ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยเริ่มระบาดเป็นวงกว้าง 

ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยเริ่มระบาดเป็นวงกว้าง 

บรรยากาศลงทุนโดยรวมแสดงถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย การเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งประกอบกับผลกระทบของต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นจะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนอาจจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เริ่มกลายเป็นความกังวลหลักต่อตลาด

และทำให้นักลงทุนเริ่มปรับพอร์ตรับความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่อิงการเติบโตทางเศรษฐกิจและเริ่มเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ตราสารหนี้สหรัฐฯ รวมถึงหุ้นที่มีรายได้มั่นคง (defensive stock) มากขึ้น เราประเมินหุ้นไทยและอาเซียนยังมีแนวโน้มแข็งแกร่งกว่าตลาดโลก สะท้อนผ่านการที่ตลาดหุ้นไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปินส์ ปรับลดลงนับจากต้นปีเพียง 6%, 7% และ 11% เทียบกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ที่ลดลง 15-20% อย่างไรก็ตาม หุ้นไทยอาจได้รับผลจากการขายปรับน้ำหนักการลงทุน (rebalancing) ซึ่งเราประเมินโซนแนวรับสำคัญสำหรับการกลับเข้าซื้อที่ 1,480-1,520 จุด

 

เน้นเลือกลงทุนรายตัว หุ้นปลอดภัยคาดทรงตัวดี ขณะที่หุ้นเปิดเมืองเป็นเป้าหมายการซื้อกลับหลังแรงขายทำกำไรรอบนี้ คาดกลุ่มที่จะทรงตัวได้ดีถึงมีโอกาสปรับขึ้นในรอบนี้ ได้แก่ กลุ่มหุ้นปลอดภัยและอาหาร ได้แก่ สื่อสาร, โรงไฟฟ้า และโรงพยาบาล โดยหุ้นที่เราชอบได้แก่ ADVANC, INTUCH, BGRIM, GPSC, BCH, CHG, RAM, BDMS เป็นต้น สำหรับกลุ่มเปิดเมือง ท่องเที่ยว และห้างสรรพสินค้า ช่วงสั้นอาจเผชิญแรงขายทำกำไรจากความกังวลการระบาดของโควิดระลอกใหม่ แต่เรามองเป็นเป้าหมายในการทยอยซื้อแบบตั้งรับ โดยหุ้นที่เราชอบ ได้แก่ SPA, VRANDA, MINT, ERW, CENTEL, MBK, CPN, CRC เป็นต้น
 

 

 

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ OSP, CBG, ICHI, SAPPE 2) กลุ่มท่องเที่ยว AOT, CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR, VRANDA, SPA 3) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO, MAJOR 4) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, GFPT, TFG, TU, KSL, KTIS, KBS, BIS, ASIAN  5) หุ้นได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน BABA80, TENCENT80, CHINA

ภาพรวมกลยุทธ์: มีโอกาสซึมลงสู่ 1,480-1,520 จุด คาดเห็นการโยกเงินเข้าสู่หุ้นปลอดภัย อาทิ สื่อสาร ไฟฟ้า การแพทย์ ขณะที่ช่วงสั้นหุ้นเปิดเมืองอาจเผชิญแรงขายทำกำไร แต่ยังคงเป็นเป้าหมายการซื้อกลับหลังแรงทำกำไรรอบนี้ของเรา ช่วงสั้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน (DR และ ETF อิงหุ้นจีน) ยังมีแนวโน้มโดดเด่น //หุ้นแนะนำ:  BABA80*,  ADVANC*, CPF*

แนวรับ: 1,480-1,520 / แนวต้าน : 1,550-1,565 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

ประเด็นการลงทุน

ตลาดบอนด์สหรัฐเกิด inverted yield curve ส่งสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย - อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีปรับตัวสูงกว่าอายุ 10 ปี ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ดัชนีดอลลาร์ทะลุ 106 นิวไฮ 20 ปี - นักลงทุนพากันเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ดัชนี PMI ยูโรโซนร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต-บริการขั้นสุดท้ายของยูโรโซน ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือนที่ 52.0 ในเดือนมิ.ย. 2565 จากระดับ 54.8 ในเดือนพ.ค. ซึ่งสูงกว่าประมาณการก่อนหน้าที่ 51.9 เพียงเล็กน้อย

เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มกระเตื้องช่วงครึ่งปีหลัง - แบงก์ ออฟ ไชน่าเปิดเผยรายงานระบุว่า เศรษฐกิจจีนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวจากผลกระทบเชิงลบของโรคโควิด-19 ระบาดได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังดัชนีบ่งชี้เศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ

จีนเตรียมอัดฉีดงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานร่วม 7.5 หมื่นล้านดอลล์ – วงเงิน 5 แสนล้านหยวน (7.469 หมื่นล้านดอลลาร์) เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ซบเซา

พาณิชย์ เผย CPI มิ.ย.พุ่ง 7.66% คงคาดการณ์ทั้งปี 4-5% – อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 107.85 เพิ่มขึ้น 7.66% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าที่ตลาดคาด 7.5% และเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.90% จากเดือน พ.ค.65 ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 5.61% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือนมิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 102.99 เพิ่มขึ้น 2.51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.24% จากเดือน พ.ค.65 ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 1.85%

 

ประเด็นติดตาม: 6 ก.ค. – อาจเห็นการยกเลิกคำสั่งปธน.เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน, FOMC Meeting Minutes / 8 ก.ค. – US Nonfarm Payrolls, US Participation Rate, US Unemployment Rate, ECB President Lagarde Speaks / 13 ก.ค. - US CPI / 13-20 ก.ค. - รายงานงบกลุ่มแบงก์

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)