WAVE จับมือ 'กรมวิชาการเกษตร' ลุยโครงการคาร์บอนเครดิตพืชเกษตร 5 ชนิด
WAVE ส่งบริษัทลูก “เวฟ บีซีจี” จับมือ กรมวิชาการเกษตร ร่วมเปิดตัว โครงการนำร่อง คาร์บอนเครดิตพืชเกษตร 5 ชนิด พร้อมเปิดตัว ”ต้นซิลเวอร์โอ้ค” พืซเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเกษตรกรรมยั่งยืนและคาร์บอนเครดิต ในงานนิทรรศการ “ครบรอบ 50 ปี กรมการวิชาการเกษตร
นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ เอ็กโพเนนเที่ยล จำกัด (มหาชน) หรือ WAVE เปิดเผยว่า บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม WAVE ได้จับมือกับ กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวโครงการนำร่องคาร์บอนเครดิตพืชเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ อ้อย มันสัมปะหลัง ยางพารา ไม้ผล(ทุเรียนและมะม่วง)
และร่วมกันเปิดตัว ”ต้นซิลเวอร์โอ้ค” พืซเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเกษตรกรรมยั่งยืนและคาร์บอนเครดิต เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร ภายใต้ แนวคิด “วิชาการนำ เทคโนโลยีล้ำ เกษตรกรรมใต้ยั่งยืน” และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชในภาคใต้
สำหรับงานครบรอบ 50 ปี กรมการวิชาการเกษตร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26-27 เมษายน 2566 ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยมีนางสาว มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี และมีนายภาสกร บุญญลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวต้อนรับและพาเยี่ยมชมแปลงสาธิตการปลูกพืชผล พืชไร่ แบบ Good Agriculture Practice(GAP) ในพืชนำร่องทั้ง 5 ชนิด
นอกจากนี้ยังได้มีการสำรวจแปลงปลูกต้น ซิลเวอร์โอ๊ค โดยโครงการ Doa Green Together แปลงต้นแบบการบริหารจัดการคาร์บอนเคดริตในการผลิตพืช จาก บริษัทเวฟ บีซีจี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการคาร์บอนเครดิตครบวงจร และทางบริษัทได้ค้นพบว่าต้นไม้ที่สามารถลดคาร์บอนได้ดีมากมากก็คือ ต้น Silver Oak
สำหรับ ต้น Silver Oak เป็นต้นไม้พื้นถิ่นอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นไม้โตไว สามารถฟอกอากาศเสีย เช่นฝุ่น หรือ มลพิษได้ รวมทั้งส่ามารถสร้างออกซิเจนและร่มเงาลดอุณหภูมิจากอากาศร้อนๆได้เป็นอย่างดี
รวมทั้งสามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าต้นสัก 5 ถึง 7 เท่า ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ทะเลทรายแห้งแล้งและในเมือง สามารถอยู่ในที่อุณภูมิสูงและต่ำได้ เหมาะกับสภาพอากาศในประไทยเป็นอย่างมากและได้มีการปลูกมาแล้วกว่า 30 ปี ในพื้นที่ตามแนวภูเขาต่างๆ
“ต้น Silver Oak เป็นพืชที่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้ และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่เกษตกรชาวไทยได้ ซึ่งการในปลูกต้นไม้สร้างคาร์บอนเครดิตในแปลงเดี่ยวๆหรือจะปลูกแซมร่วมกับพืชเกษตรนั้น ก็ยังสามารถนำไปซื้อขาย สร้างรายได้และสร้างความยั่งยืน มั่นคง ให้แก่เกษตกรได้”นายเจมส์กล่าว