สรรพสามิต ชู 'สินค้า-กระบวนการผลิตสุราชุมชน' ส่งเสริม ESG สร้างความยั่งยืน

สรรพสามิต ชู 'สินค้า-กระบวนการผลิตสุราชุมชน' ส่งเสริม ESG สร้างความยั่งยืน

ข้อมูลจาก กรมสรรพสามิต ระบุว่า อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ '1 ชุมชน 1 สรรพสามิตแชมเปี้ยน' เพื่อประกวดความร่วมมือของสรรพสามิตพื้นที่และผู้ประกอบการ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยภาษีสรรพสามิต ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างมาตรฐานสากล (สินค้าและกระบวนการผลิตสุราชุมชน)

กรมสรรพสามิต ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและจัดเก็บภาษีสินค้าสุรา ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยภาษีสรรพสามิต โดยมีนโยบายในการส่งเสริมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน ควบคู่กับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพสุราชุมชนให้มีมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน อีกทั้งให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ตามนโยบายของรัฐบาล 

ดร. เอกนิติ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ “1 ชุมชน 1 สรรพสามิตแชมเปี้ยน” เพื่อประกวดความร่วมมือของสรรพสามิตพื้นที่และผู้ประกอบการ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยภาษีสรรพสามิต ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างมาตรฐานสากล (สินค้าและกระบวนการผลิตสุราชุมชน) มุ่งเน้น สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เดินหน้าชุมชนสู่ความยั่งยืน โดยสรรพสามิตจะมีการผนึกกำลังกับภาคีเครือข่ายสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและผู้ประกอบการ ในด้านการเข้าถึงแหล่งทุน แหล่งความรู้ด้านการตลาด พลังงาน สิ่งแวดล้อม คุณภาพสินค้า และการผลิต รวมถึงส่งเสริมและให้ความสำคัญในด้าน ESG เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน และลดการใช้คาร์บอน เดินหน้าประเทศสู่ Net Zero

การออกกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ที่ปลดล็อคกฎหมายต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการของรัฐบาลในการได้ปรับลดอัตราภาษีสุราแช่พื้นเมือง ประเภท อุ กระแช่ สาโท โดยปรับอัตราภาษีตามมูลค่าจากเดิม 10% เป็น 0% เพื่อลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ และสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ได้ส่งผลให้สุราชุมชนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

โดยโครงการนำร่องที่จังหวัดแพร่นั้น ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามกฎหมายและขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมสรรพสามิต ต่างก็มีการเติบโตและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจังหวัดแพร่ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างพื้นที่ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนและมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557-2566) พื้นที่แพร่จัดเก็บภาษีสุราชุมชนเฉลี่ย 443 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นกว่า 30 % ของการจัดเก็บภาษีสุราชุมชนทั่วประเทศ จนทำให้มีการเรียกจังหวัดแพร่ ว่าเป็น “มหานครแห่งสุราพื้นบ้าน” สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง สามารถสร้างรายได้หมุนเวียนภายในชุมชนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังสร้างงาน สร้างรายได้ ให้พี่น้องในชุมชนตลอดห่วงโซ่การผลิต

สามารถสร้างรายได้หมุนเวียนภายในชุมชนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังสร้างงาน สร้างรายได้ ให้พี่น้องในชุมชนตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยผู้สูงอายุสามารถทำงานล้างขวดที่บ้าน ส่วนลูกหลานที่เรียนจบกลับมาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็ได้นำวิชาความรู้กลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดทางธุรกิจ ซึ่งเป็นทั้งการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนที่กรมสรรพสามิตให้ความสำคัญแล้ว กรมฯ ยังให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ระบบของผู้ประกอบการ เพราะสินค้าปลอม หรือไม่ได้มาตรฐาน จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค และที่สำคัญการให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม และสังคม ในการลดการปล่อยคาร์บอน การใช้พลังงานทดแทน หรือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นสิ่งที่กรมให้ความสำคัญ สรรพสามิตพื้นที่จังหวัดแพร่ ได้ร่วมกับผู้ประกอบการทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ที่เกิดจากการเก็บกักอุจจาระหมู โดยก๊าซชีวภาพนี้ จะมีการเพื่อใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน พลังงานทดแทนในการผลิตสุรา รวมถึงพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ตำบลสะเอียบประสบกับปัญหากระแสไฟฟ้าตกบ่อย

ซึ่งการดำเนินการนี้ นอกจากจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมแล้ว ยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน