วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ อาจผันผวนจากการปรับนโยบายการเงินของ BOJ

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ อาจผันผวนจากการปรับนโยบายการเงินของ BOJ

การปรับนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจส่งผลต่อความผันผวนของกระแสเงินทุน ตลาดคาดการณ์ว่า คาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะประกาศแผนการลดปริมาณเงินเชิงปริมาณ (QT) และการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธนี้

นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่า BOJ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากช่วงปัจจุบันที่ 0 ถึง 0.1% ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าการลดการซื้อพันธบัตร (QT) จะเกิดขึ้นภายในหนึ่งถึงสองปี ซึ่งการเปลี่ยนการดำเนินนโยบายข้างต้นของธนาคารกลางญี่ปุ่น อาจทำให้ตลาดผันผวนจากการขายสินทรัพย์เสี่ยงคืนเงินกู้สกุลเยนได้

ติดตาม การส่งสัญญาณของเฟด และการประกาศผลประกอบการของบจ.ขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ นักลงทุนรอติดตามการส่งสัญญาณถึงทิศทางเศรษฐกิจและการลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม ก.ย.67 ขณะที่ตลาดอาจผันผวนจากการรายงานผลประกอบการบจ.ขนาดใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มที่การเติบโตจะเริ่มชะลอลงจากฐานกำไรที่สูงขึ้น โดยบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่จะรายงานผลประกบการได้แก่ MSFT (30 ก.ค.), META (31 ก.ค.), AMZN และ AAPL (1 ส.ค.)
 

ติดตามการปรับประมาณการกำไรบจ.ในไทย กลุ่มที่ยังแข็งแกร่ง ได้แก่ สื่อสาร อาหาร และค้าปลีก ประมาณการกำไรปี 2567 ของ SET Index ถูกปรับลดลงต่อเนื่อง โดยจาก 99-100 บาท/หุ้น ณ ต้นปี เหลือ 90-92 บาท/หุ้น ณ ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากมองกำไร 12 เดือนข้างหน้า แนวโน้มยังทรงตัวถึงปรับขึ้น ทั้งนี้เราอยู่ในช่วงรอบต่อของการปรับประมาณการกำไร โดยกลุ่มที่มีการปรับลดลงนับจากต้นปี ได้แก่ พลังงาน ธนาคาร ไฟแนนซ์ ขนส่ง ปิโตรเคมี รับเหมาก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีกลุ่มที่ประมาณการกำไรมีโมเมนตัมของการปรับขึ้น ได้แก่ สื่อสาร, อาหาร และค้าปลีก ซึ่งเรายังแนะนำให้นักลงทุนโฟกัสกลุ่มเหล่านี้ รวมถึงไฟฟ้าและรีทส์ ที่จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง  

 

 

ภาพรวมกลยุทธ์ มีโอกาสฟื้นในรายตัวหลังกลับมาอยู่ในกรอบ 1,290-1,320 จุด อย่างไรก็ตาม ระมัดระวังในกลุ่มที่มีการปรับประมาณการกำไรลง โดยโฟกัสกลุ่มที่โมเมนตัมกำไรยังเป็นขาขึ้น อาทิ สื่อสาร, อาหาร และค้าปลีก และสามารถทยอยสะสม ไฟฟ้า รีทส์ ที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง // วันนี้ติดตามครม.พิจารณา Thai ESG Fund ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยบวกทางจิตวิทยา

แนวรับ: 1,290-1,300 / แนวต้าน : 1,310-1,320 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    RATCH* (36) : ผลประกอบการไตรมาส 2-3/67 แข็งแกร่ง จากการรับรู้รายได้จากทั้งโรงไฟฟ้าหินกองและไพธอน ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปีนี้ 8 เท่า และปันผล 6%  ตัดขาดทุน 27 บาท 

•    BTG* (27) : แนวโน้มผลประกอบการพลิกกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 2/67 ขณะที่การเข้าสู่ La Nina เป็นปัจจัยบวกต่อการฟื้นของ Fam Income ตัดขาดทุน 23 บาท 

•    3BBIF* (6.50) : กลุ่มกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ได้ประโยชน์ด้าน Valuation จากดอกเบี้ยขาลง ขณะที่การปรับโครงสร้างในกลุ่มของ GULF-INTUCH เป็นปัจจัยบวกระยะยาวต่อการมีสินทรัพย์ที่จะขายเข้ากองเพิ่มเติม ตัดขาดทุน 5.35 บาท

•    CPALL* (63) : หุ้นเด่นในกลุ่มค้าปลีก คาดผลประกอบการปี 2567 เติบโต 29% ได้ประโยชน์จากท่องเที่ยวและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล  ตัดขาดทุน 55 บาท  
 

 

 

ประเด็นที่น่าสนใจ 

-    อัตราเงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัวลงเล็กน้อยในเดือนมิ.ย. เป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.
-    บอร์ดอีวีไฟเขียว ลดภาษีรถยนต์ HEV ปี 71-75 คาดมีค่ายรถยนต์เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 5 ราย
-    ส่งออกมิ.ย. -0.3% ลดลงเล็กน้อยหลังจบฤดูผลไม้ แต่เกินดุล 2 เดือนติด
-    ศาลปกครองสูงสุดสั่ง กทม.-KT จ่ายค่าจ้างสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 1.2 หมื่นลบ.ให้ BTS 
-    DELTA ไตรมาส 2/67 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 6.57 พันลบ.
-    DELTA แนะนำ“ซื้อ” เป้า107 บ./ OR แนะนำ“ถือ”เป้า 16.50บ./MENA แนะนำ“ซื้อ”เป้า 1.40 บ./ PTG แนะนำ “ถือ” เป้า 10.50 บ. 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

31 ก.ค. – CN NBS Manufacturing PMI (Jun)