พิษโควิดกระทบสังคม – ศก.ยาว ‘สศช.’แนะเยียวยา เพิ่มทักษะ ปรับโครงสร้างหนี้

พิษโควิดกระทบสังคม – ศก.ยาว  ‘สศช.’แนะเยียวยา เพิ่มทักษะ ปรับโครงสร้างหนี้

การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก แม้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงหากแต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และผลกระทบที่ยังคงอยู่ในสังคมทำให้ต้องมีความช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อให้ฟื้นตัวจากวิกกฤติครั้งนี้ได้ 

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีที่โลกต้องเผชิญโรคระบาดนี้ แม้ว่าจะมีการพูดถึงแนวโน้มของ New normal หรือ Next normal ที่สามารถอยู่ร่วมและรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีมากขึ้น หากแต่การระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนานส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก แม้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงหากแต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และผลกระทบที่ยังคงอยู่ในสังคมทำให้ต้องมีความช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อให้ฟื้นตัวจากวิกกฤติครั้งนี้ได้ 

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ระบุในรายงานภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ผ่านมาว่าผลกระทบจากโควิด-19 ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมี 4 ส่วนที่เห็นได้ชัดจากผลกระทบของโควิด-19  ได้แก่ 

1.คนว่างงานเพิ่ม และว่างงานยาวนานขึ้น ส่งผลทั้งการขาดรายได้ การพัฒนาทักษะ และความสามารถในการหางานในอนาคต ในปี 2563 แม้อัตราการว่างงานจะอยู่ที่ 1.69% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการว่างงานในช่วงปกติที่ 1% แต่ผู้ว่างงานที่ว่างงานมากกว่า 1 ปี มีจ้านวนเพิ่มขึ้นถึง 30.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีผู้มีงานท้าที่ทำงานน้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ถึง 1.2 ล้านคน จาก 0.5 ล้านคนในปี 2562 อีกด้วย

 ทั้งนี้การว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากและจำนวนผู้ว่างงานมากกว่า 1 ปีที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการขาดรายได้ รวมทั้งในปี 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงมีความรุนแรง จะส่งผลให้ ผู้ว่างงานมีการว่างงานที่ยาวนานขึ้น และท้าให้โอกาสในการกลับไปทำงานใหม่อีกครั้งยากขึ้น

2.การเข้าถึงการศึกษาไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่การที่นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่จะส่งผลให้ความรู้ที่ขาดหายไป (learning loss) การควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ต้องเลื่อนการเปิดภาคเรียน และ ปรับรูปแบบการเรียน ส่งผลให้ความรู้ขาดหายมากขึ้นซึ่งจากรายงานผลกระทบของโควิด-19 ด้านสังคมของ ประเทศไทย (Social Impact Assessment of COVID-19 in Thailand) ของ Oxford Policy Management และ United Nation ระบุถึงผลกระทบต่อการศึกษาว่า การที่เด็กไม่ได้เรียนเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน จะเกิด การสูญเสียทักษะทางการศึกษาเป็นเวลาถึง 1-1.5 ปี

ขณะเดียวกันอาจทำให้เด็กมีทักษะลดลงด้วย ซึ่งส่วนหนึ่ง สะท้อนได้จากคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (ONET) เปรียบเทียบในปี 2562 และ 2563 ของนักเรียนในระดับชั้น ม.3 มีคะแนนเฉลี่ยลดลงเกือบทุกสาขาวิชายกเว้นวิชาภาษาอังกฤษ

ขณะเดียวกันการปรับการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ และการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ยังทำให้โอกาสในการเรียนของเด็กระหว่างครัวเรือนรายได้น้อย และรายได้สูงมีความแตกต่างกันมาก โดยกลุ่ม ครัวเรือนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำสุดยังขาดอุปกรณ์การเรียนจำนวนมาก ท้าให้มีเด็กตกหล่นในการเรียนรู้ นอกห้องเรียนประมาณ 8 หมื่นคน

3. วิกฤติโควิด-19 ทำให้ครัวเรือนต้องนำเงินออมมาใช้จ่ายเพื่อรักษาระดับการบริโภค และ มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รายได้ลดลงตามการหดตัวของเศรษฐกิจ และการจ้างงาน ซึ่งครัวเรือนพยายามรักษาระดับการบริโภคจากการนำเงินออมมาใช้ท้าให้เงินออมโดยเฉพาะ กลุ่มที่มีเงินออมต่ำลดลงมาก และต่างจากกลุ่มที่มีเงินออมสูงซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยบัญชีเงินฝากที่มีมูลค่า ต่ำกว่า 100,000 บาท มียอดเงินฝากลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับบัญชีเงินฝากมากกว่า 100 ล้านบาท ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาหนี้ครัวเรือนยังพบว่า มูลค่าหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 13.49 ล้านล้านบาทในปี 2562 เป็น 14.03 ล้านล้านบาท ในปี 2563 ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 ทำให้แม้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว การบริโภคของครัวเรือนจะยังไม่เพิ่มขึ้นมากนัก และจะกระทบ ปัญหาความยากจน เพราะครัวเรือนจะมีภาระในการชำระหนี้

โดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนยากจนที่ในช่วง ปี 2563 มีครัวเรือนยากจนที่เป็นหนี้ ถึง 5.9 แสนครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีจำนวนครัวเรือนยากจน ที่เป็นหนี้เพียง 4.5 แสนครัวเรือน ซึ่งแม้ปัจจุบันจะมีการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยปรับโครงสร้างหนี แต่ด้วยหนี้ ที่มี มูลค่าสูงครัวเรือนยังต้องรับภาระในการชำระหนี้ ต่ออีกช่วงหนึ่ง ซึ่งจากข้อมูลในปี 2564 (ข้อมูล SES ครึ่งปี 2564) โดยเฉลี่ยครัวเรือนต้องใช้ระยะเวลา 10 ปีถึงจะช้าระหนี้หมด

4. สถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อคนในวงกว้างทำให้ต้องใช้งบประมาณมาก ในการช่วยเหลือเยียวยา โดยในปี 2563 เฉพาะโครงการช่วยเหลือเยียวยาตาม พ.ร.ก. เงินกู้ฯ ใช้งบประมาณ ไปทั้งสิ้น 7.09 แสนล้านบาท ขณะที่ในปี 2564 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลมีมาตรการ ช่วยเหลือเยียวยาแล้ว 1.36 แสนล้านบาท ทั้งนี้ หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นอาจท้าให้รัฐต้องออกมาตรการ ช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระทางการคลัง และเป็นข้อจ้ากัดต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในอนาคต

ทั้งนี้จากผลกระทบของโควิดที่เกิดกับเศรษฐกิจและสังคมไทยในระยะยาวได้นำเสนอแนวทางว่าควรมีแนวทางเนินการในระยะต่อไปได้แก่

1.การช่วยเหลือเยียวยายังคงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งในปี 2564 รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา อย่างต่อเนื่องซึ่งส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือเยียวยาในลักษณะการรักษาระดับการบริโภค และการกระตุ้น เศรษฐกิจผ่านการใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบ และการจ้างงานได้บ้าง แต่หากมีมาตรการที่มุ่งเน้น ให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น จะช่วยบรรเทาผลกระทบได้ดีขึ้น อีกทั้งจากผลกระทบต่อแต่ละสาขาที่มี ความแตกต่างกัน อาจปรับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาในลักษณะเฉพาะกลุ่ม เพื่อลดงบประมาณที่ต้องใช้ และสามารถช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การควบคุมการระบาดไม่ให้เกิดในวงกว้างยังมีความสำคัญมาก

2. การพัฒนาทักษะ และการฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้องมีกลไกที่เชื่อมโยงกับความต้องการของ ตลาด โดยเฉพาะผู้ว่างงานที่ว่างงานเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการฝึกอบรมออนไลน์ของ ภาครัฐและเอกชน ทั้งที่มีค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย หากระบบการฝึกอบรมมีการเชื่อมโยงกับต้าแหน่งงาน จะช่วยอ้านวยความสะดวกให้แรงงานสามารถพัฒนาทักษะได้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และ หางานได้ง่ายขึ้น

 3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีความพร้อมและสามารถเข้าถึงได้ จะช่วยทั้งการอำนวยความสะดวกให้ผู้ได้รับผลกระทบเข้าถึงการช่วยเหลือเยียวยาได้มากขึ้น รวมทั้งยัง สนับสนุนการเรียนการสอนการพัฒนาทักษะ และการหารายได้ แม้รัฐบาลจะมีโครงการเน็ตประชารัฐ เน็ตห่างไกล และเน็ตชายขอบ ที่กระจายไป 44,352 แห่ง แต่ยังเข้าไม่ถึงครัวเรือน และยังมีต้นทุนสูงเมื่อ เทียบกับรายได้ของคนจนซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของคนจนในการเข้าถึงสวัสดิการและการเรียนรู้ออนไลน์ต่าง ๆ

และ 4.การปรับโครงสร้างหนี้ และส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ เพื่อประกอบอาชีพ ร่วมกับการฝึกอบรมอาชีพ และยกระดับทักษะทางการเงิน จะมีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครัวเรือน และ สร้างโอกาสในการหารายได้ให้กับแรงงานมากขึ้น