อุตฯยกระดับรับ“บีซีจี”เฟ้น แผนคู่ขนานการค้าหนุนความยั่งยืน
“บีซีจี โมเดล” หรือ Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนและสร้างรายได้สู่อนาคต กำลังถูกบรรจุในแผนธุรกิจของอุตสาหกรรมไทยเพื่อยกระดับสู่ความยั่งยืน ซึ่งแผนธุรกิจใหม่ต้องอาศัยการปรับ และ เปลี่ยนอุตสาหกรรมนั้นไม่น้อย
ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ โกศลพิศิษฐ์กุล คณะทำงาน BCG โมลเดล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวในงาน "Bio-Circular-Green (BCG) Economy: Pathways to Enhanced Partnerships between Thailand and Latin America and the Caribbean”ว่า ในอนาคตต้องการที่จะเป็นหุ้นส่วนกับกลุ่มประเทศในแถบอเมริกาใต้และแคลิเบียน โดยใช้หลัก BCG เป็นแนวทางดำเนินงาน เนื่องจาก BCG มีเป้าหมายเรื่องของ Sustainable Bio economy ซึ่งสอดคล้องกับในไทยที่มีเกษตรกรรมอัจฉริยะ
ขณะที่การยกระดับสู่ Circular economy ก็มีความสำคัญมากและเกี่ยวข้องกับการที่จะปรับให้เข้ากับองค์กรนั้นๆ ซึ่งต้องทำโดยเร็วที่สุดโดยมี เศรษฐกิจหมุนเวียน ระบบEuropean energy programme for recovery(EEPR) สําหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์และบรรจุภัณฑ์ โครงการ AEPW (ถนนพลาสติก/เมกะซิตี้) เป็นแนวทางดำเนินงาน
ด้าน Green economy นั้นไทยได้แบ่งเป็น 2 องค์กรหลักๆ 1. กลุ่ม 45 อุตสาหกรรมดั้งเดิม s-curve อย่างโรงงานอีโคและผลิตภัณฑ์อีโค เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ คาร์บอนเครดิตประเทศไทยรวมไปถึงแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (ป่า) โดยมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตาม BCG เพิ่มขึ้นเป็น 24% ของ GDP ในปี 2027
นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายความเป็นกลางของคาร์บอนภายในปี 2050 และลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายใน 2065 ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการเพิ่มรายได้ และลดการใช้ทรัพยากรเป็น 2 ใน 3 ของเกษตรกรและชุมชน
2.อุตสาหกรรมใหม่ อย่าง หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
“การตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Besides model ในอนาคต ภาวะโลกร้อน ความยั่งยืนในการลดคาร์บอนคือสิ่งที่กำลังเฝ้าดู และพยายามทำ ซึ่งสอท.เล็งเห็นว่า New s curve เหมาะสมกับประเทศไทย”
ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยมีความเป็น BCG โดยเฉพาะในหมวดอาหารหลายรายการที่ไทยติด Top 3 ของโลก และคงอันดับหนึ่งมากว่า 20 ปี อย่าง สินค้า“ปลา”ปีนี้ไทยนำเข้าปลาทั่วโลกประมาณ 1,500,000 ตันซึ่งการนำเข้าปลาส่วนใหญ่มากกว่า 95% นำมาเข้าสู่อุตสาหกรรมปลากระป๋องที่สร้างรายได้ 3.5 ล้านดอลลาร์
“ตลาดไทยใหญ่มากเป็นหนึ่งในประเทศที่ทำประมงอย่างยั่งยืนซึ่งไทยตกลงกับสหประชาชาติ(ยูเอ็น) เพื่อส่งเสริมการประมง ไม่แค่เฉพาะบนบกแต่ในน้ำด้วย ไทยกับอเมริกาใต้มีประมงร่วมกันและเราตกลงว่าจะทำประมงโดยใช้ BCGร่วมกันด้วย”
ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างอุตสาหกรรมที่นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ อย่างอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง 10 ปีที่แล้ว แต่ในปีที่แล้วมีการทิ้งกระดูกได่มากขึ้นแต่เมื่อนำหลักBCG นั้นใช้ ส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมจะไม่นำไปทิ้งแต่จะนำมาเติบในวัตถุดิบอาหารสัตว์ เป็นสูตรพิเศษที่ยกระดับให้ราคากระดูกไก่ที่ต้องเหลือทิ้งมีราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำก็มีรายได้เพิ่มจากผลผลิตที่ดีเพราะเลี้ยงด้วยอาหารคุณภาพพี ทุกฝ่ายมีรายได้เพิ่มและนำไปสู่การเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในอนาคต
นิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ประธานคณะกรรมการ Innovation & Circular Economy เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC กล่าวว่า SCGC Sustainable Development Strategy ครอบคลุม ESG ย่อมาจาก Environment, Social, และ Governance เป็นการนำมาปรับใช้แบบองค์รวม ทั้งเพื่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการแก้ปัญหาน้ำที่ยั่งยืน
โดย ปี 2025 มีแผลจะลดปริมาณน้ำที่ปล่อยทิ้งให้ได้ 5% เมื่อเทียบกับปี2014 และขยะเป็นศูนย์ในการฝังกลบ ลดปริมาณขยะ 75%
ที่ถูกกําจัดโดยไม่ต้องรีไซเคิลเมื่อสูญเสียต่อหน่วยการผลิต ปี 2030 ลดก๊าซเรือนกระจก 20% เมื่อเทียบกับ Base year 2020 และผลิตภัณฑ์และบริการทางเลือกสีเขียว 67% โดยตั้งเป้าจะมีรายได้และบริกรรกลุ่ม เอสซีจี กรีน ช้อยส์ เพิ่มขึ้น
“เศรษฐกิจหมุนเวียนกับเศรษฐกิจสีเขียวพาเราไปสู่นวัตกรรม พอลิเมอร์เพื่อตอบโจทย์เรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality PCR) จากพลาสติกใช้แล้วในครัวเรือน ภายใต้โซลูชันการนำกลับมาใช้ใหม่ และลดการใช้ทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย”
ความพยายามสู่ความยั่งยืน จะอยู่ได้นานหรือไม่ ขึ้นกับการลงมือทำอย่างยืนนานซึ่งการนำธุรกิจและหลักการ BCG มาประยุกต์ใช้ด้วยกันจะทำให้เป้าหมายความยั่งยืนสำเร็จได้ไม่ยาก