ทฤษฎีคานงัดเพื่อการก้าวกระโดดของธุรกิจ | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

ทฤษฎีคานงัดเพื่อการก้าวกระโดดของธุรกิจ | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

ทักษะสำคัญสำหรับการบริหารองค์กรหรือกลุ่มผู้คนให้ประสบความสำเร็จ อย่างหนึ่งเราเรียกว่า การ Leverage หรือการใช้พลังทวีคูณ เปรียบเสมือนเราสร้างคานงัดวัตถุที่หนักด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อให้วัตถุนั้นเบาลง

หากเปรียบวัตถุที่มีความหนักคือ อุปสรรคเรื่องความร่ำรวย ทฤษฎีคานงัดย่อมถูกนำมาใช้ได้ดี และเหมาะกับคนตัวเล็กที่สามารถยกคนตัวใหญ่ได้หากใช้แรงที่ถูกต้อง

ทฤษฎีคานงัดสามารถนำมาใช้ได้ 4 วิธี ได้แก่ 

1.Other People’s Time เวลาของผู้อื่น เราไม่สามารถใช้เวลาของเรามาทำทุกเรื่อง การทำงานในฟังชันก์ใหญ่ๆ ก็เช่นกัน ใน 24  ชั่วโมงทุกคนต้องมีเวลาส่วนตัวและเวลาทำงาน การเป็นผู้บริหารที่ดีหากตนเองทำทุกอย่าง เช่น ทำบัญชีด้วย ไปขายงานพรีเซนต์งาน กลับมาวางแผนงาน ส่งเอกสาร ตรวจสอบบัญชี ทำทุกอย่างโดยหวังเพียงแค่ประหยัดงบประมาณ 

แน่นอนในระยะเริ่มต้นอาจทำได้ แต่การเติบโตขององค์กรย่อมเชื่องช้า การนำทฤษฎีคานงัดเรื่องเวลาของคนอื่น คือการพิจารณาถึงการจ้างพนักงานมาช่วยทำงาน เช่น หากงานการประชุมหรืองานเก็บรายละเอียดมีปริมาณที่ล้นจนทำงานไม่ทัน ควรจ้างเลขาหรือผู้ช่วยมาช่วยเก็บงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้เรามีเวลามากพอที่จะไปมองเรื่องการขยายธุรกิจ เป็นต้น

2.Other People’s Knowledge ความรู้ของผู้อื่น ความรู้เป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่ามาก แต่หากเราต้องเรียนรู้ทุกอย่างเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ เราคงไม่เหลือเวลาและอาจต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ อีกทั้งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในบางเรื่องได้ 

คานงัดในการใช้ความรู้ของผู้อื่นคือการจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ หรืออาจจ้างที่ปรึกษาในเรื่องที่คุณอาจจะยังไม่มีความรู้ เช่น อาจจ้างที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กร ในกรณีที่คุณต้องการพัฒนาองค์กรให้เติบโตยิ่งขึ้น หรือจ้างที่ปรึกษาด้านการเงินมาบริหารกระแสเงินสด หรือบริหารเงินทุนขององค์กร จ้างที่ปรึกษาด้านกฎหมายมาช่วยร่างสัญญาระหว่างคู่ค้า เป็นต้น

ทฤษฎีคานงัดเพื่อการก้าวกระโดดของธุรกิจ | ปรมะ ตันเดชาวัฒน์

3.Other People’s Money เงินของผู้อื่น เป็นคานงัดในการใช้เงินของผู้อื่น เพราะเงินทุนเรามีจำกัด ตัวอย่างเช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคารในการบริหารหรือขยายธุรกิจของคุณ การกู้ซื้อบ้านเพื่อให้คนเช่าแล้วเราสามารถบริหารกระแสเงินสดให้เป็นบวกได้ หรือการขอเงินทุนจาก Angle Investor (นักลงทุนทั่วไป) หรือ Venture Capital (ธุรกิจร่วมลงทุน) เพื่อขยายกิจการ

4.Other People’s Relationships อาศัยความสัมพันธ์ของผู้อื่น

ไช่ฉงซิ่น หรือ โจเซฟ ไช่ จบปริญญาตรีด้านกฎหมายที่เยลมหาวิทยาลัย ระดับท็อป 5 ของโลก มีประสบการณ์ทำงานเป็นทนายความที่นิวยอร์กสองปี ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการฝ่ายธุรกิจร่วมลงทุนในภูมิภาคเอเชียของบริษัทอินเวสเตอร์ เอบี ประเทศสวีเดน

ตอนนั้นแจ็คหม่า กำลังมองหาบริษัทร่วมทุนกับอาลีบาบา และโจเซฟเป็นตัวแทนของอินเวสเตอร์ เอบี เพื่อมาต่อรองเรื่องลงทุนกับแจ็ค แต่สุดท้ายไม่สามารถตกลงกันได้ 

ในวันที่สี่ของการเจรจา โจเซฟพูดกับแจ็คว่า “ผมไม่อยากทำงานให้กับทางนั้นแล้ว ผมจะร่วมงานกับอาลีบาบา” จากรายได้ต่อปีที่ 1 ล้านดอลลาร์ มารับรายได้จากอาลีบาบา 924 ดอลลาร์ต่อปี เมื่อนักข่าวถามโจเซฟว่า ทำไมลาออกจากงานที่ได้เงินเดือนสูงขนาดนั้นเพื่อมาทำงานกับอาลีบาบา

 เขาให้คำตอบว่า “ผมหลงเสน่ห์ของอาลีบาบา" เหตุผลข้อแรกคือ ตัวแจ็คหม่า เหตุผลที่สองคือ อาลีบาบามีทีมงานที่แข็งแกร่ง เราพบกับครั้งแรกตอนมาเจรจาเรื่องการลงทุนที่หมู่บ้านริมทะเลสาบในเดือน พ.ค.2538 ตอนนั้นทีมงานอาลีบาบามีแค่สิบกว่าคน (ทุกคนลาออกจากงานประจำมาทำงานที่อาลีบาบาเต็มเวลาและรับเงินเดือน 77 ดอลลาร์เท่ากัน) 

ความรู้สึกแรกคือแจ็คมีความเป็นผู้นำสูงมาก ส่วนทีมงานก็ดูสนิทสนมและมีความสามัคคีกัน การสร้างบริษัทด้วยกำลังของคนเพียงคนเดียวคงเป็นไปได้ยาก แต่ถ้ามีทีมงานที่ดีก็เพิ่มโอกาสในความสำเร็จมากขึ้นไปด้วย

หลังจากที่โจเซฟเข้ามาบริหารที่อาลีบาบา เขามีบทบาทสำคัญในการนำบริษัทการลงทุนชั้นนำของโลกอย่าง โกลด์แมน แซคส์ และบริษัทอื่นยอมลงทุนกับอาลีบาบา

ในกรณีนี้ ทั้งแจ็คเองได้ทีมบริหารที่ยอดเยี่ยมมาช่วยบริหาร แต่ในทางกลับกัน โจเซฟเองก็ได้ทีมงานและแจ็คหม่ามาผลักดันทำให้เขาประสบความสำเร็จอีกด้วย (ในปี 2563 โจเซฟถือหุ้นอาลีบาบา 11.9% ในขณะที่แจ็คถือหุ้นเพียง 6.2%)

หากเราใช้ทฤษฎีอย่างถูกต้องนั้น อาจหมายถึงความสำเร็จที่สามารถสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน.