ช้อปดีมีคืน 2566 (15 ก.พ.) วันสุดท้าย ย้ำเงื่อนไข ขอใบกำกับภาษีไม่ได้ เช็กเลย
มาตรการ "ช้อปดีมีคืน 2566" วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2566) เป็นวันสุดท้ายที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในการซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขที่กำหนด แล้วขอ "ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป" จากร้านค้า เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงวงเงินสูงสุดคนละ 40,000 บาท
มาตรการ "ช้อปดีมีคืน 2566" วันนี้ (15 กุมภาพันธ์ 2566) เป็นวันสุดท้ายที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในการซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขที่กำหนด แล้วขอ "ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป" จากร้านค้า เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงวงเงินสูงสุดคนละ 40,000 บาท แบ่งเป็น
- วงเงินสำหรับการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าทั่วไปไม่เกิน 30,000 บาท
- การซื้อสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีใบกำกับภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 10,000 บาท
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ซื้อสินค้าหรือบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ใช้ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
- ซื้อหนังสือหรือ e-book (ไม่รวมนิตยสารและหนังสือพิมพ์)
- ใช้ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป หรือ ใบเสร็จรับเงิน
- ซื้อสินค้า OTOP ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- เป็นสินค้าที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ได้
- ระบุว่า เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
- ใช้ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป หรือ ใบเสร็จรับเงิน
สินค้าและบริการที่ไม่เข้าเงื่อนไข "ช้อปดีมีคืน 2566"
- ค่าสุรา เบียร์ ไวน์
- ค่ายาสูบ
- ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสารและค่าบริการ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์
- ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์
- ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า ตามที่กรมสรรพากรได้ออกมาตรการภาษี "ช้อปดีมีคืน" ปี 2566 ซึ่งผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
โดยเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่มีหลักฐานการชำระเงินเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร ได้ทั้งจำนวนหรือใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบกระดาษ ไม่เกิน 30,000 บาท ร่วมกับใบกำกับภาษีเต็มรูปผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ e-Tax Invoice ในที่นี้หมายความรวมถึง e-Tax Invoice by Email ด้วย และตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีที่ผู้เสียภาษีที่ไม่ได้รับความสะดวกจากการขอให้ผู้ขายสินค้าหรือบริการออกใบกำกับภาษี เช่น ปฏิเสธไม่ยอมออกใบกำกับภาชี บวกราคาเพิ่ม เมื่อขอใบกำกับภาษีหรือพฤติกรรมอื่นใดที่เข้าข่ายหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ท่านสามารถแจ้งกรมสรรพากร ผ่านระบบแจ้งเบาะแสหลีกเลี่ยงภาษี www.rd.go.th ได้ตลอดเวลา
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161
cr กรมสรรพากร