'ส.อ.ท.' ค้านอีกรอบค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ดัน 'Pay by skills' ทางออกประเทศ

'ส.อ.ท.' ค้านอีกรอบค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท  ดัน 'Pay by skills' ทางออกประเทศ

รองประธาน ส.อ.ท. "อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต" ค้านอีกรอบ! ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ สร้างความสามารถของนายจ้าง เสนอ "Pay by skills" ทางออกประเทศ

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นายทะบียน และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ทันทีที่รัฐบาลแทรกแซงคณะกรรมการค่าจ้างกลไกไตรภาคี ด้วยการประกาศนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ เกินความสามารถของนายจ้าง โดยอ้างค่าครองชีพของแรงงานนั้น มันคือการซ้ำเติมค่าครองชีพของประชาชนทั้งประเทศ

จากการขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม ไปรอล่วงหน้า ของกลไกตลาดผูกขาดในบ้านเรา อีกทั้ง ยังจะเป็นการซ้ำเติมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และค่าครองชีพของประชาชน นอกจากไม่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุแล้วค่าครองชีพ pay by skills จะเป็นกลไกตลาดเสรีแข่งขันสมบูรณ์ 

ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าควรเลิกนโยบายค่าแรงขั้นต่ำและหันมาผลักดัน นโยบาย Pay by skills กันอย่างจริงจัง ส่วนตัว ได้วาง 4 แนวทางแก้ปัญหาค่าครองชีพเพื่อแรงงานไทย โดยมองว่า สาเหตุหลักที่เป็นต้นทุนแฝงอยู่ในค่าครองชีพของประชาชนคนไทย เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่า Wi-Fi รวมทั้ง ค่าสาธารณูปโภคอื่น ๆ ของประเทศเทย หากมาลองวิเคราะห์ ให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า ค่าครองชีพของคนไทยที่สูงกว่าเพื่อนบ้านล้วนมีสาเหตุมาจาก

1) กลโกผูกขาดและภาครัฐถูกครอบงำโดยทุนใหญ่ผูกขาด ในระดับนโยบาย, ระดับ Regulator และ ระดับ Operator ระบบสัมปทาน คือ บ่อเกิดแห่งความไม่เป็นธรรม การขาดกลไกตลาดเสรี คือ ราคา ค่าสาธารณูปโภค ที่คนไทยต้องจ่ายแพง เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน

2) ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน คือ อีกหนึ่งสาเหตุสำสำคัญ ของต้นทุนต่างๆ ที่ตามมาในค่าครองชีพ และค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมทั้งตัวเลขของงบประมาณภาครัฐที่สูญหายไประหว่างทาง ก่อนถึงมือประชาชน ในโครงการต่างๆ ด้วยเหตุผลของฟรีไม่มีในโลก

สาเหตุทั้ง 2 ข้อข้างต้นล้วนยิ่งสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ ของประชาชนระหว่างคนรวยและคนจนตลอดมาของสังคมไทย ทางออกเรื่องการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน โดยภาครัฐ จึงควรเป็นวาระแห่งชาติในการแก้ปัญหาร่วมกัน ดังนี้ 1.  การแก้ปัญหาทุนผูกขาด 2. การแก้ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น 

3) การผลักดัน "นโยบายรัฐสวัสดิการ" สวัสดิการพื้นฐานเพื่อช่วยเหลือลดค่าครองชีพประชาชนที่ลำบาก ในแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค, รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย FREE INTERNET โครงการธงฟ้าราคาประหยัดทั้ง อาหาร และ สินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญ

4) จ่ายค่าแรงตามทักษะฝีมือ (PAY BY SKILL) สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ภาครัฐควรผลักดันอย่างเป็นระบบและทั่วถึง

ทั้งนี้ หากทำทั้ง 4 ข้อแล้วค่าครองชีพของประชาชนและแรงงาน ก็จะลดลง นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ก็จะไม่เป็นเครื่องมือในการหาเสียงของพรรคการเมือง อย่างที่เป็นมาในอดีต ซึ่งมีแต่จะทำลายเศรษฐกิจโดยเฉพาะ เอสเอ็มอีด้วยการล้มหายตายจาก และเลิกกิจการหรือ การลดจำนวนเเรงงาน เพื่อลดภาระต้นทุนค่าแรงอย่างที่หลายภาคส่วนเป็นกังวล ทั้งนี้ ยังไม่รวมเงินที่ไหลออกนอกประเทศ จากแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับอานิสงส์ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย

"โดยส่วนตัวผมมองว่าภาคธุรกิจ ยินดีให้ความร่วมมือ ในการจ่ายค่าแรงด้วยนโยบาย PAY BY  SKILL และตาม PRODUCTIVITY นั่นหมายถึงภารกิจในการ UP-SKILL และ RE-SKILL ควรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ภาครัฐและเอกชนควรทำร่วมกัน เพื่อให้แรงงานของเรามีคุณภาพตอบโจทย์ธุรกิจและได้รับค่าแรงที่เหมาะสมและเป็นธรรม อีกทั้งขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (COMPETITIVENESS) ก็จะดีขึ้นตามลำดับ" นายอิศเรศ กล่าว