ยาสุฮิโร คานาทานิ แห่งมหาวิทยาลัยโตไคกล่าว

ฟูจิ ฟิล์ม ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาอวีเกน กล่าวว่า การทดลองใช้ยาในคนจะเริ่มในอาทิตย์นี้และหวังว่าจะเพิ่มการผลิตให้มากขึ้น

ในบางการศึกษาพบว่า ยาอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทำให้ถึงตายหรือพิการได้ ถ้ามันถูกรับรองให้ใช้ในการรักษาโควิด-19 จริงๆ บุคคลากรทางการแพทย์ต้องมีทางเลือกในการใช้ที่เหมาะสมกับสภาพของคนไข้ ศจ. ยาสุฮิโรกล่าว

บริษัทยาของญี่ปุ่นรายอื่นๆ อย่าง บริษัทยาทาเคดะ กผ็กำลังพัฒนายาจากแอติบอดี้ของคนไข้ที่หายจากโรคโควิด-19 เช่นกัน

ความเป็นไปได้

การนำยาที่มีอยู่มาปรับใช้กับการรักษาโควิด-19 มีความเป็นไปได้ เพราะแม้จะมีไวรัสที่ต่างกันมากมาย แต่ยาจะออกฤทธิ์คล้ายๆกัน คือ การเข้าไปล๊อคเซลล์ แล้วคุมกระบวนการทางเคมีที่เซลล์จะก๊อปปี้เพิ่มจำนวนตัวเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ เข้าไปบล๊อควงจรของไวรัส ซึ่งก็อาจช่วยได้หากลองใช้กับไวรัสตัวอื่นๆ

การทำแบบนี้จะใช้เวลาน้อยกว่าการเริ่มพัฒนายาตั้งแต่ศูนย์ ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็บอกว่า อาจใช้เวลาอย่างน้อยก็หนึ่งปีที่จะเริ่มเห็นว่ายาจะได้ผลหรือไม่ ก่อนจะเอามาใช้กันได้อย่างแพร่หลาย แต่อีกหลายๆคนก็บอกว่า มันอาจเป็นการคาดหวังที่สูงเกินไป เพราะหลายๆ การศึกษาบ่งชี้ว่าการทดลองในคนยังขลุกขลักอยู่มาก

ตำรับยาคัลเลตร้า ซึ่งเป็นยาชุดผสมระหว่างยาโลปินาเวียร์กับริโทนาเวียร์ ถูกนำมาทดลองใช้รักษาโควิด-19 ในการทดลองการรักษาในคน (clinical trial) แล้วแต่ไม่ได้ผล, นักวิจัยชาวจีนระบุในงานวอจัยที่ตีพิม์ในวารสารยานิวอิงแลนด์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา (New England Journal of Medicine)

ยาที่ให้ผลดีในการทดลองในสัตว์มักไม่ค่อยได้ผลเมื่อเอามาทดลองในคน รอง ศจ. ยูจิเกะ กล่าว 

มันดีที่เราได้ยินเรื่องยาที่อาจใช้ได้ผล แต่มันจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบในจุดนี้อย่างระมัดระวังมากๆ”” เขากล่าว

วัคซีน

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ตัวป้องกันการระบาดที่ดีที่สุดก็คือวัคซีน อย่างไรก็ตามเป็นที่เห็นตรงกันว่า การพัฒนาวัคซีนนั้นยากมากและใช้เวลามาก อาจต้องใช้เวลาเป็นปีหรือมากกว่านั้น ทังนี้ เพราะวัคซีนต้องเพาะมาจากเชื้อของไวรัส ซึ่งอาจทำให่มันอ่อนฤทธิ์ลงโดยการดึงยีนส์บางตัวจาก DNA ของมันออก

การวิจัยเรื่องวัคซีนก็กำลังแยูาในระหว่างดำเนินการโดยบริษัทยาขนาดใหญ่ อาทิ จอหน์สัน แอนด์ จอห์นสัน (เจเจ) ของสหรัฐฯ หรือ ซโนฟี่ของฝรั่งเศส

บริษัทยาของญี่ป่นเองก็พยายามทำอยู่ รวมทั้งบริษัท มิตซูบิชิ ทานาเบะ หรือบริษัทลูกของเมดิคาโก ของแคนาดา หรือ ไอรอม กรุ๊ป ซึ่งกำลังทำกับมหาวิทยาลัยฟูดานในเซี่ยงไฮ้

บริษัท เจเจ กล่าวว่าวัคซีนอาจมีใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินมากๆก็น่าจะต้นปีหน้า เมื่อการทดลองในคนจะมีขึ้นในเดือนกันยายน ซึ่งก็ไม่ได้จะทำให้ญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นๆในเอเชียหยุดการพัฒนายาหรือวัคซีนของตัวเอง เพราะความกังวลว่าจะไม่มียาใช้นั่นเอง

ดร.ทาเคชิ คาไซ ผู้อำนวยการภูมิภาคของ WHO กล่าวว่าว่า ตอนนี้มีวัคซีนมากกว่า 50 สูตรแล้วที่ทดลองใช้รักษาโควิด-19 และการทดลองในคนก็เร่ิมทำกันแล้ว เหมือนกับการลองใช้ยาหลายๆตัวตอนนี้

มันเป็นอะไรที่รวดเร็วมาก น่าทึ่ง และผมก็หวังว่าการพัฒนาวัคซีน...จะทำได้เร็วอย่างที่เราอยากเห็น ส่วนการทดลองใช้ยาน่าจะใช้เวลามากกว่านายคาไซกล่าว